ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่

Loading

  โฆษก บช.สอท. เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดูดเงินออกจากบัญชีได้อย่างง่ายดาย   วันนี้ (4 ก.พ.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดังนี้   ที่ผ่านมา บช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการประชาสัมพันธ์ ออกมาแจ้งเตือนประชาชนอยู่บ่อยครั้ง กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปยังประชาชน หลอกลวงให้เพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ แล้วส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของกรมสรรพากรปลอม ซึ่งแฝงมากับมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้โทรศัพท์ของเหยื่อทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูล หรือเปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อได้ รวมไปถึงหลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ตั้งรหัส PIN จำนวน 6 หลัก โดยประชาชนส่วนใหญ่มักจะใช้ชุดเลขรหัสเดียวกันกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคาร ทำให้มิจฉาชีพนำรหัสดังกล่าวไปใช้โอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อได้อย่างง่ายดาย   ทั้งนี้มิจฉาชีพมักจะอ้างว่าเพื่อเป็นการตรวจสอบรายได้ของท่าน หรือเป็นการแจ้งเตือนให้ชำระภาษี หรือให้ทำการยกเลิกเสียภาษีจากโครงการของรัฐบาล หรืออ้างว่าเป็นการขอใช้โครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้เสียภาษีย้อนหลังได้…

เทรนเนอร์หนุ่มเตือนภัยมิจฉาชีพหลอกให้โหลดแอป กดเงินเกลี้ยงบัญชี แถมเป็นหนี้บัตรเครดิต

Loading

  เทรนเนอร์หนุ่มเตือนภัย มิจฉาชีพอ้างเป็น จนท.กระทรวงพาณิชย์ หลอกให้โหลดแอป ก่อนโดนควบคุมมือถือ กดโอนเงินไปจนหมดบัญชี พร้อมเป็นหนี้บัตรเครดิต   แก๊งคอลเซ็นเตอร์สรรหาสารพัดวิธีหลอกเงินเหยื่อ ล่าสุด เทรนเนอร์หนุ่มรายหนึ่งได้โพสต์เตือนภัยแชร์ประสบการณ์ ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทำธุรกรรม ก่อนจะโดนควบคุมโทรศัพท์มือถือจากระยะไกล กดโอนเงินไปจนหมดบัญชี พร้อมเป็นหนี้บัตรเครดิต โดยเจ้าตัวได้เล่าขั้นตอนว่า   มีเบอร์โทรเข้ามา บอกว่ารูปแบบบริษัทของเขายังไม่มีการกดยืนยัน ให้เข้าไปยืนยันในแอปพลิเคชัน ซึ่งเจ้าตัวเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงๆ เพราะข้อมูลแน่นมาก เพราะมีทั้งรายละเอียดบริษัท รายชื่อเจ้าของและหุ้นส่วน โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์บอกว่า เจ้าหน้าที่จะแอดไลน์มาเพื่อจะสอนให้ยืนยันในแอป     จากนั้นเมื่อเหยื่อเห็นว่า ข้อมูลทุกอย่างถูกต้องครบถ้วน มิจฉาชีพจะส่งลิงก์ที่อ้างว่าเป็นของกระทรวงพาณิชย์มาให้ ซึ่งลิงก์นี้มีความคล้ายกับเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์อย่างมากหากไม่สังเกตให้ดี ซึ่งโจรจะให้กดเข้าลิงก์เพื่อเข้าทำธุรกรรม ซึ่งเหยื่อไม่รู้ตัวว่าเป็นแอปพลิเคชั่นที่สามารถคุมมือถือจากระยะไกลได้     จากนั้นแก๊งคอลเซ็นเตอร์บอกเหยื่อว่ามีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม แต่บอกเหยื่อว่าให้โอนเข้าการกุศลแทน ทำให้เหยื่อตายใจไม่ระวังตัว ซึ่งขณะกดรหัสเพื่อโอนเงินบริจาค ทางฝั่งโจรก็จะเห็นทั้งหมด เมื่อเหยื่อส่งสลิปให้แล้ว ก็จะให้ค้างหน้าจอโดยอ้างว่าเพื่ออัพเดทข้อมูล ซึ่งในขณะที่รอ เหยื่อไม่สามารถทำอะไรกับมือถือได้เลย กดปิดเครื่องยังแทบจะทำไม่ได้ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็พบว่าเงินในบัญชีนั้นหายเกลี้ยงไปแล้ว แถมบัตรเครดิตยังถูกกดเงินจนเป็นหนี้ตามไปด้วย   หลังโพสต์นี้เผยแพร่ออกมาก็มีคนเข้ามาคอมเมนต์จำนวนมาก หลายคนบอกว่าตามเล่ห์เหลี่ยมมิจฉาชีพสมัยนี้แทบไม่ทันเพราะขยันเปลี่ยนมุก เปลี่ยนแผนในการหลอกเงินตลอดเวา…

“ดีอีเอส” ห่วงประชาน เตือนระวัง SMS คืนเงินหลอกลวงมาอีกแล้ว

Loading

  “ดีอีเอส” ห่วงประชาน เตือนระวัง SMS คืนเงินหลอกลวงมาอีกแล้ว   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประกาศเตือนประชาชน เพิ่มความระมัดระวัง หลังเจอ SMS หลอกโอนเงิน พร้อมแนะ 3 ข้อควรทำ   วันนี้ (20 พ.ย.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง หรือ (ดีอีเอส) ได้ออกมาโพสต์ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับ SMS หรือข้อความที่ส่งเข้ามาในโทรศัพท์มือถือเพื่อให้โอนเงิน หรือส่งมาในรูป จึงอยากจะเตือนประชาชนเพิ่มความระมัดระวัง พร้อมแนะ 3 ข้อที่ควรตระหนักถึง ดังนี้   “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเตือน ระวัง! SMS คืนเงิน หลอกลวง โดยไม่สมัครใจ มาอีกแล้ว SMS หลอกโอนเงิน “ดีอีเอส” ห่วง ออกโรงเตือนประชาชน ตระหนัก และรู้เท่าทันมิจฉาชีพทุกรูปแบบ วอนอย่าหลงเชื่อข้อความที่ส่งเข้ามายังโทรศัพท์มือถือ และหมั่นเช็กโปรฯ เช็กยอดหนี้ หากผิดปกติรีบแจ้งผู้ให้บริการ   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส)…

เตือนภัย! ดูดวงรหัส ATM พารวย แต่พาโจรมาแทน! ระวังดูดวงรหัส ATM เงินหายไม่รู้ตัว

Loading

  เตือนภัย! ดูดวงรหัส ATM พารวย แต่พาโจรมาแทน หลังบนโซเชียลโดยเฉพาะเฟซบุ๊กมีการโพสต์ รับดูดวงจากรหัสบัตร ATM โดยอ้างว่าสามารถทำนายดวงชะตาได้ ดูได้ว่าจะรวยถาวรหรือล้มละลายจากรหัสบัตร ATM แล้วยังรับออกแบบรหัสบัตร ATM ให้ผู้ที่สนใจ เตือนภัย! ดูดวงรหัส ATM พารวย แต่พาโจรมาแทน! ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือนภัยถึงสายมูเตลูทุกท่านว่า การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงในโลกออนไลน์ อย่างเช่น รหัส เลขหน้าบัตรหรือหลังบัตร เดือนปีหมดอายุของบัตร ATM หรือบัตรเครดิต ลงบนโซเชียล หรือกลุ่มหมอดู หรือบอกรหัสให้หมอดูนั้น อาจทำให้เราตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ เพราะมิจฉาชีพอาจนำข้อมูลเหล่านี้ไปรวมกับข้อมูลส่วนตัวของเรา จนสามารถเข้าถึงเงินในบัญชีธนาคารของเราได้ แม้เรื่องดวงเป็นเรื่องที่สนใจ แต่ไม่ควรมองข้ามเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ หากบอกรหัสสำคัญอย่างบัตรเอทีเอ็มแชร์บนโซเชียลหรือบอกหมอดู ดังนั้นไม่ควรแชร์รหัสผ่านส่วนตัวให้คนอื่นดู หรือให้คนอื่นตั้งรหัสผ่านให้ อ้างอิง ตำรวจสอบสวนกลาง cover iT24Hrs     ที่มา : it24hrs   /   วันที่เผยแพร่ 1 ก.ย.65 Link…

เตือนภัย “3 เสีย” ระวังตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์

Loading

  MGR Online – รองโฆษก ตร. เผยวิธีการ “3 เสีย” รูปแบบภัยอาชญากรรมออนไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้สร้างภูมิคุ้มกันไม่ตกเป็นผู้เสียหายมิจฉาชีพไซเบอร์ วันนี้ (20 ส.ค.) พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น ในปัจจุบัน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือภัยไซเบอร์ มีรูปแบบที่หลากหลาย มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวิธีการหลอกลวงเหยื่ออยู่สม่ำเสมอ ดังนั้น เพื่อให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทัน และเข้าใจรูปแบบของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอใช้โอกาสนี้มาตีแผ่ 3 รูปแบบหลักของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ “3 เสีย” ของโลกออนไลน์ ดังนี้ 1. “เสียระบบ” คือ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในรูปแบบที่สร้างความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย เช่น การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้ (ระบบล่ม) การแฮกเพื่อเอาข้อมูลหรือยึดบัญชีผู้ใช้หรือบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของเหยื่อ หรือดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ เป็นต้น 2.…

เตือนภัย ! แฮกเกอร์อาจยึดเครื่องของคุณผ่าน Microsoft Word

Loading

เตือนภัยสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ เชื่อว่าแทบทุกคนคงจะต้องใช้ Microsoft Office กันอยู่แล้ว ล่าสุดช่องโหว่ Zero Day ใหม่บน Microsoft Office นี้มีศักยภาพที่จะสามารถเข้ายึดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ทันที แม้ว่าคุณจะยังไม่ได้กดคลิกเพื่อเปิดไฟล์เลยก็ตาม แม้ว่าตอนนี้จะยังคงรอ Patch แก้ไขอย่างเป็นทางการจากทาง Microsoft อยู่ แต่ Microsoft ก็ได้ปล่อยวิธีแก้ไขชั่วคราว (Workaround) สำหรับช่องโหว่นี้ออกมาแล้ว โดยถ้าหากใครใช้ MS Office อยู่เป็นประจำ แนะนำให้ดำเนินการไว้ก่อน เพื่อเข้าไปดำเนินการปิด Microsoft Support Diagnostic Tool (MSDT) ไว้ชั่วคราว                                   Credit : Microsoft…