หวั่น ‘อ่าวไทย’ จุดเผชิญหน้าใหม่ ‘สหรัฐ-จีน’

Loading

เดเร็ก กรอสแมน นักวิเคราะห์การทหารอาวุโสจากกลุ่มคลังสมองแรนด์คอร์ปในซานตา โมนิกา แคลิฟอร์เนีย เขียนบทความเผยแพร่ทางเว็บไซต์นิกเคอิเอเชีย มองว่าการที่รัฐบาลปักกิ่งสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานในกัมพูชาอาจเปลี่ยนแปลงสมดุลอำนาจในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก

จีนโชว์หุ่นยนต์ ‘สุนัขสงคราม’ เปิดฉากซ้อมรบ Golden Dragon วันแรกในกัมพูชา

Loading

กองทัพจีนโชว์หุ่นยนต์สุนัขสงครามติดปืนกลในวันแรกของการซ้อมรบร่วมครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมากับกองทัพกัมพูชาในวันนี้ (16) ท่ามกลางความวิตกกังวลของสหรัฐฯ เกี่ยวกับอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของปักกิ่ง

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาอยู่ตรงไหน

Loading

  ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เยือนไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2024 โดยวาระสำคัญคือการหารือกับ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาที่เป็นปัญหาคาราคาซังมากว่า 50 ปี   ปมปัญหาจากข้อพิพาทนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยเมื่อปี 2515 ก่อนที่ไทยจะประกาศในปี 2516 ซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ขีดเส้นล้ำเข้ามาทับเส้นของอีกฝ่าย ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันกว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น จึงส่งผลต่อสิทธิสัมปทานที่ทั้งไทยกับกัมพูชาได้ให้กับบริษัทเอกชนด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงทำให้ยังไม่มีใครสามารถเข้าไปดำเนินกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้   เนื้อที่ทางทะเลที่มีข้อพิพาทนี้มีการประเมินกันว่า มีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ไม่แพ้แหล่งในอ่าวไทย หากเจรจาสำเร็จ ไทยจะสามารถจัดหาแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูก หรือสามารถนำมาช่วยทดแทนปริมาณก๊าซในอ่าวไทยได้ในอนาคตอีกด้วย     ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย บทความโดย  ปัทมาสน์ ชนะรัชชรักษ์       ——————————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

ถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น สู่ ‘ไทย’ ที่ยังมีโอกาสเกิดสึนามิ

Loading

  นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เตือนไทยประมาทไม่ได้ พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน ยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547 แนะซักซ้อมเหตุการณ์เป็นระยะ ตรวจสอบระบบเตือนภัยให้อยู่ในสภาพให้ใช้งานได้ดีตลอดเวลา   ศ.อมร พิมานมาศ นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ   ศ.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เปิดเผยว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากและอยู่ในระดับตื้นมาก เพียง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 1.2 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเมืองวาจิมะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งผลของแผ่นดินไหวดังกล่าวจะยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายวัน อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากประเทศไทย 4,000-5,000 กิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย   “ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวโตโฮคุขนาด 9.0-9.1 นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะในเขตโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีความสูงถึง 40 เมตร พัดเข้าชายฝั่งจังหวัดเซ็นได…