หน่วยความมั่นคงสหรัฐฯ ซื้อข้อมูลส่วนตัวของประชาชนโดยไม่มีหมาย

Loading

สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) ระบุว่าทางหน่วยงานซื้อข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตของชาวอเมริกันจากผู้ค้าข้อมูลโดยไม่มีหมายศาล NSA ชี้ว่าข้อมูลที่ว่านี้มีความสำคัญอย่างมากกับภารกิจในด้านความมั่นคงแห่งชาติและความมั่นคงไซเบอร์ โดยมีการใช้ข้อมูลค่อนข้างระมัดระวัง

วิจัยเผยข้อมูลผู้ใช้ Facebook 1 คนอาจอยู่ในมือของเกือบ 50,000 บริษัท

Loading

ผลการศึกษาจาก Consumer Reports เผยว่า Facebook ได้ข้อมูลของผู้ใช้งาน 1 คนจากบริษัทมากกว่า 2,000 บริษัท นักวิจัยของ Consumer Reports ชี้ว่า Facebook ได้รับข้อมูลผู้ใช้งาน 1 คน โดยเฉลี่ยคนละ 2,230 บริษัท โดยศึกษาจากอาสาสมัคร 709 คน

“เอ็กซ์” จ่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล, ประวัติการทำงาน และการศึกษาของผู้ใช้งาน

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เอ็กซ์” (X) หรือชื่อเดิมทวิตเตอร์ ได้ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเภทใหม่ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ใช้พิสูจน์ตัวตนบุคคล   เอ็กซ์ระบุในนโยบายที่ปรับปรุงใหม่ว่า “เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน เราอาจเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคุณเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการระบุตัวตน” แม้เอ็กซ์ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล แต่บริษัทอื่นมักใช้คำดังนี้เพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ดึงมาจากลักษณะใบหน้า ดวงตา และลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล   นอกจากนี้ เอ็กซ์กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีความตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและประวัติการศึกษาของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน   นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่า “เราอาจเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา งานที่ชอบ ทักษะและความสามารถ กิจกรรมการค้นหางานและการมีส่วนร่วม และอื่น ๆ เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสำหรับคุณ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลกับผู้ที่อาจมาเป็นนายจ้างของคุณ เพื่อที่นายจ้างจะสามารถค้นหาผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องแก่คุณมากขึ้น”   ทั้งนี้ บรรดาบริษัทโซเชียลมีเดียต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและวิธีการที่นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการขายโฆษณาที่มีการปรับให้เหมาะกับความสนใจของบุคคลและประวัติการค้นหา       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …

เท็กซัสฟ้อง Google เก็บข้อมูล Biometric ทั้งใบหน้าและเสียงโดยขอความยินยอมไม่ครบถ้วน

Loading

  เท็กซัสฟ้อง Google เก็บข้อมูล Biometric ทั้งใบหน้าและเสียงโดยขอความยินยอมไม่ครบถ้วน   Ken Paxton อัยการสูงสุดรัฐเท็กซัสยื่นฟ้อง Google กล่าวหาว่าบริษัทละเมิดกฎหมายรัฐโดยการเก็บข้อมูลชีวมิติ (biometric) ซึ่งนับเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวที่ต้องขออนุญาตผู้ใช้แยกจากการขอข้อมูลส่วนบุคคลปกติ   คำฟ้องระบุว่า Google ใช้ฟีเจอร์ใน Google Photos, Google Assistant และผลิตภัณฑ์กลุ่ม Nest เพื่อเก็บข้อมูลใบหน้าและการจดจำเสียงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อย่างครบถ้วน และยังนำข้อมูลไปใช้สำหรับจุดประสงค์ทางการค้า เช่น การพัฒนาอัลกอริธึมของปัญญาประดิษฐ์หรือการขายพื้นที่จัดเก็บข้อมูล   คำฟ้องกล่าวว่า การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดกฎหมาย Capture or Use of Biometric Identifier Act ที่ควบคุมการเก็บข้อมูลชีวมิติ ได้แก่ การสแกนม่านตา, ลายนิ้วมือ, ลักษณะเสียง (voiceprint), ภาพมือหรือใบหน้า โดยองค์กรที่จะเก็บข้อมูลต้องแจ้งผูใช้ และต้องทำลายข้อมูลเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง   ทางฝั่ง Google ออกมาโต้แย้งว่า Google Photos เป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้จัดการรูปภาพได้ง่ายขึ้น และผู้ใช้สามารถปิดการใช้งานได้ง่าย…

รายงานเผย Facebook และ Instagram เก็บข้อมูลผู้ใช้มากที่สุดในบรรดาแอปโซเชียล

Loading

    Tech Shielder เว็บที่เก็บข้อมูลและวิจัยด้านความปลอดภัย เปิดเผยรายงาน Hack Hotspots ที่รายงานการเก็บข้อมูลของแอปโซเชียลและบันเทิง ที่ได้รับความนิยม รวมถึงแนวโน้มของปริมาณความสนใจในการแฮกแอปเหล่านี้   รายงานเผยว่าแอปในกลุ่ม Meta ล้วนมีการเก็บชุดข้อมูลของผู้ใช้ในสัดส่วนที่สูงที่สุด โดย Facebook และ Messenger เก็บชุดข้อมูลถึง 70% ของจำนวนชุดข้อมูลที่สามารถเก็บได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล รองลงมาเป็น Instagram ที่ 67%, Snapchat 59%, WhatsApp และ Twitter เท่ากันที่ 53%   ขณะที่ในแง่แนวโน้มความสนใจในการแฮกแอปเหล่านี้ Tech Shielder สำรวจง่ายๆ จากปริมาณการเสิร์ชบน Google ด้วยคำเช่นว่า ‘Facebook Hacked’ และพบว่า Facebook มีการค้นหามากที่สุดที่เฉลี่ย 500,000 ครั้งต่อเดือน ตามมาห่าง ๆ ด้วย Instagram 246,000 ครั้ง…

Google โดนฟ้องร้องกรณี Chrome ติดตามผู้ใช้งานแม้ในโหมดไม่ระบุตัวตน

Loading

  หลังจาก Apple โดนฟ้องร้องในประเด็นที่ iOS 14 มีการใช้ข้อมูลของเจ้าของเครื่องในการโฆษณาบนอุปกรณ์โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ใช้งานทราบล่วงหน้า ล่าสุด Google ก็โดนฟ้องร้องเพิ่มเติมกรณี Chrome แอบติดตามผู้ใช้งานแม้จะเปิดในโหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito mode) ก็ตาม คดีดังกล่าวถูกยื่นฟ้องร้องตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาโดยโจทก์ทั้งหมด 3 คนกล่าวว่า Google ดึงข้อมูลของผู้ใช้งานผ่าน Google Analytics, Google Ad Manager รวมถึงแอปพลิเคชันอื่น ๆ, ปลั๊กอินของเว็บไซต์ รวมถึงแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้ใช้งานจะกดโฆษณาของ Google Ads หรือไม่ โดยโจทก์อ้างว่า Google หลอกหลวงให้ผู้ใช้งานเชื่อว่าตนมีอำนาจเหนือข้อมูล และยังมีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานแม้กระทั่งในโหมดไม่ระบุตัวตนด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดกฏหมายอย่างชัดเจน โจทก์กล่าวว่า ความเสียหายนี้ครอบคลุมผู้ใช้งานมากถึงหลักล้านคนนับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนของปี 2016 ซึ่งมีการเสนอค่าเสียหายให้ผู้ใช้งานที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้มากถึง 5,000 ดอลลาร์ต่อคนที่มีการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ด้าน Google พยายามหลกเลี่ยงความผิดในคดีนี้โดยการโยนความรับผิดชอบให้ตกเป็นของผู้ใช้งาน โดยกล่าวอ้างว่าผู้ใช้งานได้ยอมรับเงื่อนไขหรือนโยบายของบริษัทซึ่ง Google ระบุว่าในนโยบายนั้นมีการระบุแนวทางการปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวเอาไว้อย่างชัดเจนแล้ว “บริษัทกล่าวอย่างชัดเจนแล้วว่าโหมดไม่ระบุตัวตน ไม่ได้หมายความว่า หายไปเลย…