ผลสำรวจของ Pew พบว่าชาวอเมริกันเกินครึ่งมองว่า TikTok เป็นภัยความมั่นคงของชาติ

Loading

    ผลการสำรวจของสำนักวิจัยของสหรัฐฯ Pew Research Center ในช่วงกลางเดือน พ.ค.66 หลังจากที่นาย Greg Gianforte ผู้ว่าการรัฐมอนแทนา ได้ประกาศลงนามในกฎหมายสั่งแบนแอปพลิเคชัน TikTok ของจีน ซึ่งเป็นรัฐแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่แบนอย่างเป็นทางการ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวอเมริกันร้อยละ 59 จากชาวอเมริกันจำนวน 5,100 คน มองว่า TikTok เป็นภัยความมั่นคงของประเทศสหรัฐฯ จำนวนร้อยละ 17 คิดว่าแพลตฟอร์มนี้ไม่ได้เป็นภัยคุกคาม และอีกร้อยละ 23 ตอบว่าไม่แน่ใจ   นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่า อายุมีผลต่อความคิดที่แตกต่างกัน โดยผู้ที่มีอายุ 18-29 ปี คิดว่า TikTok เป็นภัยคุกคามสำคัญเพียงร้อยละ 13 ในขณะที่ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมองว่าเป็นภัยคุกคามสำคัญมากถึงร้อยละ 46   อย่างไรก็ตาม เมื่อ มี.ค.66 TikTok เปิดเผยว่า ชาวอเมริกันที่ใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok มีจำนวน…

ระเบิดลูกปราย (คลัสเตอร์บอมบ์) คืออะไร ทำไมสหรัฐฯ ตัดสินใจส่งให้ยูเครน?

Loading

    สหรัฐอเมริกาประกาศว่าจะจัดส่ง ‘ระเบิดลูกปราย’ (Cluster Munitions) หรือ ‘คลัสเตอร์บอมบ์’ ให้กับยูเครนตามคำขอ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน เนื่องจากคลัสเตอร์บอมบ์ถูกมองว่าเป็นอาวุธร้ายแรงที่ปัจจุบันถูกแบนในกว่า 120 ประเทศ   คลัสเตอร์บอมบ์คืออะไร อันตรายอย่างไร?   ระเบิดลูกปรายหรือคลัสเตอร์บอมบ์ เป็นระเบิดที่บรรจุลูกระเบิดขนาดเล็กๆ ไว้ภายในจำนวนมาก วิธีการใช้ทำได้หลายวิธี คือ สามารถทิ้งลงจากเครื่องบิน ขีปนาวุธ หรือยิงโดยปืนใหญ่จากพื้นดินสู่พื้นที่เป้าหมายก็ได้ โดยคลัสเตอร์บอมบ์จะระเบิดกลางอากาศเพื่อปล่อยลูกระเบิดย่อยให้กระจายเป็นวงกว้าง   จากมุมมองด้านการทหาร ระเบิดลูกปรายมีประสิทธิภาพอย่างน่ากลัวเมื่อใช้โจมตีกองทหารราบที่ประจำการอยู่ในสนามเพลาะหรือหลุมที่ถูกขุดเพื่อเป็นที่มั่นในการต่อสู้ ตลอดจนที่ประจำอยู่ตามป้อมค่ายต่างๆ   อย่างไรก็ดี ความอันตรายของอาวุธชนิดนี้คือ ระเบิดลูกปรายมีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดจากเป้าหมายและไม่ระเบิดในอัตราที่สูง หรือ ‘Dud Rate’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าระเบิดตกลงบนพื้นที่เปียกหรือนุ่ม   รายงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ระบุว่า ระเบิดลูกปรายที่ถูกนำมาใช้ในความขัดแย้งล่าสุดนั้น มีอัตราระเบิดด้านสูงถึง 40%   นั่นหมายความว่าลูกระเบิดขนาดเล็กอาจตกค้างบนพื้นดิน และอาจระเบิดขึ้นได้ในภายหลังเมื่อถูกหยิบหรือเหยียบ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าจะผ่านไปอีกยาวนานหลายปีหรือหลายสิบปี ประชาคมระหว่างประเทศจึงพิจารณาเห็นว่า ระเบิดลูกปรายเป็นอาวุธที่ส่งผลกระทบด้านมนุษยธรรมสูง   กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า…

พิพิธภัณฑ์ในฟลอริดาใช้กล้อง AI ตรวจจับคนร้ายที่มาพร้อมอาวุธ

Loading

    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฟรอสต์ในนครฟลอริดา รัฐไมอามี สหรัฐอเมริกา ใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่ควบคุมกล้องวงจรปิดในการระบุตัวคนร้ายที่มาพร้อมอาวุธ   BeMotion เป็นบริษัทที่พัฒนาระบบนี้ขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันที่มีชื่อว่า Law Enforcement Network (LEN) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการตรวจจับอาวุธและการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย   หากกล้องตรวจพบผู้ที่ถือปืนก็จะมีการแจ้งเตือนให้ผู้ที่เดินเยี่ยมชมและเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ทั้งหมดรับรู้ พร้อมทั้งระบุพิกัดที่คนร้ายอยู่ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยังสามารถแยกแยะคนร้ายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ด้วย   ผู้บริหารของ BeMotion เชื่อว่าการให้ปัญญาประดิษฐ์ทำงานในการดูกล้องวงจรปิดจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้มนุษย์ โดยยกตัวอย่างของเหตุการณ์กราดยิงในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่เมื่อนำระบบไปลองใช้แล้วพบว่าสามารถระบุตัวคนร้ายได้ในทันทีที่เข้าสู่โรงเรียน   นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการใช้ระบบกล้องปัญญาประดิษฐ์ในพื้นที่อื่น ๆ อย่างเขตการศึกษาเฮอร์นันโด เมืองบรูกส์วิลล์ ของรัฐฟลอริดาที่ใช้ระบบของ Zero Eyes ที่มุ่งแจ้งเตือนให้ตำรวจรู้ถึงการบุกรุกก่อนที่จะเกิดเหตุร้ายขึ้น   BeMotion เผยว่าหากนำระบบของบริษัทไปใช้ในเขตการศึกษา ก็จะมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นที่ราว 40 – 70 เหรียญ (ราว 1,500 – 2,500 บาท) ต่อนักเรียน 1 คนต่อปี   อย่างไรก็ดี องค์กรที่ใช้ระบบเหล่านี้เพื่อเสริมมาตรการความปลอดภัยที่มีอยู่แล้วเท่านั้น  …

โลกยินดี! สหรัฐทำลายอาวุธเคมีคลังแสงสุดท้าย

Loading

    ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศ สหรัฐทำลายคลังแสงอาวุธเคมีที่สั่งสมมาหลายสิบปีหมดสิ้นแล้ว ถือเป็นหมุดหมายสำคัญว่าได้กำจัดอาวุธเคมีทั่วโลกตามที่สำแดงไว้หมดแล้ว   Key points:   สหรัฐทำลายอาวุธเคมีคลังแสงสุดท้ายเกือบ 500 ตันเสร็จสิ้นแล้ว   คลังแสงอาวุธเคมีทั่วโลกตามที่สำแดงไว้ถูกทำลายลงอย่างถาวร   ไบเดนวอน 4 ชาติปฏิบัติตาม ได้แก่ อียิปต์ อิสราเอล เกาหลีเหนือ และซูดานใต้   4 ชาติต้องสงสัยมีคลังแสง ไม่สำแดง ได้แก่ เมียนมา อิหร่าน รัสเซีย และซีเรีย   สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แถลงเมื่อวันศุกร์ (7 ก.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น   “วันนี้ ผมภาคภูมิใจที่จะประกาศว่า สหรัฐทำลายอาวุธชุดสุดท้ายในคลังแสงได้อย่างปลอดภัย ทำให้เราเข้าใกล้โลกที่ปราศจากความกลัวอาวุธเคมีได้อีกระดับหนึ่ง” ไบเดนกล่าวและว่า นี่เป็นครั้งแรกที่”อาวุธทำลายล้างสูงที่ได้ประกาศไว้” ได้รับการยืนยันว่าถูกทำลายลงทั้งหมด”   สหรัฐเป็นประเทศผู้ลงนามอนุสัญญาอาวุธเคมีรายสุดท้าย ที่เสร็จสิ้นภารกิจทำลายล้างคลังแสง “ตามที่สำแดง” อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้ในปี…

เร่งตรวจสอบ ‘ภาพ-บันทึกคนเข้า’ ไขปริศนา ‘โคเคน’ ในทำเนียบขาว

Loading

    หน่วยสืบราชการลับกำลังเร่งสอบสวนเพื่อไขปริศนาว่าใครคือเจ้าของโคเคนที่พบในเวสต์วิง ของทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่กำลังเร่งตรวจสอบภาพจากกล้องต่าง ๆ รวมถึงบันทึกของผู้เดินทางเข้ามาในทำเนียบขาวด้วย   แหล่งข่าวที่ทราบข้อมูลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระบุว่า โคเคนเหล่านี้ถูกพบอยู่ในหลุมเล็ก ๆ บริเวณทางเข้าเวสต์วิง ซึ่งผู้มาเยี่ยมชมจะวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งของอื่น ๆ ก่อนที่จะไปเข้าร่วมทัวร์รับชมทำเนียบขาว   หน่วยสืบราชการลับกำลังตรวจสอบทั้งบันทึกรายชื่อผู้เข้าชม และไล่ดูภาพจากกล้องต่าง ๆ และยังมีการตรวจสอบอื่น ๆ เพื่อยืนยันข้อมูลให้ถูกต้องที่สุดด้วย   คารีน ฌอง-ปิแอร์ โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า จุดที่พบมันเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนเดินผ่านไปมาค่อนข้างหนาแน่น และยังเป็นจุดที่ผู้ที่เดินทางมาเยี่ยมชมเวสต์วิงจะต้องเดินผ่าน   เมื่อสอบถามว่ามีใครที่ถูกตรวจหายาเสพติดตกค้างหรือไม่ ฌอง-ปิแอร์กล่าวว่า เราจะดำเนินการใด ๆ ก็ตามที่เหมาะสมและตามเหตุผลอันสมควร โดยขอให้รอผลการตรวจสอบจากหน่วยสืบราชการลับต่อไป   ทั้งนี้ ในสหรัฐ การมีโคเคนซึ่งเป็นยาเสพติดที่ถูกบรรจุไว้ในตารางที่ 2 ในพระราชบัญญัติควบคุมยาเสพติดของสหรัฐอยู่ในความครอบครอง ถือเป็นความผิดทางอาญาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.           —————————————————————————————————————————————— ที่มา…

เพนตากอนเตรียมคุมเข้ม-ยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัย หลังเอกสารลับรั่วไหล

Loading

    กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา หรือ ‘เพนตากอน’ เตรียมคุมเข้มและยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัย หลังเอกสารลับทางการสหรัฐฯ รั่วไหลครั้งใหญ่   ทางการสหรัฐฯ จึงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมระดับการเข้าถึงข้อมูลลับสุดยอด รวมถึงติดตั้งระบบตรวจจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อติดตามการเผยแพร่ไฟล์ลับผ่านช่องทางออนไลน์โดยไม่ได้รับอนุญาต เบื้องต้น แจ็ก เตเซรา อดีตนักบินวัยเพียง 21 ปี ถูกตั้งข้อหาเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเขายังคงให้การปฏิเสธ   เพนตากอนได้รับคำสั่งจาก ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ คนปัจจุบัน ให้ทบทวนนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของตนเป็นระยะเวลา 45 วัน หลังเกิดเหตุข้อมูลลับรั่วไหลครั้งใหญ่ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเพิ่มการกำกับดูแลผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลลับด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ให้มากยิ่งขึ้น   ด้านเจ้าหน้าที่อาวุโสประจำกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เผยว่า ระบบรักษาความปลอดภัยของเพนตากอนมีปัญหาในการก้าวให้ทันกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนบุคลากรที่ผ่านการตรวจสอบและจำนวนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งหลายที่สามารถเข้าถึงข้อมูลลับระดับต่าง ๆ ได้ แม้ว่านโยบายที่มีอยู่บางส่วนจะได้รับการเสริมความแข็งแกร่ง แต่นโยบายของเพนตากอนก็ถือว่ายังมีช่องโหว่อยู่บ้าง และรอการปรับปรุงแก้ไขให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น   ขณะนี้ เตเซรายังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี หลังจากที่เขาถูกจับกุมตัวเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานเผยแพร่เอกสารลับของทางการสหรัฐฯ บนแพลตฟอร์มห้องแชตออนไลน์อย่าง Discord ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่เกมเมอร์ทั้งหลาย   อัยการในคดีนี้เปิดเผยว่า เตเซราได้เผยแพร่ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ…