(ชมคลิป) เขื่อนใหญ่ในเคียร์ซอนแตกน้ำทะลักท่วมเมือง ยูเครน-รัสเซียต่างกล่าวหากันเป็นตัวการระเบิดทำลาย

Loading

    เขื่อนโนวาคาคอฟกา ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ในแคว้นเคียร์ซอนทางภาคใต้ยูเครนที่รัสเซียยึดครองอยู่ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ส่งไปยังคาบสมุทรไครเมียและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหญ่ที่สุดในยุโรป ถูกระเบิดเสียหายยับเยินในวันอังคาร (6 มิ.ย.) ทำให้มวลน้ำมหาศาลทะลักเข้าท่วมเมืองที่อยู่ใกล้เคียง ตลอดจนพื้นที่ซึ่งอยู่ตอนล่างลงมา ประชาชนจำนวนมากต้องเร่งอพยพหลบภัย ทางด้านประมุขยูเครนกล่าวหารัสเซียเป็นผู้ระเบิดเขื่อนจากด้านใน ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมหมีขาวตอบโต้ว่าเคียฟคือตัวการก่อเหตุ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเคลื่อนย้ายกำลังทหารเพื่อปฏิบัติการเล่นงานกองกำลังรัสเซีย       เขื่อนโนวาคาคอฟกา มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับรัสเซีย โดยเป็นแหล่งน้ำหลักซึ่งจัดส่งน้ำให้แก่คาบสมุทรไครเมีย ตลอดจนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาโปริซเซีย ที่เวลานี้ต่างอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหนือเขื่อนนี้ก็เป็นหนึ่งในลักษณะหลักทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคใต้ของยูเครน โดยมีความยาว 240 กิโลเมตร และกว้าง 23 กิโลเมตร   การระเบิดเขื่อนแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำดนิโปร ที่ปัจจุบันกลายเป็นเส้นแบ่งพื้นที่ยึดครองของกองกำลังมอสโกกับของฝ่ายเคียฟ ในบริเวณภาคใต้ของยูเครน ทำให้เกิดภัยพิบัติด้านมนุษยธรรมครั้งใหม่ในจุดศูนย์กลางของเขตสงคราม และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่แนวรบ ขณะที่ยูเครนกำลังเตรียมพร้อมเปิดปฏิบัติการตอบโต้ครั้งใหญ่ที่รอคอยมานานเพื่อชิงดินแดนที่ถูกยึดไปคืนจากรัสเซีย   เขื่อนโนวาคาคอฟกาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียตั้งแต่ช่วงต้นของสงคราม แม้กองทัพยูเครนชิงดินแดนด้านเหนือของแม่น้ำดนิโปรได้ตั้งแต่ปีที่แล้วก็ตาม และต่างฝ่ายกล่าวหากันมาตลอดว่า อีกฝ่ายวางแผนทำลายเขื่อน   ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่เรียกประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติของยูเครน เพื่อหารือเกี่ยวกับ “อาชญากรรมสงคราม” ของรัสเซียครั้งนี้ โพสต์บนแอปเทเลแกรมเมื่อวันอังคารว่า การทำลายเขื่อนโรงไฟฟ้าพลังน้ำคาคอฟกาของผู้ก่อการร้ายรัสเซีย ตอกย้ำว่า รัสเซียจำเป็นต้องถูกขับไล่พ้นจากดินแดนยูเครน   ผู้นำเคียฟอ้างว่า รัสเซียระเบิดโครงสร้างภายในเขื่อน…

แผ่นดินไหว เขื่อนไทยปลอดภัยด้วย ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน

Loading

  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ความตื่นตระหนกของประชาชนที่เป็นห่วงสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ที่อาจจะเกิดการร้าวหรือพังได้ นั่นก็คือ เขื่อนแตก และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบเพื่อความมั่นใจ   ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน หรือ DS-RMS (Dam Safety Remote Monitoring System) เป็นระบบที่ กฟผ. ร่วมกับ เนคเทคพัฒนาขึ้น โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับเทคโนโลยีของเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน มาบูรณาการใช้ในการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในด้านความมั่นคงปลอดภัยในเขื่อนใหญ่ ของ กฟผ.   ปัจจุบันใช้ในการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเขื่อนขนาดใหญ่ของ กฟผ. จำนวน 14 เขื่อน (จากทั้งหมด 35 เขื่อน) อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนปากมูล เขื่อนรัชชประภา   ทีมงานพัฒนาระบบตรวจสุขภาพเขื่อนให้สามารถสื่อสารข้อมูลจากเครื่องมือวัดต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ ทั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน แผ่นดินไหว และ น้ำหลาก ที่ติดตั้งไว้ที่เขื่อนและรอบอ่างเก็บน้ำ ไปยังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  …