เทรนด์พลังงานนิวเคลียร์ 2025 นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมโลก

Loading

  ในปี 2025 ความต้องการแหล่งพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน ทำให้ภาคพลังงานนิวเคลียร์กำลังเติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะเป็นพลังงานที่มีเสถียรภาพและปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์ว่า การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกจะเติบโตขึ้นเกือบ 3% ต่อปีจนถึงปี 2026 พลังงานนิวเคลียร์ฟื้นตัวในบางประเทศ เช่น จีนตั้งเป้าที่จะมีความสามารถผลิตพลังงานนิวเคลียร์สูงถึง 100 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2025 ขณะที่อินเดียยังคงเพิ่มจำนวนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก (SMRs) ในยุโรป หลายประเทศกำลังพิจารณานโยบายยกเลิกการยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เช่น ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์อันดับสองของโลกได้ประกาศว่าจะขยายพลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่ เยอรมนี ซึ่งเคยมีแผนที่จะยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ก็ได้เลื่อนการยุติออกไปเพื่อรักษาความเสถียรของกริดไฟฟ้าและความมั่นคงด้านพลังงาน ขณะที่ประเทศไทยก็กำลังดำเนินการในภาคพลังงานนิวเคลียร์เช่นกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่กว้างขึ้น โดยโฟกัสไปที่ศักยภาพของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMRs) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2065 อย่างไรก็ตาม การพิจารณาด้านกฎระเบียบและความปลอดภัย ความปลอดภัยยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์ ฟุกุชิมะ ในปี 2011 ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่เชื่อมั่นต่อพลังงานนิวเคลียร์ยังคงมีอยู่ แต่รัฐบาลหลายๆ ประเทศ ก็ได้ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่ามีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ดี ผลิตพลังงานนิวเคลียร์เพิ่ม 3 เท่า แรงผลักดันที่สำคัญ คือ…

พลังงานสะอาด ฟิวชั่นนิวเคลียร์ มาทีหลังแต่อาจแซงหน้า SMRs ไทยไม่ควรมองข้าม

Loading

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาคพลังงานได้เห็นความก้าวหน้าที่สำคัญในเทคโนโลยีฟิวชั่นนิวเคลียร์ ซึ่งกำลังเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการแสวงหาพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน มีศักยภาพที่จะมาแทนที่รูปแบบอื่นของพลังงานนิวเคลียร์ เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ (TMI) และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMRs) เนื่องจากมีข้อดีหลายประการและมีศักยภาพ

เกาหลีใต้จับตาเกาหลีเหนือระงับเตาปฏิกรณ์ อาจเตรียมสกัดระเบิดนิวเคลียร์

Loading

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 5 ต.ค. โดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวในรัฐบาลโซลว่า เกาหลีเหนือระงับการเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์ขนาด 5 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ภายในนิคมนิวเคลียร์ยองบยอน ซึ่งเป็นศูนย์นิวเคลียร์หลัก และตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ตั้งแต่เดือน ก.ย. ที่ผ่านมา