ดัชนีสันติภาพโลก 2024 ชี้ โลกขัดแย้งมากสุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

Loading

  รายงานดัชนีสันติภาพโลก (Global Peace Index) ประจำปี 2024 โดย Institute for Economics & Peace (IEP) ชี้ให้เห็นว่า ความสงบสุขทั่วโลกลดลงจากเดิม   โดย 97 ประเทศมีสันติภาพถดถอย ขณะที่มีเพียง 65 ประเทศเท่านั้นที่มีแนวโน้มสงบสุขเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัญหาความขัดแย้งทั้งในและนอกประเทศ ระดับความปลอดภัยและมั่นคงของสังคม รวมถึงอิทธิพลอำนาจทางทหาร   โดยปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้ดัชนีสันติภาพโลกถดถอย มาจากสงครามอิสราเอล-ฮามาสในฉนวนกาซา และสงครามรัสเซีย-ยูเครน   รายงาน GPI 2024 ยังระบุอีกว่า ราว 100 ประเทศทั่วโลกมีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามนอกประเทศของตนเองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และมีความขัดแย้งใหญ่ ๆ มากถึง 56 เคสดำเนินอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นสถิติที่มากที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนรัฐบาลประเทศพันธมิตร เพื่อต่อต้านกลุ่มติดอาวุธหรือกลุ่มผู้ก่อการร้าย โดยตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือยังคงเป็นภูมิภาคที่มีความสงบสุขน้อยที่สุด   ผลการจัดอันดับ GPI…

ปมพิพาทจีน-ฟิลิปปินส์ในทะเลจีนใต้ สงครามใหญ่ในเอเชียมีโอกาสแค่ไหน

Loading

หนึ่งในไฮไลต์จากเวทีประชุมความมั่นคง Shangri-La Dialogue ที่สิงคโปร์ในปีนี้คือ บรรยากาศความตึงเครียดจากปมพิพาทระหว่าง จีน-ฟิลิปปินส์ ในทะเลจีนใต้ที่ยังคุกรุ่นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ที่ปมขัดแย้งนี้ อาจลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามใหญ่ครั้งใหม่ในเอเชีย

‘แคสเปอร์สกี้’ พบ ‘ข้อมูลรั่วไหล’ ปัญหาแก้ไม่ตก องค์กรธุรกิจทั่วอาเซียน

Loading

“แคสเปอร์สกี้” เปิดรายงาน “ความปลอดภัยทางไซเบอร์” ล่าสุด พบการโจมตีที่เป็นอันตรายจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทยกว่า 3 แสนเหตุการณ์ โดยรวมสถานการณ์รุนแรงกว่าที่คิด การละเมิดข้อมูลในประเทศไทยจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

อาเซียนลงนามในข้อตกลงโครงสร้างสายเคเบิลใต้น้ำระดับภูมิภาค

Loading

ประชาคมอาเซียน (ไทย ฟิลิปปินส์ เมียนมา สิงคโปร์ ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน กัมพูชา และติมอร์เลสเต) ตัดสินใจสร้างโครงข่ายสายเคเบิลใต้น้ำและผลักดันการทำงานร่วมกันของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลระหว่างชาติสมาชิก

ฟิลิปปินส์อาสาวางกรอบกฎหมายกำกับดูแล AI ให้ภูมิภาคอาเซียน

Loading

ความสามารถอันล้นเหลือของปัญญาประดิษฐ์ ทำให้หลายภาคส่วนเกิดความกังวลเกี่ยวกับการใช้งาน AI ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านลิขสิทธิ์และจริยธรรม ทำให้ประเด็นการออกกฎเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลและควบคุมการใช้งาน AI จึงถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ

ความปลอดภัยไซเบอร์ “โรงงานอัจฉริยะ”ต้องคำนึงถึงในยุคปฏิวัติระบบดิจิทัล

Loading

ระบบรักษาความปลอดภัยควรผสานรวมอยู่ในกระบวนการตัดสินใจทางเทคนิคและสถาปัตยกรรมระบบในทุกส่วน ตั้งแต่การก่อตั้งและออกแบบโรงงานไปจนถึงการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ภาคการผลิตจำเป็นต้องใช้แนวทางใหม่ในการปกป้องระบบโรงงานอัจฉริยะ จากเดิมที่มองข้ามความสำคัญต่อการลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และการป้องกัน ก่อนตกเป็นเป้าของคนร้าย