กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้อง SpaceX ข้อหาเลือกปฏิบัติการจ้างงานผู้ลี้ภัย

Loading

  กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยื่นฟ้อง สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) บริษัทด้านอวกาศและดาวเทียมของ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) โดยกล่าวหาว่าสเปซเอ็กซ์เลือกปฏิบัติในการจ้างงานต่อผู้ลี้ภัยและผู้ที่ยื่นขอลี้ภัย   แถลงการณ์ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2018 ถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2022 สเปซเอ็กซ์มักกีดกันผู้ลี้ภัยในการยื่นสมัครงานและปฏิเสธที่จะจ้างงานพวกเขา เนื่องจากสถานะความเป็นพลเมือง ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายคนเข้าเมืองและสัญชาติของสหรัฐฯ   แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุอีกว่า ประกาศรับสมัครงานของสเปซเอ็กซ์และแถลงการณ์ต่อสาธารณะตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา สเปซเอ็กซ์มีการกล่าวอ้างอย่างไม่ถูกต้องว่าภายใต้กฎระเบียบของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หรือกฎหมายควบคุมการส่งออก ทำให้บริษัทฯ สามารถจ้างงานเฉพาะพลเมืองสหรัฐฯ และผู้อยู่อาศัยถาวรตามกฎหมาย หรือที่เรียกว่า “ผู้ถือกรีนการ์ด” เท่านั้น   นอกจากนี้ ยังมีการอ้างอิงถึงข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ หรือ X (ชื่อเดิมทวิตเตอร์) เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2020 ของ อีลอน มัสก์ ซึ่งระบุว่าสเปซเอ็กซ์จำเป็นต้องจ้างงานเฉพาะผู้ถือกรีนการ์ดเท่านั้น เนื่องจากกฎข้อบังคับการจราจรอาวุธระหว่างประเทศ ซึ่งถูกใช้กับบริษัทที่ผลิตยานอวกาศและจรวด ต้องจำกัดไม่ให้ชาวต่างชาติเข้าถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับยานพาหนะดังกล่าว เนื่องจากจรวดเป็นเทคโนโลยีอาวุธขั้นสูงและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ   ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ชี้แจงว่ากฎระเบียบของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ขัดขวางสเปซเอ็กซ์จากการว่าจ้างผู้ลี้ภัย…

กองทัพญี่ปุ่นเล็งใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของ “อีลอน มัสก์” ไม่กี่วันหลังโดนโยงเข้ากับเรือดำน้ำชมไททานิก

Loading

    รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – กองทัพญี่ปุ่นมีเป้าหมายเตรียมใช้เทคโนโลยีดาวเทียมของอีลอน มัสก์ ในงบประมาณปีหน้า ระหว่างที่ปัจจุบันกำลังทดสอบการใช้งาน เกิดขึ้นท่ามกลางมัสก์โดนเผือกร้อนโดนโยงชื่อเกี่ยวกับเรือดำน้ำชมเรือไททานิกที่หายไป จนเจ้าตัวต้องออกมาตอบไม่กี่วันก่อนหน้า   รอยเตอร์รายงานวันนี้ (25 มิ.ย.) ว่า กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นนั้นปัจจุบันสามารถเข้าถึงดาวเทียมสื่อสารระดับวงโคจรค้างฟ้า (geostationary orbit) ได้ แต่ทว่าการที่จะเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตดาวเทียมบริษัทสตาร์ลิงค์ของมหาเศรษฐีอเมริกัน อีลอน มัสก์ จะช่วยทำให้ญี่ปุ่นเพิ่มความสามารถการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตระดับดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ   แหล่งข่าวใกล้ชิดในรัฐบาลโตเกียวเปิดเผยว่า กองทัพญี่ปุ่นในปัจจุบันกำลังทำการทดสอบระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของมัสก์ ซึ่งโตเกียวมีเป้าหมายจะเริ่มใช้เทคโนโลยีสตาร์ลิงค์ที่ว่านี้ในงบประมาณปีหน้า   ทั้งนี้ พบว่ากองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นนั้นเริ่มการทดสอบระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมมาตั้งแต่เดือนมีนาคมสำหรับระบบที่ถูกใช้ใน 10 จุด และในการฝึกซ้อม หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นกล่าว   ซึ่งในเวลานี้ในหลายประเทศทั่วโลกต่างกำลังสร้างความยืดหยุ่นเพื่อป้องกันความเสี่ยงระบบการสื่อสารถูกรบกวนสัญญาณ หรือมีการโจมตีในกรณีดาวเทียมโดนทำลายหากเกิดความขัดแย้ง ซึ่งเมื่อต้นเดือนนี้เพนตากอนลงนามเซ็นสัญญายอมจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตดาวเทียมให้ยูเครน หลังเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว มัสก์ออกมาเปิดเผยว่า ทางบริษัทของเขาไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับยูเครนตก 20 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไปไหว   ซึ่งนอกเหนือจากยูเครนแล้ว มัสก์ยังแจกซับสคริปชันอินเทอร์เน็ตดาวเทียมฟรีให้ทั้งการประท้วงอิหร่าน และมีรายงานกลุ่มต่อสู้ชนกลุ่มน้อยแนวพรมแดนพม่าติดไทยเพื่อสู้รบกับรัฐบาลทหารพม่าอีกด้วย   เกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากชื่อบริษัทสตาร์ลิงค์ตกเป็นข่าวโยงประเด็นเรือดำน้ำ Titan Submersible ของบริษัทโอเชียนเกตสูญหายและล่าสุดมีรายงานว่า คาดว่าผู้โดยสารทั้ง 5 รายเสียชีวิตทั้งหมดหลังเกิดระเบิด…

จากยูเครนถึงพม่า! Free Burma Rangers ขอบคุณอีลอน มัสก์ ปล่อยสัญญาณเน็ต “สตาร์ลิงก์” ให้กองกำลังติดอาวุธรัฐกะยา

Loading

การใช้อินเทอร์เน็ตในป่ารัฐกะยาของกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (ภาพจาก Kantarawaddy Times)   ชัดแล้วแสงบนท้องฟ้าที่มองเห็นในภาคเหนือของไทยเมื่อต้นเดือนมิถุนายน เป็นกลุ่มดาวเทียมสตาร์ลิงก์ของสเปซเอ็กซ์ที่เคลื่อนตัวเข้าไปปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้านที่กำลังรบหนักอยู่กับกองทัพพม่า ผบ. Free Burma Rangers ทวีตขอบคุณอีลอน มัสก์ ที่ช่วยให้การทำงานในรัฐกะยาสะดวกขึ้น   สำนักข่าว Kantarawaddy Times รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เดวิด ยูแบงก์ ผู้อำนวยการ Free Burma Rangers กลุ่ม NGO จากสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าไปเคลื่อนไหวอยู่ในรัฐกะยา (กะเหรี่ยงแดง) ของพม่า ได้ทวีตข้อความขอบคุณอีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ และโครงการสตาร์ลิงก์ ที่ช่วยให้ในรัฐกะยามีสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้ ทำให้การทำงานในพื้นที่ของพวกเขาสะดวกขึ้น   สตาร์ลิงก์เป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนมากที่โคจรอยู่รอบโลก ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เพื่อให้ทุกพื้นที่ทั่วโลกสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ โดยปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมให้พื้นที่ห่างไกลที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตประเภทอื่นไม่สามารถเข้าถึง   รัฐกะยาอยู่ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังมีการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (PDF) กับกองทัพพม่า และกลยุทธ์หนึ่งที่กองทัพพม่านำมาใช้ คือการตัดการสื่อสาร โดยไม่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่รัฐกะยา รวมถึงอีกหลายรัฐที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพพม่า…

ฮือฮา! วอชิงตันอ้าง “จีน” ใช้ดาวเทียมป้อนข้อมูลช่วยทหารรับจ้างรัสเซีย “วากเนอร์” ในยูเครน ส่วนปักกิ่งเตรียมส่งดาวเทียม 13k ดวงเพื่อล้ม “อีลอน มัสก์”

Loading

  เอเจนซีส์ – กระทรวงต่างประเทศให้การต่อรัฐสภาสหรัฐฯ วันอังคาร (28 ก.พ.) ยืนยันบริษัทเทคโนโลยีจีน Spacety ส่งภาพถ่ายดาวเทียมช่วยกลุ่มทหารรับจ้างรัสเซีย “วากเนอร์” (Wagner) ในยูเครน ขณะเดียวกัน ปักกิ่งวางแผนต้องการล้มเครือข่ายดาวเทียมสตาร์ลิงค์ของ อีลอน มัสก์ เตรียมการส่งดาวเทียม 13,000 ดวงขึ้นฟ้า   เดลีเอ็กซเพรส สื่ออังกฤษ รายงานวันอังคาร (28 ก.พ.) ว่า แดเนียล คริเตนบริงค์ (Daniel Kritenbrink) ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (US Assistant Secretary of State) ด้านเอเชียตะวันออกและกิจการแปซิฟิกให้การต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ ในวันอังคาร (28 ก.พ.) ชี้ว่า เชื่อว่าในเวลานี้กลุ่มทหารรับจ้างรัสเซีย วากเนอร์ (Wagner) ที่กำลังรบอยู่ในยูเครนได้รับความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีดาวเทียมจากปักกิ่ง   สื่ออังกฤษรายงานว่า บริษัท Spacety เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตรจากการที่บริษัทดาวเทียมจีนแห่งนี้ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในเบลเยียมช่วยเหลือกองกำลังวากเนอร์ ด้วยการป้อนภาพดาวเทียมของยูเครน ให้กลุ่มทหารรับจ้างรัสเซียชื่อดัง  …

‘อีลอน มัสก์’ จำกัดการใช้เน็ต Starlink โดยกองทัพยูเครน หวั่นกลายเป็นเครื่องมือก่อ ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’

Loading

    อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีคนดังเจ้าของเทสลา (Tesla) สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ยืนยันผ่านทวิตเตอร์ว่าเขาได้จำกัดการใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียม “สตาร์ลิงค์” โดยกองทัพยูเครน เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบสื่อสารนี้ถูกใช้กระพือความขัดแย้งจนอาจนำไปสู่ “สงครามโลกครั้งที่ 3”   คำพูดซึ่งสื่อถึงความกังวลของ มัสก์ มีขึ้น หลังจาก สก็อตต์ เคลลี (Scott Kelly) อดีตนักบินอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) ได้เข้าไปทวีตโต้เถียงกับเขาในประเด็นที่สเปซเอ็กซ์เกรงว่าสตาร์ลิงค์จะถูกกองทัพยูเครนใช้เป็น “อาวุธ”   “การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากคุณคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับยูเครน” เคลลี ทวีตถึง มัสก์   “โปรดทำให้โครงข่ายดาวเทียมสตาร์ลิงค์ใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ การป้องกันตนเองจากการรุกรานเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocidal invasion) ไม่ถือเป็นศักยภาพในการโจมตี แต่เป็นการทำเพื่อความอยู่รอด ชีวิตคนบริสุทธิ์มากมายกำลังสูญเสียไป คุณสามารถช่วยได้” เคลลี กล่าว พร้อมลงท้ายด้วยคำว่า “ขอบคุณ”   อย่างไรก็ดี ซีอีโอสเปซเอ็กซ์ได้ตอบกลับไปว่า เคลลี “คงฉลาดพอที่จะไม่หลงเชื่อทุกอย่างที่ปรากฏในข่าวและสื่อโฆษณาชวนเชื่อทั้งหลาย”   มัสก์ ย้ำว่า ทุกวันนี้บริการของสตาร์ลิงค์ยังคงเป็น “ช่องทางหลัก”…

สมาชิกตาลีบันจ่ายเงินซื้อ “เครื่องหมายยืนยันตัวตน” บนทวิตเตอร์

Loading

    สมาชิกรัฐบาลตาลีบันบางคนมีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าหลังชื่อบัญชีทวิตเตอร์แล้ว หลังยอมจ่ายเงินแลกตามนโยบายใหม่ของ อีลอน มัสก์   หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงใหญ่ของทวิตเตอร์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดัง นับตั้งแต่การเข้ามาของ อีลอน มัสก์ ก็คือเรื่องของเครื่องหมายยืนยันตัวตน “บลูมาร์ก” หรือเครื่องหมายติ๊กถูกหลังชื่อบัญชีผู้ใช้ ที่เมื่อก่อนเป็นสัญลักษณ์ของความน่าเชื่อของบุคคลนั้น   มัสก์ต้องการสร้างรายได้จากจัดเก็บเงิน “ค่ายืนยันตัวตน” ให้คนทั่วไปสามารถมีเครื่องหมายยืนยันตัวตนหลังชื่อบัญชีของตัวเองได้ในราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ และ 11 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ iOS     ผู้ที่ได้รับเครื่องหมายบลูมาร์กนี้จะสามารถเข้าถึงฟีเจอร์พิเศษของทวิตเตอร์ได้ เช่น ฟีเจอร์เซฟข้อความทวีตพร้อมแยกหมวดหมู่ หรือฟีเจอร์ Undo ข้อความที่ทวีตไป เป็นต้น   ส่วนบัญชีผู้ใช้งานที่มีความน่าเชื่อถือเดิมนั้น หากเป็นบุคคลสาธารณะจะยังคงมีเครื่องหมายบลูมาร์กสีฟ้าอยู่ ซึ่งหากกดเข้าไปดูจะเขียนว่า “บัญชีนี้ได้รับการยืนยันเนื่องจากเป็นบัญชีที่มีชื่อเสียงในหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับรัฐบาล ข่าว ความบันเทิง หรืออื่น ๆ” ส่วนอีกประเภทจะเขียนว่า “นี่คือบัญชีแบบเดิมที่ยืนยันแล้ว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีชื่อเสียงก็ได้”   ซึ่งผู้รับสารจะต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ นั้นเป็นบัญชีประเภทไหน เป็นบัญชีที่ทวิตเตอร์รับรองความน่าเชื่อถือให้เอง หรือเป็นบัญชีที่จ่ายเงินซื้อบลูมาร์กมา   ขณะที่บัญชีที่เป็นขององค์กรหรือบริษัทเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ…