สังคมโลก : การทูตเรือดำน้ำ

Loading

แนวคิดที่เรียกว่า “การทูตเครื่องบินทิ้งระเบิด” ซึ่งสหรัฐใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ บี-52 กับ บี-1 ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ พร้อมกับส่งข้อความเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการป้องปราม ไปยังจีนและเกาหลีเหนือ หรือรัสเซีย ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรของสหรัฐ   แม้การป้องปราม หรือการสร้างความมั่นใจ จะทำได้โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด แต่ดูเหมือนตอนนี้ เรือดำน้ำนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีพลังงานนิวเคลียร์ (เอสเอสบีเอ็น) กำลังเข้าสู่ภารกิจเดียวกัน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น “การทูตเรือดำน้ำ”   เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา สหรัฐกับเกาหลีใต้ร่วมลงนามในเอกสารฉบับใหม่ที่เรียกว่า “ปฏิญญาวอชิงตัน” ซึ่งสหรัฐให้คำมั่นที่จะยกระดับการมองเห็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ในคาบสมุทรเกาหลีให้มากขึ้น ตลอดจนขยายและกระชับความร่วมมือระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น   นอกเหนือจากการตัดสินใจก่อตั้งหน่วยงานใหม่ระหว่างสองประเทศตามปฏิญญาวอชิงตัน ซึ่งเรียกว่า “กลไกความร่วมมือที่ปรึกษานิวเคลียร์” (เอ็นซีจี) แนวคิดของการส่งเอสเอสบีเอ็นไปเทียบท่าในเกาหลีใต้ ถูกมองว่าเป็นมาตรการสร้างความมั่นใจใหม่ที่รัฐบาลโซลได้รับจากสหรัฐ โดยแลกกับการที่เกาหลีใต้ต้องยึดมั่นและปฏิบัติตามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (เอ็นพีที)   อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่เสียทีเดียว เนื่องจากมันเคยปรากฏในรายงาน การทบทวนสถานการณ์นิวเคลียร์ (เอ็นพีอาร์) เมื่อเดือน ต.ค. 2565 ว่าสหรัฐจะทำงานร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วน เพื่อหาโอกาสในการเพิ่มการมองเห็นของทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจอันแน่วแน่ของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น การเทียบท่าของเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนำวิถี…

หยามกันเห็น ๆ ! กองทัพเกาหลีใต้เผยดาวเทียมสอดแนมโสมแดง ‘ไม่มีประโยชน์’ ในด้านการทหาร

Loading

    กองทัพเกาหลีใต้แถลงวันนี้ (5 ก.ค.) ว่าสามารถเก็บกู้ซาก “ดาวเทียมสอดแนม” ที่เกาหลีเหนือยิงล้มเหลวและตกลงสู่ทะเลเมื่อเดือน พ.ค.ได้แล้ว โดยเบื้องต้นพบว่ามันไม่สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการทหารได้อย่างมีนัยสำคัญ   กองทัพเกาหลีใต้ได้ส่งทั้งเครื่องบิน เรือ และนักประดาน้ำออกไปเก็บกู้ชิ้นส่วนจรวดของเกาหลีเหนือ ภายหลังปฏิบัติการปล่อยดาวเทียมที่ล้มเหลวเมื่อวันที่ 31 พ.ค.   “จากการวิเคราะห์ชิ้นส่วนหลัก ๆ ของยานขนส่งอวกาศและดาวเทียมที่เราเก็บกู้ขึ้นมาได้ ผู้เชี่ยวชาญของเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ประเมินว่า มันไม่มีประโยชน์ในด้านการสอดแนมทางทหารเลยแม้แต่นิดเดียว” กองทัพโสมขาวระบุ พร้อมประกาศยุติการค้นหาซากจรวดและดาวเทียมโสมแดงลงในวันนี้ (5)   ผู้เชี่ยวชาญของกองทัพเกาหลีใต้ยอมรับว่า นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาสามารถเข้าถึงดาวเทียมที่เกาหลีเหนือพยายามปล่อยสู่วงโคจรในอวกาศ   ลี ชุนกึน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลีใต้ ระบุว่า จากการประเมินในเบื้องต้นพบว่าดาวเทียมโสมแดงมีศักยภาพในด้านของความแม่นยำและการติดตามเป้าหมายต่ำมาก   ยาง อุก นักวิจัยจากสถาบันนโยบายศึกษาอาซานในกรุงโซล ชี้ว่า “ความแม่นยำของอุปกรณ์ทัศนศาสตร์ที่ติดตั้งบนดาวเทียมดวงนี้ไม่เหมาะสำหรับใช้งานด้านการทหารเลย”   กองทัพเกาหลีใต้พยายามติดตามเส้นทางของจรวดเกาหลีเหนือ และไปพบซากชิ้นส่วนทรงกระบอกขนาดใหญ่ลอยอยู่ในทะเลเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่มันถูกปล่อยออกจากฐานยิง   ชิ้นส่วนดังกล่าวได้จมลงสู่ก้นทะเล และถูกเก็บกู้ขึ้นมาได้ในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา   รัฐบาลเกาหลีเหนือออกมาแถลงยอมรับตรง ๆ ว่าภารกิจส่งดาวเทียมไม่สำเร็จตามที่หวัง และถือเป็น…

ข่าวกรองโสมขาวเผย! แฮ็กเกอร์โสมแดงปลอมเว็บดัง ‘Naver’ ล้วงบัญชีผู้ใช้-รหัสผ่านปชช.

Loading

    สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน สำนักข่าวกรองแห่งชาติเกาหลีใต้กล่าวว่า เกาหลีเหนือได้สร้างเว็บไซต์ Naver หรือเว็บพอร์ทัลอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ เวอร์ชั่นปลอมขึ้นมา ในแผนการฟิชชิง (Phishing) หรือการหลอกลวงทางออนไลน์ที่แยบยลเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล   สำนักข่าวกรองแห่งชาติเกาหลีใต้ กล่าวว่า เปียงยางได้สร้างเว็บไซต์ฟิชชิงที่ลอกเลียนแบบหน้าหลักของเว็บไซต์ Naver ที่มีทั้งการอัปเดตข่าวแบบเรียลไทม์ การลงทุน และข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ และกล่าวว่า เว็บไซต์ naverportal.com ถูกออกแบบมาเพื่อแฮ็กข้อมูลส่วนตัว อย่างชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของชาวเกาหลีใต้   “เนื่องจากเกาหลีเหนือใช้วิธีการแฮ็กข้อมูลของประชาชนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น พวกเราจึงขอให้ประชาชนระมัดระวังเป็นพิเศษ” สำนักข่าวกรองแห่งชาติเกาหลีใต้กล่าว และว่า “โปรดหยุดการเชื่อมต่อทันทีหากพบหน้าเว็บไซต์ที่ไม่ใช่ URL ของโดเมน Naver มาตรฐาน”   โดยก่อนหน้านี้ เกาหลีเหนือพยายามขโมยข้อมูลบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของเกาหลีใต้โดยการลอกเลียนแบบหน้าเข้าสู่ระบบ (Log-in) ของ Naver แต่การสร้างเว็บไซต์พอร์ทัลปลอมถือเป็นวิธีการใหม่   ด้าน Naver ได้ออกมาเตือนผู้ใช้ให้ยังคงมีความระมัดระวังต่อไป และว่า “เราขอให้ผู้ใช้ตรวจสอบว่าที่อยู่ URL นั้นถูกต้องหรือไม่ และระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเข้าเว็บไซต์ Naver”  …

จะลอกอะไรขนาดนั้น! อดีตผู้บริหารซัมซุงโดนฟ้องฐาน “ขโมยข้อมูลภายใน” ช่วย “ปักกิ่ง” ตั้ง รง.ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในซีอาน “แบบลอกมาทั้งหลัง” จากพิมพ์เขียวให้เหมือนเป๊ะ

Loading

    เอเจนซีส์/เอพี – อดีตผู้บริหารของซัมซุงวานนี้ (12 มิ.ย.) ถูกอัยการเกาหลีใต้สั่งฟ้องดำเนินคดีฐานแอบขโมยความลับบริษัทเพื่อช่วยเหลือคู่แข่งในจีนตั้งโรงงานผลิตไมโครชิปที่ลอกเลียนแบบให้เหมือน 100% เพื่อตั้งขึ้นใหม่ในเมืองซีอานของจีน ส่งผลทำให้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ตกอยู่ในความเสี่ยง   CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานวานนี้ (12 มิ.ย.) ว่า สำนักงานอัยการเขต Suwon ของเกาหลีใต้ในวันจันทร์ (12) กล่าวผ่านแถลงการณ์การส่งฟ้องอดีตผู้บริหารซัมซุงวัย 65 ปี นั้นกระทำความผิดในการขโมยความลับภายในออกไปเพื่อช่วยเหลือคู่แข่ง และเป็นภัยต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมไมโครชิประดับโลก   ในคำแถลงฟ้องดำเนินคดีไม่มีการระบุชื่อผู้กระทำผิด โดยเป็นการกระทำผิดจากการแอบใช้ข้อมูลทางวิศวกรรมจากโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของบริษัทอย่างผิดกฎหมาย รวมไปถึงพิมพ์เขียวฟลอร์แพลนซึ่งอธิบายกระบวนการผลิตสำคัญที่เป็นหัวใจและภาพร่างการออกแบบ   อดีตผู้บริหารที่ถูกฟ้องพบว่าแอบใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ขโมยมาในการสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่เหมือนราวกับแกะ ตั้งอยู่ที่เมืองซีอาน ของจีน ห่างจากโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ซัมซุงไปแค่ 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น   เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า การขโมยความลับโรงงานซัมซุงนี้เป็นฝีมือของผู้กระทำผิดที่ทำงานให้บริษัทที่มีฐานอยู่ในจีน ซึ่งมูลค่าความเสียหายต่อบริษัทซัมซุงเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 300 พันล้านวอน (233 ล้านดอลลาร์) อัยการเกาหลีใต้กล่าว   รอยเตอร์กล่าวว่า ผู้กระทำผิดปฏิเสธไม่ได้กระทำความผิดใดๆ และผู้กระทำผิดขึ้นชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้มีประสบการณ์ยาวนานในด้านการผลิตไมโครชิปที่เกาหลีใต้มานานร่วม 28 ปี ตามคำฟ้องพบว่าเคยมีประวัติทำงานกับบริษัท A…

สหรัฐ-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ตั้งเป้าแบ่งปันข้อมูลแจ้งเตือนขีปนาวุธเกาหลีเหนือ

Loading

(จากซ้ายไปขวา) ใบหน้าของประธานาธิบดีเกาหลีใต้, ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น บนป้ายประท้วงที่มีเนื้อหาต่อต้านการจับมือเป็นพันธมิตรไตรภาคี (Photo by ANTHONY WALLACE / AFP)   สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตั้งเป้าที่จะแบ่งปันข้อมูลการแจ้งเตือนขีปนาวุธเกาหลีเหนือก่อนสิ้นปี 2566 โดยทั้งสามประเทศระบุในถ้อยแถลงหลังการประชุมสุดยอดผู้นำกลาโหมในสิงคโปร์   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แถลงร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือในการตอบสนองต่อขีปนาวุธเกาหลีเหนือ   พันธมิตรทางทหารทั้งสามชาติประกาศจะแบ่งปันข้อมูลการแจ้งเตือนขีปนาวุธของเกาหลีเหนือระหว่างกัน ก่อนสิ้นสุดปี 2566   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังความพยายามของเกาหลีเหนือที่จะปล่อยดาวเทียมสอดแนมขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อต้นสัปดาห์ แต่จบลงด้วยความล้มเหลวหลังจากจรวดขัดข้องและร่วงสู่ทะเล   แถลงการณ์ร่วมของสามชาติระบุว่า พันธมิตรไตรภาคีจะร่วมใช้กลไกการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลการเตือนขีปนาวุธแบบเรียลไทม์ก่อนสิ้นปี เพื่อปรับปรุงความสามารถของแต่ละประเทศในการตรวจจับและประเมินขีปนาวุธที่ยิงโดยเกาหลีเหนือ   ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ, ยาสุคาซู ฮามาดะ รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น และลี จงซ็อบ รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ ได้หารือร่วมกันนอกรอบการประชุมสุดยอดความมั่นคงเอเชีย หรือแชงกรีล่า ไดอะล็อก (Shangri-La Dialogue:…

‘ญี่ปุ่น-โซล’ เตือนภัยวุ่น เกาหลีเหนือปล่อยดาวเทียมสอดแนม ก่อนพังร่วงตกทะเล

Loading

Kyodo News via AP   ‘ญี่ปุ่น-โซล’ เตือนภัยวุ่น เกาหลีเหนือปล่อยดาวเทียมสอดแนม ก่อนพังร่วงตกทะเล   เกาหลีเหนือได้ปล่อวจรวดส่งดาวเทียมสอดแนมขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อช่วงเช้าวันที่ 31 มิถุนายน หลังจากที่ได้มีการแจ้งเตือนก่อนหน้านี้ถึงปฏิบัติการดังกล่าว ก่อนที่จะจบลงด้วยความล้มเหลว ทำให้จรวดตกลงสู่ท้องทะเลในเวลาต่อมา พร้อมประกาศว่าจะทำการทดสอบครั้งที่ 2 โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้   สำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (เคซีเอ็นเอ) รายงานในเวลาต่อมาว่า จรวจส่งดาวเทียม “ชอลลีมา-1” ประสบความล้มเหลว เนื่องจากเครื่องยนต์และระบบเชื้อเพลิงไม่เสถียร ทำให้จรวดขั้นที่ 2 ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เครื่องส่งกำลังและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่บรรทุกขึ้นไปกับจรวดตกสู่ท้องทะเล   ทั้งนี้ ถือเป็นความพยายามครั้งที่ 6 ของเกาหลีเหนือที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้ความพยายามที่จะส่งดาวเทียมสอดแนมทางทหารดวงแรกของเกาเหลือเหนือขึ้นสู่ห้วงอวกาศ   การปล่อยจรวดดังกล่าวของเกาหลีเหนือยังสร้างความปั่นป่วนให้กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยในกรุงโซล เสียงไซเรนเตือนภัยทางอากาศดังขึ้นทั่วเมืองในเวลาประมาณ 06.32 น. วันนี้ พร้อมกับมีการเตือนให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับการอพยพที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะมีการแจ้งในอีก 20 นาทีต่อมาว่า การเตือนครั้งแรกนั้นเป็นความผิดพลาด   ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นออกคำเตือนฉุกเฉิน…