ภัยฟิชชิ่งอาเซียนระบาดหนัก “แคสเปอร์สกี้” พบยอดครึ่งปีแรกสูงกว่ายอดปีก่อนทั้งปี

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เผยยอดการระบาดของภัยฟิชชิ่งในอาเซียนครึ่งปีแรก สูงกว่ายอดปีก่อนทั้งปี เตรียมหนุนองค์กรสนใจ APT ที่พุ่งเป้าโจมตีเอ็นเทอร์ไพรซ์และภาครัฐ   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่าการโจมตีด้วยฟิชชิ่งยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลล่าสุดจากแคสเปอร์สกี้พบว่าปีนี้อาชญากรไซเบอร์ใช้เวลาเพียงหกเดือนในการทำลายสถิติการโจมตีฟิชชิ่งของปีที่แล้วทั้งปี โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน ปี 2022 ระบบ Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้ได้บล็อกลิงก์ที่เป็นอันตรายทั้งหมด 12,127,692 รายการในมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมากกว่าจำนวนการโจมตีด้วยฟิชชิงทั้งหมดที่ตรวจพบในภูมิภาคนี้เกือบถึงหนึ่งล้านรายการเมื่อเทียบกับปี 2021 ที่มีสถิติทั้งปี 11,260,643 รายการ   “ครึ่งปีแรกของปี 2022 มีเหตุการณ์ที่ดีและไม่ดี ในระดับบุคคลเราได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการพยายามฟื้นคืนสภาพหลังเกิดโรคระบาด การบังคับให้บริษัทและองค์กรต่างๆ ยอมรับการทำงานทางไกลและแบบผสมผสาน ภาคการเดินทางทั้งสายการบิน สนามบิน ตัวแทนท่องเที่ยว และอื่นๆ ได้ต้อนรับการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางหลังเปิดพรมแดน เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือเครือข่ายและระบบที่จำเป็นต้องได้รับการอัปเดตและรักษาความปลอดภัยอย่างเร่งด่วน ในทางกลับกัน อาชญากรไซเบอร์ต่างก็รับรู้และสามารถปรับแต่งข้อความและใส่ประเด็นความเร่งด่วนที่น่าเชื่อถือ ทำให้เราได้เห็นเหตุการณ์โชคร้ายของเหยื่อที่สูญเสียเงินเนื่องจากการโจมตีแบบฟิชชิ่งนั่นเอง”   Kaspersky มีดีกรีเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ขณะที่ฟิชชิ่งเป็นการโจมตีแบบวิศวกรรมสังคม ยังคงเป็นหนึ่งในวิธีการหลักที่ผู้โจมตีใช้เพื่อละเมิดเป้าหมายทั้งรายบุคคลและระดับองค์กร การศึกษาพบว่าฟิชชิ่งทำงานในวงกว้างโดยอาชญากรไซเบอร์ส่งอีเมลจำนวนมหาศาลโดยอ้างตัวว่าเป็นบริษัทหรือบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อโฆษณาเพจปลอมหรือทำให้ผู้ใช้ติดมัลวร์ด้วยไฟล์แนบที่เป็นอันตราย   “เป้าหมายสุดท้ายของการโจมตีแบบฟิชชิ่งคือการขโมยข้อมูลประจำตัว โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงินและการเข้าสู่ระบบ เพื่อขโมยเงิน…

สถิติเผย มีองค์กรน้อยกว่า 5% ที่เปิดใช้มาตรการด้าน Email Security

Loading

credit : Red Sift   การหลอกลวงหรือปลอมแปลงเป็นอีเมลที่น่าเชื่อถือนั้นมีความเสียหายเป็นนัยสำคัญอย่างมาก จากสถิติเพียงไตรมาสแรกของปี 2022 ได้แตะถึงสถิติใหม่ที่มีจำนวนการโจมตีทางอีเมลกว่า 1 ล้านครั้ง ซึ่งอันที่จริงแล้วโลกนี้มีทางเลือกสำหรับการป้องกันที่เรียกว่า DMARC และ BIMI   DMARC หรือ (Domain-based Message Authentication, Reporting and Conformance) เป็นโปรโตคอลที่ช่องเรื่องการพิสูจน์ตัวตนของอีเมล อยู่ใน RFC 7489 ออกเมื่อปี 2015 โดย DMARC ทำให้เจ้าของโดเมนอีเมลปกป้องโดเมนของตัวเองจากการนำไปใช้ที่ไม่ดีได้ โดยทำให้ผู้รับสามารถพิสูจน์ที่มาของอีเมลได้ตามข้อกำหนดของเจ้าขอโดเมน และมีขั้นตอนต่างๆว่าถ้าผ่านหรือไม่ผ่านพิสูจน์ตัวตนจะให้ทำอย่างไรต่อไป (กระบวนการภายในประกอบด้วย Sender Policy Framework และ DomainKeys Identified Mail)   BIMI (Brand Indicators for Message Identification) เป็นการยกระดับอีกขั้นด้วยการแสดงโลโก้แบรนด์ในอีเมลไคลเอ้นต์ โดยต้องมีพื้นฐานต่อยอดจาก DMARC ก่อน  …

วิธีการสังเกตอีเมล Phishing 7 สัญญาณบอกว่าเป็นอีเมลหลอกลวง

Loading

วิธีการสังเกตอีเมล Phishing ทั้งนี้อีเมลที่คุณอ่านทุกวันเป็นประจำจะมีบางอีเมลเป็นอีเมล Phishing หลอกลวงคุณอยู่ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าอีเมลนั้นเป็นอีเมลปลอม แม้ว่าข้อความหลอกลวงจำนวนมากส่วนใหญ่จะมองเห็นได้ง่าย แต่ก็มีบางข้อความที่ต้องตรวจสอบมากกว่านี้เพื่อดูว่าเป็นอีเมลจริงหรือไม่ นี่คือ 7 สัญญาณที่คุณต้องสังเกตอีเมล เพื่อป้องกันตัวคุณเองจาก Phishing หรืออีเมลหลอกลวง วิธีการสังเกตอีเมล Phishing 7 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็นอีเมลหลอกลวง 1.สังเกตชื่อผู้ส่งผิดปกติหรือไม่ เช่นที่อยู่ของ Paypal ต้องเป็น @mail.paypal.com ไม่ใช่ @ppservice.com หรืออีเมลอื่นๆ เป็นต้น นี่อาจเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของอีเมลว่าเป็นอีเมลปลอมหรือไม่ 2.มีพิมพ์ข้อความผิดหลายจุด หากคุณได้รับอีเมลจากที่อ้างว่าเป็นหน่วยงานที่เป็นทางการ เช่น ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่หรือหน่วยงานของรัฐบาล คุณคงคาดหวังว่าการสะกดคำและไวยากรณ์ของอีเมลนั้นถูกต้อง ทางการคงหายากที่คุณจะได้รับอีเมลจากแบรนด์หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือแต่เต็มไปด้วยคำผิดไวยากรณ์ หรือข้อความผิดหลายจุด 3. ข้อความ “ด่วน” หากคุณได้รับอีเมลที่ระบุว่าคุณต้องดำเนินการทันที เร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงผลที่ตามมา คุณมีแนวโน้มที่จะทำตามขั้นตอนที่อีเมลนั้นบอกไว้ มิจฉาชีพได้พิมพ์ข้อความแบบใส่ความรู้สึกลงในอีเมลฟิชชิ่ง เพื่อกดดันให้คุณที่กำลังอ่านนั้น หลงเชื่อคลิกและทำตามอีเมลที่บอกอย่างเร่งด่วน ดังนั้น หากได้จดหมายแบบนี้อย่าตกใจ ตั้งสติและเช็กตรวจสอบอีเมลเพื่อหาสิ่งที่น่าสงสัย ก่อนแล้วค่อยดำเนินการหากคุณรู้สึกว่าผู้ส่งนั้นเชื่อถือได้ 4. ไฟล์แนบแปลกๆ ผิดปกติ ไม่รู้จัก อาชญากรไซเบอร์มักใช้ไฟล์แนบที่เป็นอันตราย เพื่อติดตั้งมัลแวร์ลงในอุปกรณ์ของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัว…

โจรโซเชียล โผล่มุกใหม่ระบาด “ไลน์” ไม่อยากโดนหลอกต้องดู เตือนแล้วนะ

Loading

  เพจตำรวจ เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ มามุกใหม่ เพื่อหลอกให้กดลิงค์ผ่าน “ไลน์” แนะประชาชนตรวจสอบให้ดีก่อนตกเป็นเหยื่อ   หากพูดถึง ภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินข่าวการโจมตีสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจต่าง ๆ หรือหน่วยงานภาครัฐมาบ้างแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น ภัยไซเบอร์ อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ทางศูนย์ฯ จะพาไปทำความรู้จักภัยไซเบอร์ ใกล้ตัวแต่ละประเภทที่ควรรู้ รวมถึงแนะนำวิธีรับมือและป้องกันตนเองจากภัยที่อาจเกิดขึ้นจาก “ไลน์”   ทางเพจ PCT Police ได้ออกมาเตือนถึง ภัยมิจฉาชีพออนไลน์ใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ มิจฉาชีพ มามุกใหม่ เพื่อหลอกให้กดลิงค์ผ่าน “ไลน์”   แอด “ไลน์” มาแสร้งเป็นคนดี แจ้งเตือนเหยื่อ ว่ามีคนเอาภาพเหยื่อไปทำในทางที่ไม่ดี โดยการส่งลิงค์มาให้กดดู ถ้าเผลอกดเข้าไปหละก้อ อาจจะโดนไวรัสเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เงินในบัญชีอาจจะหมดไม่รู้ตัว   จะคลิกลิงก์อะไร ตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนนะครับ ว่าเป็นลิงค์ที่ปลอดภัย ไม่งั้นตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพพวกนี้แน่นอน       นอกจากมิจฉาชีพจะมาทาง “ไลน์” แล้วยังมีอีกหลายวิธีที่โจรโซเชียลเหล่านี้จะนำมาใช้ โดยมีดังนี้…