Microsoft ห้ามตำรวจสหรัฐฯ ใช้ AI สำหรับจดจำใบหน้า ห่วงสร้างข้อมูลบิดเบือน

Loading

Microsoft ห้ามหน่วยงานตำรวจในสหรัฐอเมริกาใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการจดจำใบหน้า ผ่านบริการ Azure OpenAI Service ซึ่งเป็นบริการที่ให้บริษัทต่างๆ สามารถนำเทคโนโลยีของ OpenAI ไปใช้งานได้

‘ดาต้า-เอไอ’ เพิ่มศักยภาพ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลทุกมิติ

Loading

  ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรในการจัดหาและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ตรงกับคุณสมบัติตามที่ต้องการ รวมทั้งดูแลรักษาให้พนักงานอยู่กับองค์กรให้ได้นานที่สุดเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ   ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีและเอไอจำนวนมากได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถที่หลากหลายและง่ายต่อการใช้งาน เป็นตัวช่วยในการทำงานด้านต่าง ๆ รวมทั้งนำมาใช้เป็นตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับทีมทรัพยากรบุคคลได้ในหลายด้านด้วยกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้   เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกบุคลากรในการ ร่างเอกสารคุณสมบัติและหน้าที่ในตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร (Job Description) โดยการใช้ Generative AI เช่น ChatGPT ช่วยเขียนและเรียบเรียงข้อความให้น่าสนใจ   รวมถึงมีรายละเอียดของงาน หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ทักษะที่ต้องการ รวมถึงวัฒนธรรมขององค์กรที่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งช่วยให้ผู้สมัครเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนพิจารณาสมัครในตำแหน่งนั้น ๆ   หลังจากนั้นเอไอยังช่วย คัดเลือกเรซูเม่ (Resume Screening) จากการอ่านข้อมูลของผู้สมัครทั้งหมดและเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการที่ทางบริษัทกำหนดไว้มากที่สุด รวมทั้งช่วยวิเคราะห์เบื้องต้นได้ว่า บุคคลนั้น ๆ มีแนวโน้มที่สามารถร่วมงานกับองค์กรและเป็นบุคลากรคุณภาพในอนาคตได้หรือไม่   ในขั้นตอนการสัมภาษณ์ เอไอมีส่วนช่วยในการ สร้างชุดคำถาม (Creating Interview Questions) ที่เหมาะสมกับตำแหน่งและสายงานนั้น ๆ ที่ช่วยให้เราวัดความรู้ ความสามารถ ประเมินความเชี่ยวชาญในการทำงานของผู้สมัคร มองเห็นทัศนคติและมุมมองทางความคิดที่ส่งผลต่อการทำงานในอนาคต   และสุดท้ายเอไอจะช่วยทำสรุปผลการสัมภาษณ์ (Interview Summarization) เพื่อนำเสนอต่อทีมที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป…

ตำรวจเวลส์ชี้เทคโนโลยีจำใบหน้าช่วยจับอาชญากรมาลงโทษได้

Loading

  สำนักงานตำรวจในเขตเซาต์เวลส์ของสหราชอาณาจักร (SWP) รายงานว่าการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าแบบย้อนหลังทำให้เบาะแสมากกว่า 140 รายการภายในเดือนเดียว   เจเรมี วอแกน (Jeremy Vaughan) ผู้บัญชาการ SWP เผยว่าเทคโนโลยีนี้ใช้เฉพาะในกรณีอาชญากรรมร้ายแรงอย่างการข่มขืนเท่านั้น โดยตรวจจับผู้กระทำผิดในสถานที่และยานพาหนะต่าง ๆ   แหล่งข้อมูลของเทคโนโลยีนีนี้คือกล้อง CCTV โทรศัพท์มือถือ และโซเชียลมีเดีย โดยนำมาเทียบกับภาพที่ SWP และตำรวจเมืองเกวนต์มีกว่า 600,000 ภาพ   วอแกนยังบอกอีกว่ามีการกำหนดขั้นตอนและมาตรการสำหรับการใช้เทคโนโลยีอย่างรัดกุม และไม่มีการเก็บข้อมูลประชาชน   อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเลือกปฏิบัติต่อคนบางกลุ่ม   ซึ่งวอแกนชี้ว่าการใช้เทคโนโลยีนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองประชาชน และใช้ตามกรอบของกฎหมายเท่านั้น แต่ก็สนับสนุนให้มีหลักเกณฑ์ภายในเพื่อป้องกันการใช้ในทางที่ผิด     ที่มา Biometric Update         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :           …

นักสิทธิโวยตร.ลอนดอน งัดเทคโนโลยีจดจำใบหน้า พุ่งเป้าม็อบ งานพิธีบรมราชาภิเษกคิงชาร์ลส์

Loading

    วันที่ 4 พ.ค. เดอะการ์เดียนรายงานมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ว่า ตำรวจนครบาลลอนดอนถูกกล่าวหาว่า ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าหรือแอลเอฟอาร์ในพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อพุ่งเป้าผู้ประท้วงหรือนักเคลื่อนไหว แต่ตำรวจปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม นักเคลื่อนไหวระบุว่า การใช้เทคโนโลยียังน่ากังวลอย่างยิ่ง เนื่องจากตำรวจเคยกระทำดังกล่าวมาแล้ว   นักเคลื่อนไหวระบุว่า ตำรวจนครบาลของลอนดอนกำลังใช้พิธีบรมราชาภิเษกเพื่อปฏิบัติการจดจำใบหน้าในรูปแบบถ่ายทอดสดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษและอาจถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป   ต่อมาสำนักงานตำรวจนครบาลลอนดอนออกแถลงการณ์ว่า ทางตำรวจตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งสามารถสแกนใบหน้าและจับคู่ใบหน้าดังกล่าว เพื่อสกัดกั้นบุคคลที่ตำรวจต้องการตัวในข้อหาอาชญากรรมและอาจใช้ระบุตัวผู้ก่อการร้าย ซึ่งเข้ามาปะปนในฝูงชนในงานพระราชพิธีที่คาดว่ามีประชาชนหลายแสนคนบนสองฝั่งถนน ในวันเสาร์ที่ 6 พ.ค.ในระหว่างที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ หลังจากขบวนแห่ผ่านใจกลางกรุงลอนดอน ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยแน่นหนา   นายพีท ฟัสซีย์ ศาสตราจารย์และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการกล้องวงจรปิดและการตรวจพิสูจน์บุคคลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ระบุว่า ขอบเขตการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าที่ตำรวจนครบาลลอนดอนวางแผนดำเนินการอยู่ในขณะนี้อยู่ในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน   ที่ผ่านมา เทคโนโลยีนี้ถูกใช้ครั้งใหญ่ที่สุด คือ งานนอตติง ฮิลในปี 2560 ซึ่งเป็นเทศกาลแคริบเบียนประจำปีจัดขึ้นในกรุงลอนดอนและมีประชาชนจำนวน 100,000 คนถูกสแกนใบหน้า ทั้งนี้ ประกาศการใช้เทคโนโลยีข้างต้นเกิดขึ้นในช่วงที่ตำรวจได้รับมอบอำนาจให้ปราบปรามการประท้วง และเพิ่งถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายจากรัฐบาลก่อนงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเพียงไม่กี่วัน   น.ส.เอ็มมานูเอลลา แอนดรูส์ นักเคลื่อนไหวจากกลุ่มลิเบอร์ตี…

อียูและสหรัฐฯ เตรียมออกกฎหมายควบคุมเทคโนโลยีเอไอ

Loading

สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ เตรียมออกกฎหมายควบคุมเทคโนโลยีเอไอ ในยุคแห่งอัลกอริทึม Tesla / AFP   ทางการสหรัฐฯมีพิมพ์เขียวพระราชบัญญัติสิทธิพื้นฐานพลเมืองด้านเทคโนโลยีเอไอแล้ว เช่นเดียวกับแคนาดาที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา ส่วนในสหภาพยุโรปเตรียมผ่านกฎหมายควบคุมปัญญาประดิษฐ์ในยุคอัลกอริทึม   เกรย์ ฮาสเซิลบาล์ค นักวิชาการชาวเดนมาร์ก ที่ปรึกษาประจำสหภาพยุโรปกล่าวถึงข้อวิตกเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลไบโอเมตริกของจีน รวมทั้งเทคโนโลยีจดจำใบหน้าว่า ชาติตะวันตกตกอยู่ในอันตรายต่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยการปกครอบแบบเบ็ดเสร็จนี้ เป็นภัยคุกคามที่ไม่ว่าจะเกิดประโยชน์มากเพียงใดก็ตาม   สุเรศ เวฬคตสุพราหมนิยาน แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ ผู้ร่วมร่าง พ.ร.บ.สิทธิพื้นฐานพลเมืองเอไอ กล่าวว่า เอไอคือเกมที่เล่นตามกติกา เทคโนโลยีใดก็ตามที่กระทบต่อสิทธิพลเมืองต้องอยู่ในขอบเขตกฎหมาย       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                     AFP                       / วันที่เผยแพร่…

“จีน” ใช้โปรแกรมสแกนใบหน้า จดจำ-ตามรอยผู้ประท้วงต้านมาตรการโควิด

Loading

  “ตำรวจ” จีนติดตั้งเครื่องมือสอดแนม ด้วยการใช้โปรแกรมสแกนใบหน้า เพื่อจดจำและติดตามรอยกลุ่มผู้ประท้วง หวังควบคุมความไม่สงบทั่วประเทศ   ความไม่พอใจต่อมาตรการควบคุมโควิด-19 ปะทุขึ้น ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้ยุติมาตรการล็อกดาวน์ และให้เสรีภาพทางการเมืองแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน   หวัง เซิ่งเซิง นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่า ปักกิ่งประกาศปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม โดยส่งเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงลงพื้นที่เข้าจัดการ อีกทั้งยังใช้ซอฟต์แวร์แกะรอยที่ซ้อนตัวของผู้ประท้วงอีกด้วย   “ในปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว ดูเหมือนเจ้าหน้าตำรวจได้ใช้อาวุธไฮเทคเพื่อจัดการผู้ชุมนุม” นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวกับเอเอฟพีและเสริมว่า ต่างจากเมืองอื่น ๆ ที่ต้องพึ่งภาพในกล้องวงจรปิดที่จดจำใบหน้า   ตำรวจปักกิ่งอาจใช้ตำแหน่งทางโทรศัพท์มือถือที่บันทึกจากการแสกนใบหน้าหรือโคดข้อมูลทางสุขภาพช่วงโควิด-19 เพื่อติดตามรอยหลังกลับจากการประท้วงแล้ว   อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้โทรศัพท์หลายต่อหลายคนแปลกใจที่ได้รับสายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มอบตัว ทั้งที่พวกเขาเดินผ่านกลุ่มผู้ประท้วงเท่านั้น       ———————————————————————————————————————————- ที่มา :                               …