ระวังอ้างเป็นคราวด์สไตรก์หลอกต้มตุ๋น
CISA ยังได้กำชับให้องค์กรต่างๆ เตือนพนักงานหลีกเลี่ยงการคลิกอีเมลฟิชชิ่งหรือลิงก์ที่น่าสงสัย ทั้งนี้ให้เฝ้าระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแหล่งที่มาที่ถูกต้องเท่านั้น
CISA ยังได้กำชับให้องค์กรต่างๆ เตือนพนักงานหลีกเลี่ยงการคลิกอีเมลฟิชชิ่งหรือลิงก์ที่น่าสงสัย ทั้งนี้ให้เฝ้าระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแหล่งที่มาที่ถูกต้องเท่านั้น
ภัยคุกคาม ยุคดิจิทัล คงหนีไม่พ้นอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ใช้แชตบอตเอไอสร้างมัลแวร์เพื่อโจมตีบริษัท ทาง OpenAI และหน่วยงานความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ เคยออกมาประกาศว่า แฮกเกอร์ที่หวังโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อประยุกต์ใช้เครื่องมือเอไอ ทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น
มาตรการใหม่ของ Google น่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่ส่งอีเมลประชาสัมพันธ์ในปริมาณมากตั้งแต่ 5,000 ฉบับต่อวันขึ้นไป โดยจะมีการเพิ่มอัตราการปฏิเสธการส่งอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เมษายนนี้เป็นต้นไป
เชื่อเถอะว่า แม้เราจะมีระบบป้องกันที่ดีมากแค่ไหน แฮ็กเกอร์เค้าก็จะพยายามหารูปแบบการโจมตีทีหลีกเลี่ยงระบบป้องกันไปให้ได้ โดยล่าสุดมีความพยายามจะโจมตีฟิชชิ่ง ด้วยการใช้ภาพ QR Code ปกติแล้ว บริการอีเมลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Gmail หรือ Outlook เค้าจะมีระบบตรวจสอบฟิชชิ่ง ซึ่งจะใช้ AI ในการคัดกรองข้อความ หากพบว่าเป็นฟิชชิ่งที่มีลิงก์แนบมา ก็จะลบออกหรือแจ้งให้ผู้ใช้รู้ก่อนคลิก แล้วอีเมลฟิชชิ่งหน้าตาเป็นแบบไหน ? ส่วนใหญ่ก็มักจะอ้างว่า เป็นฝ่ายสนันสนุนของ Microsoft , Google หรืออื่น ๆ พร้อมกับสร้าง Story หลอกให้เรากดลิงก์ เช่น “สวัสดี นี่คือฝ่ายสนับสนุนของ Microsoft คุณต้องยืนยันการใช้งานรหัสแบบสองขั้นตอน ในทันที ไม่งั้นบัญชีของคุณอาจถูกล็อก” พร้อมกับส่งลิงก์ให้ ซึ่งถ้าเป็นข้อความในลักษณะข้างต้น Microsoft จะทำการบล็อคไปครับ แต่ตอนนี้แฮ็กเกอร์เปลี่ยนวิธีจากการใส่ลิงก์ มาเป็นการส่งภาพ QR Code ให้เราสแกน ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงระบบตรวจจับไปได้ หากเราสแกน…
ปัจจุบันภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกท่านจะเห็นข่าวภัยไซเบอร์ได้จากทั่วทุกมุมโลก หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยของเราเองก็มีการนำเสนอจากสื่ออยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแฮ็กเพื่อโจรกรรมเอาข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ให้ความสนใจในการปฏิบัติโจมตีเพราะผลตอบแทนสูงและสามารถเข้าถึงในคนหมู่มากเลยก็ว่าได้ ในวันนี้ผมอยากพูดถึงกรณีของ PayPal ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่รู้จักกันดีและมีผู้ใช้บริการจำนวนมากทั่วโลกได้ถูกแฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์โดยการแฝงตัวส่งใบแจ้งหนี้ปลอมไปยังผู้ใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มโดยตรง ทาง PayPal ได้ออกประกาศแจ้งลูกค้าหลายพันรายในสหรัฐว่า การเข้าสู่ระบบถูกบุกรุกเมื่อช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เปิดเผยว่า การโจมตีครั้งนี้มีความแตกต่างจากการโจมตีครั้งก่อน ๆ การที่ทีมนักวิจัยค้นพบเพราะครั้งนี้คือการปลอมแปลงและส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นอันตรายซึ่งมาจาก PayPal ผ่านอีเมลฟิชชิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีครั้งนี้โดยเนื้อหาระบุว่า ผู้ใช้บริการมีบัญชีที่มีการฉ้อโกงและขู่ปรับสูงถึง 699.99 ดอลลาร์ หากเหยื่อไม่ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม หากมีการสังเกตเนื้อหาของอีเมลจะพบว่า เราสามารถเตือนผู้ใช้งานบางคนที่มีความระมัดระวังได้ว่า อีเมลนั้นไม่ใช่อีเมลของจริงจาก PayPal เพราะรูปแบบประโยคไม่ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์และมีการสะกดคำผิดอยู่หลายจุดในเนื้อความของอีเมล อีกทั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุไว้ในอีเมลไม่มีความเกี่ยวข้องกับ PayPal เลย ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานบางคนอาจยังคงตัดสินใจโทรไปที่หมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเมลที่ได้รับ เพราะเจตนาของการทิ้งเบอร์โทรให้เหยื่อติดต่อกลับเพื่อที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์จะได้ทราบหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเหยื่อและนำหมายเลขโทรศัพท์นี้ไปใช้ในการโจมตีอื่น ๆ เพิ่มเติมซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ในการหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์ หากเรามองในแง่ว่าทำไมเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ถึงเลือกใช้ PayPal ในการโจมตี เราจะพบว่าประโยชน์ของการใช้ PayPal ที่เด่นชัดมากคือความสามารถในการส่งใบแจ้งหนี้จำนวนมากในแต่ละครั้งและทำให้ดูเป็นมืออาชีพอย่างมาก อีกทั้งอีเมลที่มาจาก PayPal โดยตรง ตัวอีเมลเองไม่ได้เป็นอันตรายและยังมีใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมายจำนวนนับไม่ถ้วนที่ส่งผ่าน…
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เกาหลีเหนือได้หลอกเอาข้อมูลล็อกอินจากผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายต่างประเทศของเกาหลีใต้อย่างน้อย 892 รายมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน โดยโจมตีด้วยการส่งอีเมลปลอมเป็นบุคคลสำคัญเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลล็อกอินที่คนร้ายส่งเว็บปลอมเพื่อทำฟิชชิ่ง (phishing) ในจำนวนนี้มีเหยื่อ 49 คนล็อกอินเข้าเว็บปลอมจนคนร้ายได้ข้อมูลไปจริง ๆ มีการส่งอีเมลปลอมเป็นบุคคลสำคัญอย่างเช่น เลขาของสำนักงานพรรคพลังประชาชน (PPP) และเจ้าหน้าที่จากสถาบันการทูตแห่งชาติ และหลอกให้ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลอมหรือให้เปิดไฟล์แนบที่มีไวรัสทำให้กลุ่มแฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุมบัญชีอีเมลและดาวน์โหลดข้อมูลออกไปได้ ทางสำนักงานตำรวจระบุว่าแฮ็กเกอร์ที่การเปลี่ยนแปลงเลข IP Address และใช้เซิร์ฟเวอร์ถึง 326 แห่งใน 26 ประเทศเพื่อให้ยากต่อการสืบหาตัว ตำรวจเชื่อว่าเป็นแฮกเกอร์กลุ่มเดียวกับที่เจาะระบบของบริษัท Korea Hydro & Nuclear Power ในปี 2014 โดยสันนิษฐานจากวิธีการและกลุ่มเป้าหมายของการโจมตี นอกจากการส่งอีเมลปลอมแล้ว ปีนี้ยังเป็นปีแรกที่ทางตำรวจเกาหลีใต้พบว่าแฮ็กเกอร์ของเกาหลีเหนือใช้แรนซัมแวร์เพื่อเข้ารหัสไฟล์บนอุปกรณ์และเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อก กรณีนี้เกิดขึ้นกับห้างสรรพสินค้า โดยเซิร์ฟเวอร์ 19 ตัวของ 13 บริษัทถูกโจมตี มี 2 บริษัทตัดสินใจจ่ายค่าไถ่รวม 2.5 ล้านวอนหรือประมาณ 7 หมื่นบาท หน่วยข่าวกรองของเกาหลีใต้ (NIS)…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว