อิสราเอล-ปาเลสไตน์ : ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกองทัพอิสราเอลและกลุ่มฮามาสจะนำมาซึ่งสันติภาพถาวรหรือเปล่า ?

Loading

  อิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธฮามาสได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงกันบริเวณฉนวนกาซา การสู้รบกันต่อเนื่อง 11 วัน ประกอบไปด้วยการยิงจรวด 4,000 ลูกของกลุ่มติดอาวุธ และกองทัพอิสราเอลที่โจมตีทางอากาศไปยัง 1,500 เป้าหมายในกาซา ทางการปาเลสไตน์บอกว่า ที่กาซา มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 243 ราย รวมถึงผู้หญิงและเด็กมากกว่า 100 ราย ขณะที่อิสราเอลบอกว่าสังหารสมาชิกกลุ่มติดอาวุธไปอย่างน้อย 225 ราย ด้านอิสราเอลบอกว่ามีผู้เสียชีวิตในประเทศ 12 ราย เป็นเด็ก 2 ราย   รายละเอียดของการหยุดยิง   การหยุดยิงเป็นเพียงการประกาศจากสองฝ่ายว่าจะหยุดสู้รบ อาจจะอย่างไม่มีกำหนด หรือแค่ช่วงหนึ่ง     หากดูจากประวัติศาสตร์การเผชิญหน้าระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่ก็เคยบรรลุข้อตกลงหยุดยิงมาแล้ว มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะกลับมาสู้รบกันอีกครั้ง ในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงเมื่อเวลา 02.00 น. เวลาท้องถิ่นเมื่อวันที่ 21 พ.ค. แต่ก่อนจะถึงกำหนดเวลาดังกล่าว มีรายงานว่าต่างฝ่ายก็โหมโจมตีกันและกัน   เงื่อนไขข้อตกลง   มีการเปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงหยุดยิงต่อสาธารณะน้อยมาก โดยผู้มีส่วนร่วมในการเจรจาประกอบไปด้วยชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนั้นอย่างอียิปต์และกาตาร์ รวมถึงสหรัฐฯ และสหประชาชาติ ด้วย…

นายกฯสั่งช่วยคนไทยในอิสราเอล เตรียมแผนอพยพด่วน

Loading

  นายกฯ แสดงความเสียใจแรงงานไทยเสียชีวิตจากเหตุการณ์ในอิสราเอล สั่งสถานทูตช่วยเหลือคนไทยโดยด่วน พร้อมเตรียมแผนอพยพ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่ง ต่อการเสียชีวิตของแรงงานไทยจากเหตุการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล คือ คุณวีรวัฒน์ การุณบริรักษ์ และคุณสิขรินทร์ สงำรัมย์ รวมถึงคนงานไทยที่ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวน 8 ราย พร้อมกับได้สั่งการสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ เร่งให้ความช่วยเหลือคนไทยโดยด่วน โดยการติดตามและประสานงานการขอรับสิทธิประโยชน์และเงินชดเชยสำหรับผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งครอบครัว จากสถาบันประกันแห่งชาติอิสราเอล นอกจากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ยังได้รายงานว่า ได้ประสานงานให้มีการส่งร่างผู้เสียชีวิตกลับประเทศไทยทันทีที่สถาบันนิติเวชของอิสราเอลอนุมัติ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากทั้งสองรายมีประกันสุขภาพของอิสราเอล ทั้งนี้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ติดต่อและแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการส่งร่างผู้เสียชีวิตให้ครอบครัวได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง     ขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูต ได้รายงานด้วยว่า ได้ประกาศเตือนคนไทยให้เพิ่มความระมัดระวัง แจ้งแนวการปฏิบัติตนเมื่อได้ยินเสียงไซเรน รวมถึงได้ประสานงานกับหัวหน้าแรงงานไทยในพื้นที่ต่างๆ เพื่อติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และยังได้เน้นย้ำขอความร่วมมือให้ฝ่ายอิสราเอลช่วยดูแลคุ้มครองแรงงานไทยทุกคนด้วย นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมแผนให้ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยในอิสราเอลไว้แล้ว หากมีความจำเป็นต้องอพยพคนไทยออกจากอิสราเอล คณะทำงานศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน…

เจาะลึกการทำงาน “โดมเหล็ก” ของอิสราเอล ระบบอัจฉริยะป้องกันขีปนาวุธ

Loading

  เหตุปะทะกันรุนแรงรอบล่าสุดระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส อิสราเอลถูกยิงถล่มข้ามพรมแดนด้วยจรวดเกือบ 3,000 ลูก ในช่วงเวลา 7 วันที่ผ่านมา แต่กว่า 90% ถูกสกัดได้โดยระบบป้องกันสุดอัจฉริยะ “ไอเอิร์น โดม” หรือ “ไอรอน โดม” (Iron Dome) ของกองทัพอิสราเอล “ไอรอน โดม” เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศแบบพิสัยใกล้ (4-70 กิโลเมตร) ซึ่งมีราคาแพงมหาศาล แต่สำหรับอิสราเอล ประเทศยิวที่อยู่ท่ามกลางคู่แค้นชาติอาหรับแล้วนับว่าคุ้มค่ามาก เพราะในรอบนี้ช่วยลดความสูญเสียชีวิตทหารและพลเรือนจากหลักพันมาเหลือหลักสิบ ขีปนาวุธทาเมียร์ที่อิสราเอลใช้ยิงขึ้นสกัดมีราคาลูกละกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ นับว่าแพงมากเมื่อเทียบกับราคาขีปนาวุธกาซซามของปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ที่ลูกละ 800 ดอลลาร์สหรัฐ การยิงถล่มเข้ามาแต่ละลูกแม้จะสกัดได้ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ต่างจากการโจมตีทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในทางอ้อม   จากข่าวสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลางตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นภาพน่านฟ้าของอิสราเอลถูกกลุ่มฮามาสยิงถล่มด้วยจรวดแบบไม่ยั้ง ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้แค้นที่ถูกอิสราเอลโจมตีทางอากาศสังหารผู้บัญชาการทหารอาวุโสหลายนายของกลุ่มฮามาส และทำให้ตึกสูงในเมืองกาซา ซิตี้ พังถล่ม กองกำลังฮามาสเปิดเผยว่า นับจนถึงตอนนี้มีผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาแล้ว 192 ศพ ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 58 คน ผู้หญิง…

นาทีระทึก อิสราเอลบอมบ์ตึกสำนักข่าว ตปท.ยับ แจ้งล่วงหน้า ชม.เดียว (คลิป)

Loading

  สื่อต่างประเทศเผยแพร่คลิปนาทีกองทัพอิสราเอลโจมตีทางอากาศ ถล่มอาคารสูง ที่ตั้งสำนักข่าวต่างประเทศ อัลจาซีรา และเอพี โดยแจ้งล่วงหน้าให้อพยพ ก่อนลงมือแค่ 1 ชม. เมื่อ 16 พ.ค.64 สำนักข่าวต่างประเทศ และเดลี่เมล เกาะติดสถานการณ์สู้รบรุนแรงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มติดอาวุธฮามาส ในปาเลสไตน์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ใช้ปฏิบัติการยิงจรวดและโจมตีทางอากาศตอบโต้กันอย่างดุเดือด มาตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่ายอย่างน้อย 145 ศพแล้ว แต่ส่วนใหญ่ผู้เคราะห์ร้าย เป็นชาวปาเลสไตน์ สื่อต่างประเทศได้เผยแพร่นาทีที่อาคารสูง ‘อัล-จาลา ทาวเวอร์’ (Al-Jalaa Tower) ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักข่าวอัลจาซีรา ซึ่งเป็นสื่อใหญ่จากประเทศกาตาร์ และเอพี สื่อใหญ่จากสหรัฐฯ ในเมืองกาซา ซิตี้ ของปาเลสไตน์ ถูกกองทัพอิสราเอลโจมตีทางอากาศด้วยขีปนาวุธเมื่อ 15 พ.ค.จนถล่มลงมาทั้งหลังอย่างน่าสะพรึงกลัว ก่อให้เกิดฝุ่นควันรูปเห็ดพวยพุ่ง     ด้านเจ้าของอาคาร อัล-จาลา ทาวเวอร์ เปิดเผยด้วยความตื่นตระหนกว่า เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองอิสราเอลได้แจ้งมายังตนว่า กองทัพอิสราเอลจะยิงโจมตีอาคารหลังนี้ เพียงแค่ 1 ชั่วโมงก่อนถึงกำหนดเวลาจะโจมตีเท่านั้น จึงทำให้ต้องรีบดำเนินการอพยพนักงานและผู้คนออกจากอาคารหลังนี้กันอย่างหวาดกลัว…

อิสราเอลโจมตีทางอากาศ สังหารเหล่าแกนนำกลุ่มฮามาส

Loading

  เมื่อวันพุธ กลุ่มฮามาสและทางการอิสราเอลระบุว่า ผู้บังคับบัญชาของกลุ่มฮามาสหลายนายถูกสังหารจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในฉนวนกาซา ระหว่างที่การปะทะระหว่างสองฝ่ายทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กลุ่มฮามาสระบุในแถลงการณ์ว่า บาสเซม อิสซา หัวหน้าปฏิบัติการทางทหารของกลุ่มฮามาสในเมืองกาซา และเจ้าหน้าที่ทางทหารอาวุโสของกลุ่มหลายคน ถูกสังหารระหว่างการโจมตีดังกล่าว ทางด้านหน่วยงานความมั่นคงภายในของอิสราเอลก็ยืนยันเช่นกันว่า อิสซาและผู้บังคับบัญชาระดับสูงคนอื่น ๆ ของกลุ่มฮามาส รวมทั้งหัวหน้าวิศวกรและหัวหน้าด้านสงครามไซเบอร์และการพัฒนาจรวด ถูกสังหารจากการโจมตีครั้งนี้ บุคคลระดับสูงของกลุ่มฮามาสถูกสังหารหลังอิสราเอลโจมตีกาซาทางอากาศเมื่อเช้าวันพุธ โดยพุ่งเป้าไปที่ที่ทำการของตำรวจและหน่วยงานความมั่นคง การโจมตีดังกล่าวยังสร้างความเสียหายอย่างหนักต่ออาคารที่พักอาศัยและที่ทำการหลังหนึ่ง แม้จะไม่มีผู้อยู่ในอาคารระหว่างการโจมตีก็ตาม ทั้งนี้ การปะทะระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาและนครเยรูซาเล็มทวีความรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่วันจันทร์ กระทรวงสาธารณสุขของกาซาระบุว่า การโจมตีทางอากาศทำให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตอย่างน้อย 48 คน รวมถึงเด็ก 13 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเกือบ 300 คน โดยกองทัพอิสราเอลระุบว่า การโจมตีทางอากาศนี้พุ่งเป้าไปที่ฐานยิงจรวดของกลุ่มติดอาวุธ สำนักงานข่าวกรองและที่พักของบรรดาแกนนำกลุ่มฮามาส   ความตึงเครียดทวีคูณขึ้น ทางสาธารณสุขระบุว่าชาวอิสราเอลหกคนถูกสังหารจากการโจมตีด้วยจรวดของกลุ่มฮามาสเมื่อวันอังคารและเช้าวันพุธ รวมถึงชาวอิสราเอลสองคนในเมืองอัชเคลอน โดยกลุ่มฮามาสยิงจรวดหลายลำไปยังเมืองเทลอาวีฟและบริเวณชานเมืองมาตั้งแต่วันจันทร์ รวมถึงยิงขีปนาวุธ 130 ลูกเมื่อคืนวันอังคารเพื่อเป็นการตอบโต้ การโจมตีตอบโต้ครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์และกองกำลังของอิสราเอลครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามในกาซาเมื่อปีค.ศ. 2014 การโจมตีครั้งนี้มีชนวนเหตุมาจากการจลาจลในนครเยรูซาเล็ม และการที่ชาวยิวพยายามเข้าครอบครองพื้นที่ในชุมชนของชาวอาหรับ ความตึงเครียดนี้ขยายตัวเข้าไปยังเขตเวสต์แบงค์ ชาวอาหรับหลายร้อยคนประท้วงข้ามคืนติดต่อกันเพื่อต่อต้านการใช้กำลังของกองกำลังความมั่นคงอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์ เช่น เมื่อวันอังคาร มีชายชาวปาเลสไตน์วัย 26 ปี…

เจาะสาเหตุศึกชิงเยรูซาเล็ม ปะทะเดือดอิสราเอล-ปาเลสไตน์

Loading

  อธิบายถึงสาเหตุการประท้วงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางตะวันออกของกรุงเยรูซาเล็ม มันเกิดจากอะไร และรุนแรงขนาดไหน? ในช่วงเดือนรอมฎอนชาวปาเลสไตน์ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจอิสราเอลบนพื้นที่ทางตะวันออกของกรุงเยรูซาเล็มทุกคืน โดยประเด็นและขนาดของการประท้วงก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งครอบคลุมทั้งศาสนา ที่ดิน และการเมือง ประเด็นเหล่านี้ทั้งหมดคือความขัดแย้งหลักระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ โดยรอยเตอร์สได้อธิบายความขัดแย้งไว้ดังนี้   การประท้วงเริ่มขึ้นเมื่อใด? ตั้งแต่ต้นเดือนรอมฎอนในช่วงกลางเดือนเมษายนชาวปาเลสไตน์ได้ปะทะกับตำรวจอิสราเอลทุกคืน โดยชาวปาเลสไตน์กล่าวหาว่าตำรวจอิสราเอลนำแผงกั้นมากีดขวางไม่ให้พวกเขารวมตัวกันบริเวณประตูดามัสกัสเพื่อพักการถือศีลอดในตอนกลางวัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าทำไปเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผู้คนในการสัญจรในย่านเมืองเก่า วันหนึ่งกลุ่มชาวยิวชาตินิยมเดินขบวนในนครเมืองเก่าของเยรูซาเล็มพร้อมตะโกนว่า “ชาวอาหรับต้องตาย” ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากไม่พอใจจึงเกิดการปะทะกัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าสลายดวยระเบิด แก๊สน้ำตา รวมถึงฉีดน้ำแรงดันสูง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและผู้ถูกจับกุมจำนวนมาก     ทำไมความรุนแรงถึงปะทุขึ้นอีกครั้ง? การพิจารณาคดีในศาลฎีกาของอิสราเอลมีกำหนดในวันที่ 10 พฤษภาคมในคดีทางกฎหมายที่ดำเนินมายาวนานเกี่ยวกับว่าครอบครัวชาวปาเลสไตน์หลายครอบครัวจะถูกขับไล่หรือไม่ ขณะที่บ้านของพวกเขาตั้งอยู่ใน ชีค จาร์ราห์ (Sheikh Jarrah) ซึ่งเป็นย่านใกล้ประตูดามัสกัส เมื่อใกล้การไต่สวนของศาลชาวปาเลสไตน์และอิสราเอลฝ่ายซ้ายเริ่มจัดการประท้วงครั้งใหญ่ขึ้นโดยกล่าวว่าการขับไล่อาจทำให้เกิดผลกระทบเป็นโดมิโนไปทั่วพื้นที่ใกล้เคียงของชาวปาเลสไตน์ นอกจากนี้ชีค จาร์ราห์ ยังมีสถานที่สำคัญซึ่งเป็นที่เคารพนับถือนับถือของชาวยิวจึงนำไปสู่ความตึงเครียดบ่อยครั้งระหว่างชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ที่นั่นและชาวยิวที่เคร่งศาสนาเมื่อพวกเขาไปเยี่ยมที่นั่น     ทำไมจึงเป็นประเด็นอ่อนไหว? เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ประวัติศาสตร์ และศาสนา โดยใจกลางเมืองเก่าของเยรูซาเล็มเป็นเนินเขาที่รู้จักกันในชื่อว่าเนินพระวิหาร (Temple Mount) ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปีของทั้งสามศาสนาคือ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ชาวอิสราเอลมองว่าเยรูซาเล็มทั้งหมดเป็นเมืองหลวงที่คงอยู่ชั่วนิรันดร์และแบ่งแยกไม่ได้ ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ต้องการพื้นที่ทางตะวันออกเป็นเมืองหลวงของรัฐในอนาคต ขณะที่การผนวกเยรูซาเล็มตะวันออกของอิสราเอลไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากล…