เตือนสังเกตรอยร้าวบนอาคาร หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว

Loading

รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทำให้ตึกสูงหลายแห่งมีรอยร้าว การสังเกตตึกสูงที่ได้รับผลกระทบ ดูด้วยจากรอยร้าวบริเวณคานและเสา เบื้องต้นถ้ามีรอยร้าวไม่ชัดเจน ให้ใช้วัสดุกะเทาะออกเพื่อดูภายใน

วิวัฒนาการของเทคนิค การเตือนภัยแผ่นดินไหว

Loading

    แต่ไหนแต่ไร เวลาเกิดเหตุการณ์ “แผ่นดินไหว” ผู้คนมักจะแตกตื่นกลัว เพราะคิดว่าโลกกำลังจะแตก ปฐพีจะถล่มทลาย และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความหายนะ คือ พฤติกรรมชั่วของมนุษย์ ที่ได้ทำให้เทพเจ้าทรงพิโรธ พระองค์จึงทรงบันดาลให้พื้นดินสั่นไหวอย่างรุนแรง จนอาคารบ้านเรือนพังพินาศ และผู้คนจำนวนมาก (อาจจะนับแสน) ต้องเสียชีวิต ตลอดจนถึงสภาพแวดล้อมก็จะถูกทำลายจนเสียหาย ซึ่งการสูญเสียที่มากจนประมาณค่ามิได้นี้ เป็นบทเรียนให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนการดำรงวิถีชีวิต และภัยหายนะนี้ มีส่วนผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์พยายามหาวิธีป้องกันภัย และหาวิธีทำนายภัยล่วงหน้าเป็นเวลานาน ๆ เพื่อให้รู้ชัดว่า แผ่นดินไหวจะเกิด ณ ที่ใด ณ เวลาใด และจะรุนแรงเพียงใดด้วย ประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้รู้ว่า เรามีความรู้เกี่ยวกับอวกาศนอกโลกดียิ่งกว่าความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับเหตุการณ์ใต้โลกเสียอีก     อันที่จริงโลกมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวัน แต่การสั่นสะเทือนในบางครั้งก็น้อยมาก จนไม่มีใครรู้สึก และบางครั้งแผ่นดินก็สั่นไหวในบริเวณที่ห่างไกลผู้คน จึงไม่มีใครเห็นหรือสัมผัสเหตุการณ์ แต่นักประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว พร้อมความเสียหายที่เกิดขึ้นไว้แทบทุกครั้ง เช่น ที่เมือง Alexandria ในอียิปต์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 365 ซึ่งในครั้งนั้นจุดศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนอยู่ในทะเล Mediterranean ทำให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีขนาดมโหฬารจนชาวเมืองคิดไปว่า น้ำกำลังจะท่วมโลกเป็นครั้งที่สอง…