สหราชอาณาจักร ออกกฎหมายคุม “รหัสผ่านยอดแย่” ทำอุปกรณ์อัจฉริยะใช้งานไม่ได้

Loading

บอกลารหัสผ่านยอดแย่! อุปกรณ์ที่มีรหัสผ่านไม่รัดกุม เช่น “admin” หรือ “123456” จะถูกแบนในสหราชอาณาจักรภายใต้กฎหมายใหม่ ที่กำหนดว่าอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหมดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย

Smart Device หรือ Cyber Spy? นักล้วงข้อมูลเรียลไทม์ที่ต้องระวัง

Loading

  8 ปีที่แล้ว Gartner เคยพยากรณ์ว่าบ้านแต่ละหลังจะมีอุปกรณ์ Smart Device มากถึง 500 ชิ้น ซึ่งฟังดูแล้วทีมวิจัยคงอ่านนิยายวิทยาศาสตร์มากไปสักหน่อย แต่มาถึงวันนี้แล้วเราอาจไม่คาดคิดว่าตัวอุปกรณ์ดิจิทัลรอบตัวเราถ้านับแล้วมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน่าตกใจ   ถ้าไม่นับคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำ เราจะพบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดา ๆ ในบ้านอย่างทีวี เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องดูดฝุ่น เครื่องฟอกอากาศ พัดลม หม้อหุงข้าว กล้องวงจรปิด หลอดไฟ ฯลฯ ล้วนแปลงร่างเป็นอัจฉริยะหรือ Smart Device กันหมดแล้ว     นั่นหมายความว่าอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ตลอดเวลา อยากรู้ว่าอากาศที่บ้านเป็นยังไง อยากรู้ว่าลืมปิดพัดลมหรือเปล่าก็รู้ได้ทันที จะสั่งเปิดปิด ตั้งเวลาทำงานล่วงหน้า ก็ใช้มือถือสั่งการได้ตลอดเวลา   อุปกรณ์หลาย ๆ อย่างที่เราไม่เคยคิดจินตนาการว่ามันจะมีความจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น หวี ไม้แคะหู (ส่องเห็นทุกอณูของรูหู ราคาอันละไม่ถึงพัน ซื้อได้ทางเว็บออนไลน์) ต่างก็พาเหรดมาเป็น Smart…

นักวิจัยพบช่องโหว่ Polite WiFi ทำให้แฮ็กเกอร์รู้ตำแหน่งและเจาะข้อมูลได้ง่าย

Loading

  นักวิจัยพบข้อบกพร่องของ WiFi แบบ Polite WiFi ทำให้แฮ็กเกอร์ระบุตำแหน่งด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านกำแพงที่มีความหนาถึง 3.3 ฟุต ได้อย่างง่ายดาย   ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู (University of Waterloo) ค้นพบว่าอุปกรณ์สมาร์ตโฟนต่าง ๆ มีการตอบรับสัญญาณโดยอัตโนมัติ แม้ว่าจะมีการเข้ารหัสเอาไว้ก็ตาม ทำให้แฮ็กเกอร์รู้ตำแหน่งของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลาย เช่น กล้องวงจรปิด แล็ปท็อป สมาร์ตทีวี หรือสามารถติดตามอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างโทรศัพท์มือถือได้ง่าย   เนื่องจากมีการพัฒนาโดรนบินที่เรียกว่า Wi-Peep ซึ่งจะส่งสัญญาณหลายประเภทในขณะบินและวัดเวลาตอบสนอง จะทำให้อุปกรณ์ตอบสนองต่อความพยายามในการติดต่อโดยอัตโนมัติ ซึ่งวิธีการนี้จะเชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายแบบสามเหลี่ยมได้ภายใน 1 เมตร จากตำแหน่งของอุปกรณ์ และยังสามารถติดตามอุปกรณ์สื่อสารที่เคลื่อนที่ได้อีกด้วย   อุปกรณ์ Wi-Peep เปรียบเสมือนแสงในสเปกตรัมที่มองเห็นได้ ส่วนกำแพงเปรียบเสมือนกระจก ทำให้สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายในอาคารได้ โดยติดตามตำแหน่งของโทรศัพท์หรือสมาร์ตวอทช์ ในขณะเดียวกันก็สามารถระบุตำแหน่งและประเภทของอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้าน เพื่อค้นหาอุปการณ์ที่เหมาะสำหรับการเจาะข้อมูลบุกเข้ามา   สิ่งที่น่ากังวลคือผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องเห็นเป้าหมายก็สามารถสั่งการผ่านโดรนที่ติดตั้งกล้องจากตำแหน่งที่ซ่อนอยู่ได้ ถึงแม้ว่าผู้เสียหายจะมองเห็นโดรนที่แอบซ่อนอยู่ก็ไม่สามารถระบุตำแหน่งของผู้สั่งการได้ นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ประกอบโดรนยังหาซื้อได้ง่าย ทำให้โดรน Wi-Peep มีราคาถูกและสร้างขึ้นได้อย่างง่ายดาย และยังไม่มีวิธีการป้องกันการโจมตีประเภทนี้…

ผู้เชี่ยวชาญกังวล บริษัทเทคโนโลยีจีนลอบเก็บข้อมูล ‘อุปกรณ์อัจฉริยะ’

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เตือนว่า อุปกรณ์อัจฉริยะหลายอย่างที่ถูกนำมาใช้ภายในบ้าน ซึ่งผลิตโดยบริษัทเทคโนโลยี ทูยา (Tuya Inc) ในเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียงของจีน อาจมีปัญหาเรื่องการลอบเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ บริษัท Tuya ได้รับการสนับสนุนโดยบริษัทเทคโนโลยี เทนเซนต์ (Tencent) ซึ่งมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลจีน และเพิ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเมื่อเดือนมีนาคม โดยระดมทุนได้ 915 ล้านดอลลาร์ บริษัท Tuya ผลิตสินค้าเทคโนโลยีให้แบรนด์ต่าง ๆ มากกว่า 5,000 ยี่ห้อ ครอบคลุมมากกว่า 1,100 ประเภทสินค้า ตั้งแต่ด้านสุขภาพอนามัย การเกษตรและภาคบริการ สินค้าอุปกรณ์อัจฉริยะที่ผลิตโดยบริษัทนี้มีจำนวนมากกว่า 116 ล้านชิ้น วางขายในมากกว่า 220 ประเทศทั่วโลก เว็บไซต์อีคอมเมิร์ชรายใหญ่ของสหรัฐฯ รวมทั้ง แอมะซอน (Amazon) วอลมาร์ท (Walmart) และทาร์เก็ต (Target) ต่างขายสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีของ Tuya แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนขอให้รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งจำกัดหรือห้ามขายสินค้าของ Tuya ในอเมริกา และเตือนว่า Tuya ขาดฟังก์ชันในการปกป้องข้อมูลของผู้บริโภคในอุปกรณ์อัจฉริยะต่าง…