มิจฉาชีพใช้ Deepfake ปลอมเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงิน หลอกเงิน 900 ล้านบาท

Loading

มีเรื่องเตือนภัยจากฮ่องกง เมื่อเจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่งถูกหลอกให้โอนเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 890 ล้านบาท) ให้กับมิจฉาชีพที่ใช้เทคโนโลยี “Deepfake” สวมรอยเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน หรือซีเอฟโอ ของบริษัท ซึ่งปรากฏตัวในการประชุมทางวิดีโอ

เช็กให้แน่ ดูให้ชัวร์ อยู่ไกลกลลวง Phishing

Loading

  Phishing เป็นคำพ้องเสียงจากคำว่า Fishing หมายถึงการตกปลา เป็นการเปรียบเทียบว่า เหยื่อล่อที่ใช้ตกปลาคือกลวิธีที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวง โดยมักเป็นการปลอมอีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ที่มีข้อความ ทำให้ผู้อ่านหลงเชื่อว่า เป็นความจริงจนตกเป็นเหยื่อ   โดยกลวิธีหลอกล่อ Phishing มีดังนี้ – ปลอมอีเมล : ให้ดูเหมือนของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น ธนาคาร โดยเขียนข้อความในอีเมลเชิงหลอกล่อเพื่อให้เหยื่อส่งข้อมูลส่วนตัวกลับไป หรือให้เหยื่อคลิกลิงก์ไปยังหน้าเว็บไซต์ปลอม – ปลอมเว็บไซต์ : ให้ดูเหมือนเว็บไซต์ทางการเงิน เช่น ธนาคารออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางที่จะนำไปสู่บัญชีเก็บเงินของลูกค้า เมื่อเหยื่อหลงเชื่อกรอกข้อมูล รหัสประจำตัว และ Password มิจฉาชีพก็สามารถเข้าถึงและทำธุรกรรมทางการเงินของเราได้ทันที   คำแนะนำ 1. URL : ไม่คลิกลิงก์ที่แนบมาในอีเมล์ของคนที่เราไม่รู้จัก ถ้าต้องการเข้าเว็บไซต์ ให้พิมพ์ URL เอง 2. E-mail : ระวังอีเมลที่ขอให้ส่งข้อมูลส่วนตัวกลับไป หรืออีเมลที่มาพร้อมกับลิงก์ 3. HTTPS : โดยปกติธนาคารจะใช้งาน HTTPS เพื่อป้องกันการโจมตีทางเครือข่าย…

แฮ็กเกอร์รัสเซียใช้โฆษณาหลอกขายรถราคาถูก หวังเจาะคอมฯ นักการทูตในยูเครน

Loading

  พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระบุในรายงานในวันนี้ (12 ก.ค.) ว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ต้องสงสัยว่าทำงานให้กับหน่วยข่าวกรองรัสเซีย ได้มุ่งเป้าไปที่นักการทูตหลายสิบคนตามสถานทูตต่าง ๆ ในยูเครนด้วยการโฆษณารถยนต์มือสองปลอมเพื่อพยายามที่จะเจาะเข้าไปในคอมพิวเตอร์ของพวกเขา   นักวิเคราะห์จากฝ่ายวิจัยยูนิต 42 ของพาโล อัลโต เน็ตเวิร์กระบุว่า ปฏิบัติการจารกรรมอย่างกว้างขวางได้มุ่งเป้าไปที่นักการทูตซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในคณะผู้แทนทางการทูตอย่างน้อย 22 กลุ่มจากประมาณ 80 กลุ่มในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน   รายงานระบุว่า “การจารกรรมดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นจากอีเวนต์ที่ไม่มีอันตรายและเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยในช่วงกลางเดือน เม.ย. 2566 นักการทูตคนหนึ่งภายในกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ได้ส่งอีเมลใบปลิวที่ถูกต้องตามกฎหมายให้แก่สถานทูตต่าง ๆ เพื่อโฆษณาการขายรถยนต์ซีดานบีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 ที่จัดขึ้นในกรุงเคียฟ”   ทั้งนี้ นักการทูตโปแลนด์คนดังกล่าวได้ยืนยันว่า โฆษณาของเขามีส่วนถูกใช้ในการบุกรุกทางดิจิทัลจริง โดยบริษัทระบุว่า แฮ็กเกอร์ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ APT29 หรือ “Cozy Bear” ได้เข้าแทรกแซงและคัดลอกใบปลิวดังกล่าว ก่อนจะฝังซอฟต์แวร์ปองร้าย และส่งต่อให้กับนักการทูตหลายสิบคนที่ทำงานอยู่ในกรุงเคียฟ   รายงานระบุว่า “การกระทำดังกล่าวนับว่าน่าตกใจอย่างยิ่ง โดยปกติแล้วปฏิบัติการภัยคุกคามขั้นสูง (APT) จะมีขอบเขตที่แคบและเป็นความลับ”…

Phishing เตือนภัยกลโกงในโลกออนไลน์

Loading

  ในช่วงนี้กระแสโกงเงินในโลกออนไลน์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นมัลแวร์ดูดเงิน การเข้าควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล ซึ่งได้สร้างความเสียหายและความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก วันนี้แอดมินจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหนึ่งในกลโกงที่พบได้บ่อยที่สุดบนโลกออนไลน์อย่าง “Phishing” (ฟิชชิ่ง)   Phishing คืออะไร Phishing คือรูปแบบการหลอกลวงผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้วิธีทางจิตวิทยาร่วมด้วย ทั้งกลอุบายหลอกล่อผู้ใช้งาน และการแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ธนาคาร หรือบัญชีโซเชียลมีเดีย โดยทั่วไปจะนิยมให้กดที่ ‘ลิงก์’ เพื่อย้ายไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นและทำการกรอกข้อมูล โดยเว็บไซต์นั้นก็จะทำเลียนแบบจนเกือบเหมือนกับฉบับเลย   Phishing เป็นคำเปรียบเทียบที่พ้องเสียงมาจาก Fishing ที่แปลว่า การตกปลา โดยในการตกปลานั้นต้องมีเหยื่อล่อให้ปลามาติดเบ็ด จึงเปรียบเทียบถึงการสร้างสถานการณ์โดยการส่งข้อความ อีเมล หรือเว็บไซต์ปลอม เพื่อเป็นเหยื่อล่อให้ผู้ใช้งานเข้ามาติดเบ็ด   ที่มาของคำว่า Phishing คำว่า “Phishing” เกิดขึ้นในช่วงกลางปี 1990 เมื่อแฮ็กเกอร์ได้ใช้อีเมลปลอมในการล้วงข้อมูลของเหยื่อที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แฮ็กเกอร์ในยุคนั้นถูกเรียกว่า “Phreaks” (Freaks+Phone) และได้กลายมาเป็นคำว่า “Phishing” (Fishing+Phone) อย่างทุกวันนี้   ตัวอย่างของ Phishing ที่ต้องระวัง 1. Deceptive…

แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์ ‘PayPal’ ส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นอันตราย

Loading

  ปัจจุบันภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกท่านจะเห็นข่าวภัยไซเบอร์ได้จากทั่วทุกมุมโลก หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยของเราเองก็มีการนำเสนอจากสื่ออยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแฮ็กเพื่อโจรกรรมเอาข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ให้ความสนใจในการปฏิบัติโจมตีเพราะผลตอบแทนสูงและสามารถเข้าถึงในคนหมู่มากเลยก็ว่าได้   ในวันนี้ผมอยากพูดถึงกรณีของ PayPal ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่รู้จักกันดีและมีผู้ใช้บริการจำนวนมากทั่วโลกได้ถูกแฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์โดยการแฝงตัวส่งใบแจ้งหนี้ปลอมไปยังผู้ใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มโดยตรง   ทาง PayPal ได้ออกประกาศแจ้งลูกค้าหลายพันรายในสหรัฐว่า การเข้าสู่ระบบถูกบุกรุกเมื่อช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เปิดเผยว่า การโจมตีครั้งนี้มีความแตกต่างจากการโจมตีครั้งก่อน ๆ   การที่ทีมนักวิจัยค้นพบเพราะครั้งนี้คือการปลอมแปลงและส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นอันตรายซึ่งมาจาก PayPal ผ่านอีเมลฟิชชิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีครั้งนี้โดยเนื้อหาระบุว่า ผู้ใช้บริการมีบัญชีที่มีการฉ้อโกงและขู่ปรับสูงถึง 699.99 ดอลลาร์ หากเหยื่อไม่ดำเนินการ   อย่างไรก็ตาม หากมีการสังเกตเนื้อหาของอีเมลจะพบว่า เราสามารถเตือนผู้ใช้งานบางคนที่มีความระมัดระวังได้ว่า อีเมลนั้นไม่ใช่อีเมลของจริงจาก PayPal เพราะรูปแบบประโยคไม่ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์และมีการสะกดคำผิดอยู่หลายจุดในเนื้อความของอีเมล อีกทั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุไว้ในอีเมลไม่มีความเกี่ยวข้องกับ PayPal เลย   ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานบางคนอาจยังคงตัดสินใจโทรไปที่หมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเมลที่ได้รับ เพราะเจตนาของการทิ้งเบอร์โทรให้เหยื่อติดต่อกลับเพื่อที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์จะได้ทราบหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเหยื่อและนำหมายเลขโทรศัพท์นี้ไปใช้ในการโจมตีอื่น ๆ เพิ่มเติมซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ในการหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์   หากเรามองในแง่ว่าทำไมเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ถึงเลือกใช้ PayPal ในการโจมตี เราจะพบว่าประโยชน์ของการใช้ PayPal ที่เด่นชัดมากคือความสามารถในการส่งใบแจ้งหนี้จำนวนมากในแต่ละครั้งและทำให้ดูเป็นมืออาชีพอย่างมาก   อีกทั้งอีเมลที่มาจาก PayPal โดยตรง ตัวอีเมลเองไม่ได้เป็นอันตรายและยังมีใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมายจำนวนนับไม่ถ้วนที่ส่งผ่าน…

เช็กที่นี่ “เอกสาร-อีเมลปลอม” มิจฉาชีพแอบอ้างปปง. เจอแบบนี้? อย่าเชื่อ

Loading

    สำนักงาน ปปง. แจ้งเตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพสร้างเอกสารและอีเมลปลอม แอบอ้างชื่อสำนักงาน ปปง. หากมีข้อสงสัย ติดต่อสายด่วน 1710     สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับแจ้งจากประชาชนเพื่อขอให้ตรวจสอบ กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email : อีเมล) ส่งหนังสือแจ้งผู้เสียหายเรื่องการรับรองแหล่งที่มาของทรัพย์สินเพื่อรับเงินจากการเคลมประกัน ซึ่งในอีเมลดังกล่าว มีข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหาย เช่น ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขบัญชีธนาคาร, ยอดเงินที่ได้รับการเคลมประกัน เป็นต้น และแจ้งให้ผู้เสียหายต้องดำเนินการเสียภาษีอากรด้วยตนเองภายใน 7 วัน ซึ่งมิจฉาชีพได้จัดทำเอกสารปลอม เช่น หนังสือรับรอง แบบรายงานการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน เอกสารการโอนเงิน เป็นต้น และ สร้างอีเมลปลอมโดยใช้ชื่ออีเมล saraban@amlo.go.th เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงิน     สำนักงาน ปปง. ขอแจ้งว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำของมิจฉาชีพที่แอบอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการ โดยสร้างอีเมลปลอมเพื่อใช้ในการส่งเอกสารปลอมหลอกลวงผู้เสียหายให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ…