วิเคราะห์ความปลอดภัยสำหรับฮิโรชิมาเมืองเจ้าภาพจัดประชุม G7

Loading

    เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางมาของผู้นำและบุคคลสำคัญระดับโลกในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ชาติหรือ G7 ในเดือนพฤษภาคม ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้มาเยือนรวมถึงผู้คนในท้องถิ่น อาริมะ มาโมรุจาก NHK World พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความเสี่ยงได้ไปสำรวจดูว่า มีมาตรการด้านความปลอดภัยอะไรบ้าง   อิตาบาชิ อิซาโอะ หัวหน้านักวิเคราะห์จากสภานโยบายสาธารณะแห่งประเทศญี่ปุ่น ศึกษาการต่อต้านการก่อการร้ายและการจัดการวิกฤต เขาให้คำแนะนำแก่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและองค์กรเอกชน และเคยมีส่วนร่วมในงานขนาดใหญ่ รวมถึงการประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 ที่อิเสะ-ชิมะเมื่อปี 2559 และโตเกียวโอลิมปิก   การประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 ปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 19-21 พฤษภาคมที่โรงแรม Grand Prince ฮิโรชิมาซึ่งเป็นจุดเริ่มของการสำรวจ   สถานที่ประชุมตั้งอยู่บนเกาะ เช่นเดียวกับการประชุมสุดยอดที่อิเสะ-ชิมะ อิตาบาชิกล่าวว่า นั่นเป็นข้อได้เปรียบด้านความปลอดภัย เนื่องจากการเป็นเกาะทำให้มีทางเข้าจำกัด   ลาดตระเวนริมทะเล   อิตาบาชิกล่าวว่า การรักษาความปลอดภัยทางทะเลมีความสำคัญมากกว่าตอนที่จัดที่อิเสะ-ชิมะ เนื่องจากสถานที่ประชุมอยู่ใกล้ทะเลเปิดมากกว่า   อิตาบาชิอธิบายว่า “หน่วยตำรวจน้ำจะใช้เจ็ตสกีลาดตระเวนในพื้นที่ประชิดกับที่ประชุม และหน่วยยามฝั่งของญี่ปุ่นจะป้องกันพื้นที่รอบนอก”   พื้นที่ที่เป็นภูเขา   ภูมิประเทศของอูจินาจิมะซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งของสถานที่ประชุมยังได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ…

ญี่ปุ่นยกระดับความปลอดภัยประชุมผู้นำ G7 หลังเหตุโจมตีนายกฯ เดือนที่แล้ว

Loading

  ญี่ปุ่นยกระดับคุมเข้มมาตรการรักษาความปลอดภัย สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำ G7 ครั้งที่ 49 ที่เมืองฮิโรชิมา ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคมนี้   โดยการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวดดังกล่าวถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลญี่ปุ่น หลังจากที่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาเกิดเหตุลอบทำร้ายนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ด้วยระเบิดควัน และก่อนหน้านั้นในปี 2022 เกิดกรณีคนร้ายลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ   เบื้องต้นมีรายงานว่าทางการญี่ปุ่นได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 24,000 นายจากทั่วประเทศ เพื่อดูแลความปลอดภัยรอบสถานที่จัดประชุม และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ภายในเมือง ขณะที่มีการลาดตระเวนตรวจสอบความเรียบร้อยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งติดป้ายแจ้งประชาชนและนักท่องเที่ยวถึงมาตรการต่าง ๆ เช่น การปิดถนน ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายและยากลำบากแก่ประชาชน   นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ขยายมาตรการความปลอดภัยไปยังเมืองใหญ่อื่น ๆ รวมถึงกรุงโตเกียว ในช่วงการประชุม โดยมีการส่งข้อความบนระบบรถไฟ แจ้งเตือนประชาชนถึงการปรับเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และยกเลิกให้บริการตู้ล็อกเกอร์หยอดเหรียญในสถานีรถไฟต่างๆ ตลอดจนระงับใช้งานเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติที่ตั้งอยู่บนชานชาลารถไฟใต้ดิน         ภาพ: Philip Fong / AFP   อ้างอิง: https://www.channelnewsasia.com/asia/japan-ramps-g7-security-fumio-kishida-attack-hiroshima-3494321…

ชาวเมืองฮิโรชิมาประท้วงต่อต้านการประชุมสุดยอด G7 เชื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

Loading

    ชาวญี่ปุ่นหลายร้อยคนเดินขบวนตามท้องถนนในเมืองฮิโรชิมาเมื่อวันเสาร์ (13 พ.ค.) เพื่อต่อต้านการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G7 ที่กำลังจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์นี้   ชาวเมืองฮิโรชิมาราว 200 คนได้เดินขบวนถือป้ายที่มีข้อความว่า “ไม่เอา G7” และ “ไม่เอาสงคราม” ในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสถานที่จัดการประชุมครั้งสำคัญนี้   นายชิเงโอะ คิโมโตะ ผู้อำนวยการกลุ่มพีซ ดีโป (Peace Depot) กล่าวว่า การร่วมซ้อมรบของประเทศสมาชิก G7 ในภูมิภาคแปซิฟิก และการที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า “สถานการณ์ฉุกเฉินของไต้หวันก็คือสถานการณ์ฉุกเฉินของญี่ปุ่น” นั้น “ไร้เหตุผลและอันตรายมาก”   นายโทชิยูกิ ทานากะ นักประวัติศาสตร์และศาสตราจารย์กิตติคุณจากมหาวิทยาลัยเมืองฮิโรชิมา กล่าวว่า “ญี่ปุ่นกำลังใช้เมืองฮิโรชิมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองด้วยการจัดการประชุมสุดยอด G7 ถึงเวลาที่ชาวเมืองฮิโรชิมาต้องตื่นรู้ได้แล้ว   สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การประท้วงจัดขึ้นโดยคณะกรรมการบริหารของกลุ่มพลเมืองผู้กังขาการประชุมสุดยอด G7 ที่ฮิโรชิมา (Citizen’s Group Questioning the G7 Summit in Hiroshima)…

อาวุธชีวภาพญี่ปุ่น สารพิษตกค้างสงครามโลก ที่คนในชาติเองก็ยังทนทรมาน

Loading

ภาพที่แสดงคนงานกำลังกำจัดก๊าซพิษที่โรงงานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเกาะโอคุโนะชิมะ ฮิโรชิมา ทางตะวันตกของญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1946 (ภาพเกียวโด)   เกียวโดนิวส์ (2 ก.ย.) – เมื่อเร็วๆ นี้ ญี่ปุ่นและจีนได้ฉลองครบรอบ 50 ปีของการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูต แต่ร่องรอยของอาวุธก๊าซพิษประมาณ 7.46 ล้านชิ้น ที่ผลิตขึ้นระหว่างสงครามระหว่างปี 1937 ถึง 1945 ยังคงอยู่ทิ้งแผลเป็นในผู้คนทั้ง 2 ประเทศ   อาวุธบางชิ้นที่ถูกทิ้ง หรือกำจัดทิ้งเมื่อสิ้นสุดสงครามจีน-ญี่ปุ่น ยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่   “ผมป่วยเพราะน้ำปนเปื้อน ผมอยากตาย” ริวจิ โอทสึกะ อายุ 21 ปี ชาวคามิสึซึ่งอยู่ห่างจากโตเกียวไปทางตะวันออกราว 100 กิโลเมตร กรีดร้องขณะถือมีด เดินไปมาในบ้านเมื่อเดือนกันยายน 2564   เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจรีบรุดมาถึงบ้านหลังจากได้รับโทรศัพท์จากมิยูกิ แม่ของริวจิ   คุณแม่วัย 45 ปี รายนี้กล่าวว่า อาการคลุ้มดีร้ายนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จากสภาพความเป็นจริงที่เขาเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน   ริวจิ…