คุยการเมืองเรื่องทรัมป์ เทรดวอร์และระเบียบโลกใหม่ กับศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Loading

    “กรุงเทพธุรกิจ” ชวนพูดคุยกับ ศ. ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ถึงผลของการกลับมาของทรัมป์ที่มีต่อระเบียบโลกและประชาธิปไตยสหรัฐ   การกลับมาของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ในฐานะว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐจากพรรครีพับลิกันสร้างทั้งความตระหนักและตระหนกให้กับประชาคมโลกโดยเฉพาะประเด็นนโยบาย America First ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกครั้งใหญ่   ว่ากันว่าภายใต้การนำของทรัมป์ สหรัฐมีแนวโน้มที่จะถอยห่างจากบทบาทผู้นำโลกเสรีที่เคยดำรงมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยหันมาเน้นการเจรจาแบบทวิภาคีที่มุ่งผลประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าการรักษาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว การถอนตัวจากข้อตกลงระหว่างประเทศสำคัญๆ อย่างความตกลงปารีสและองค์การอนามัยโลกในสมัยแรก สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีที่เปลี่ยนไปของมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก   ขณะเดียวกัน การที่ทรัมป์มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำประเทศที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งมองว่ามิได้ยึดถือหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย จีน หรือเกาหลีเหนือ ก็ส่งสัญญาณว่าสหรัฐอาจไม่ได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ดังกล่าวเหมือนในอดีต (?) การเมืองระหว่างประเทศกำลังเคลื่อนไปสู่ยุคที่ความสัมพันธ์ “ส่วนตัว” ระหว่างผู้นำมีความสำคัญมากกว่าค่านิยมร่วมหรือผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ   นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานะความเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐเอง หลังจากที่ทรัมป์ปฏิเสธผลการเลือกตั้งในปี 2020 จนนำไปสู่เหตุการณ์จลาจลที่รัฐสภาในวันที่ 6 ม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของประชาธิปไตยอเมริกัน การแบ่งขั้วทางความคิดที่รุนแรงขึ้น ประกอบกับวิธีการหาเสียงที่เน้นการโจมตีคู่แข่งและการสร้างความเกลียดชัง ทั้งหมดล้วนส่งผลให้สถาบันจัดอันดับประชาธิปไตยระดับโลกจัดให้สหรัฐเป็นเพียง “ประชาธิปไตยที่บกพร่อง”   แม้ว่าทรัมป์จะยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ทิศทางนโยบายต่างประเทศที่เขาวางไว้ก็มีความเป็นไปได้ว่าทั้งโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะซับซ้อนและไม่แน่นอนมากขึ้น…

ชี้ชะตาเลือกตั้งสหรัฐวันนี้ จับตาการเปลี่ยนขั้ว ‘สภาสูง – สภาล่าง’

Loading

    จับตาผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) และวุฒิสภา (สภาสูง) ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลขั้วอำนาจของฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ หรือเกิดเซอร์ไพรส์ของการกวาดเสียงทั้งหมดขึ้นในครั้งนี้ หรือไม่   กฤษฎา บุญเรือง นักวิชาการอิสระจากสหรัฐ และคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เปิดเผยว่า “สภาผู้แทนราษฎร” ของสหรัฐมีสมาชิกทั้งหมด 435 คน ทุกคนจะต้องแข่งขันในการเลือกตั้งทุกสองปี และครั้งนี้ก็เช่นกันในวันที่ 5 พ.ย.2024 ซึ่งจะเลือกตั้งทั้งหมด 435 ที่นั่ง   ปัจจุบัน “พรรครีพับลิกัน” ครองเสียงข้างมากในสภาล่าง แต่ก็มากกว่าพรรคเดโมแครตเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นที่ 221 ต่อ 214 เสียง   หากเดโมแครตสามารถชนะได้เพียง 5 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากเดิม ก็จะคว้าเสียงข้างมากมาครอบครองในทันที เป็นที่คาดว่าพรรครีพับลิกันจะได้รับที่นั่งเพิ่มมา 3 ที่นั่ง แต่เดโมแครตก็จะชิงมาได้ 2 ที่นั่ง ทำให้คาดว่าพรรครีพับลิกันได้เปรียบ 1 ที่นั่ง   รีพับลิกันต้องต่อสู้หนักเพื่อป้องกัน 21 ที่นั่ง…

‘ทรัมป์-แฮร์ริส’…. ใครมาก็กระทบไทย

Loading

    โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐระหว่างปี 2560-2564 จากพรรครีพับลิกัน ก่อนที่จะพ่ายแพ้การเลือกตั้งสมัยที่ 2 ในปี 2564 ให้กับโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต โดยเป็นการเลือกตั้งที่มีเหตุการณ์พลิกผันตลอด เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลงเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง   ในขณะที่โจ ไบเดน ประกาศถอนตัวออกจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของตัวเอง จึงเป็นการชิงตำแหน่งกับคามาลา แฮร์ริส ที่นับได้ว่ามีความสูสีกันมาก   หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไทยมีการติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพราะมีผลต่อสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกและเศรษฐกิจโลก   โดยในเบื้องต้นมีการประเมินว่าในกรณีที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 สหรัฐจะหันไปฟื้นฟูและพึ่งพาตนเองและมีมาตรการกีดกันการค้าผ่านกำแพงภาษี แต่มาตรการที่ออกมาจากทำให้สหรัฐมีความเสี่ยงที่จะเผชิญ Stagflation และมีความเสี่ยงการขาดดุลการคลังเพิ่มสูงขึ้น   ขณะที่กรณี คามาลา แฮร์ริส ชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี มีการประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตามวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยความเสี่ยงเงินเฟ้ออยู่ระดับจัดการได้ ส่วนการขาดดุลการคลังไม่สูงเท่ากรณีโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้ง ส่วนนโยบายการต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งสนับสนุนการเจรจา Indo-Pacific Economic Framework…

สหรัฐฯ ไฟเขียวร่างกฎหมายปิด สนง.การค้าฮ่องกง หากพบมีเอี่ยวจีน

Loading

สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายที่อาจนำไปสู่การปิดสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง (HKETO) ในสหรัฐฯ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลฮ่องกงเป็นอย่างมาก

สภารัฐแคลิฟอร์เนียผ่านกฎหมาย “ควบคุมปัญญาประดิษฐ์”

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ว่า นายสก็อตต์ ไวเนอร์ วุฒิสมาชิกรัฐแคลิฟอร์เนีย จากพรรคเดโมแครต ผู้เสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ ระบุว่า ร่างกฎหมายที่มีรหัสว่า “Safe and Secure Innovation for Frontier Artificial Intelligence Models Act” หรือ “เอสบี 1047” เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเอไอ ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติของรัฐแคลิฟอร์เนียแล้ว

ทรัมป์หาเสียงกลางแจ้งครั้งแรก หลังถูกลอบสังหาร กระจกกันกระสุน-รปภ.เข้ม

Loading

นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ และตัวแทนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรครีพับลิกัน รณรงค์หาเสียงกลางแจ้งครั้งแรกนับตั้งแต่โดนลอบสังหารเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ที่รัฐนอร์ธแคโรไลนาโดยมีกระจกกันกระสุนติดตั้งอยู่เบื้องหน้าเขา พร้อมด้วยการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้น