“พายุสุริยะ” คืออะไร นาซาสั่งจับตาส่อเกิด “อินเทอร์เน็ตล่ม” ทั่วโลกปี 2025

Loading

    ‘พายุสุริยะ’ คืออะไร เพราะเหตุใด นาซารวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญให้จับตา ทำลายระบบไฟฟ้า “อินเทอร์เน็ตล่ม” ทั่วโลก ทวีความรุนแรงในปี 2025   “พายุสุริยะ” กำลังเป็นที่พูดถึงและถูกจับตามองจากทั่วโลก รวมไปถึง NASA และผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์ว่า พายุสุริยะกำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่า จะถึงจุดสูงสุดในปี 2025 พร้อมคาดการณ์กันอีกว่า มีโอกาสที่จะทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตล่มทั่วโลก และหากเกิดขึ้นจริง ก็อาจทำให้อินเทอร์เน็ตล่มยาวนานนับเดือน   พายุสุริยะ คืออะไร เหตุใดถึงมีอนุภาค ทำให้กระทบต่อระบบไฟฟ้าบนโลก ในประวัติศาสตร์เมื่อปี 1859 พายุสุริยะ เคยทำให้ระบบโทรเลขล่ม ต่อมาในปี 1989 ก็ทำให้ไฟฟ้ารัฐควิเบกดับนาน 12 ชั่วโมง   ด้าน คีธ สตรอง นักฟิสิกส์พลังงานแสงอาทิตย์และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสภาพอากาศอวกาศที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลชี้ให้เห็นว่าจำนวนจุดดับ (Sunspot) บนดวงอาทิตย์เมื่อเดือนมิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา สูงถึง 163 จุด และสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี…

บีเวอร์ป่วน! แทะสายไฟเบอร์ เน็ตล่มทั้งเมือง

Loading

  เมื่อวันที่ 26 เมษายน สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า เหล่าบีเวอร์จากเมืองทัมเบลอร์ ริดจ์ เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในรัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดาถูกตำหนิว่าเป็นตัวการที่ทำให้อินเทอร์เน็ตล่มเป็นเวลาเกือบ 12 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 04.00 น.ของวันที่ 24 เมษายนตามเวลาท้องถิ่น โดยนางลิซ โซเว โฆษกของบริษัท Telus ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ของแคนาดาระบุว่า เมื่อเจ้าหน้าที่เดินทางไปยังฝายกั้นน้ำใกล้เคียงก็ได้พบกับเหล่าบีเวอร์ที่กำลังเคี้ยวสายไฟเบอร์ของบริษัทอยู่หลายจุด ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง นอกจากนี้สายเคเบิลใต้ดินบางส่วนถูกพบอยู่ที่รังของพวกบีเวอร์อีกด้วย ทั้งนี้สายเคเบิลถูกฝังอยู่ใต้ดินลึกลงไป 1 เมตรและถูกปกป้องอีกชั้นด้วยฉนวนหุ้มสายไฟหนา 12 เซนติเมตร ซึ่งพวกบีเวอร์สามารถใช้ฟันที่แข็งแรงกัดทะลุได้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตราว 900 รายและผู้ใช้บริการโทรทัศน์อีก 60 รายที่ได้รับผลกระทบ ก่อนที่บริษัท Telus จะทำการซ่อมแซมเครือข่ายทั้งหมดได้ในเวลา 15.00 น.ของวันที่ 25 เมษายน ทั้งนี้บีเวอร์เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศแคนาดา ถูกขนานนามว่าเป็นวิศวกรสิ่งแวดล้อม จากความสามารถในการสร้างฝายกั้นน้ำตามธรรมชาติ   ———————————————————————————————————————————————– ที่มา :  มติชนออนไลน์    / วันที่เผยแพร่  27 เม.ย.2564…