อิตาลีสั่งห้ามใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพราะยังไม่มีกฎหมายที่รัดกุม

Loading

  สำนักงานคุ้มครองข้อมูลของอิตาลี (GPDP) สั่งห้ามการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าและเทคโนโลยี ‘smart glasses’ หรือเทคโนโลยีอื่นใดที่ใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ภายในประเทศ   คำสั่งข้างต้นออกมาภายหลังจากที่เมืองเลชเช ทางตอนใต้ของประเทศ และเมืองอเรซโซ ในแคว้นทัสคานี ประกาศจะนำเทคโนโลยีฯ ดังกล่าวมาใช้   GPDP ระบุว่าการสั่งห้ามในครั้งนี้จะมีผลไปจนกว่าจะมีการใช้บังคับกฎหมายเป็นการเฉพาะ หรือจนกว่าจะสิ้นปี โดยให้เหตุผลว่าที่ต้องห้ามเพราะว่าในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการควบคุมที่มารองรับได้อย่างเหมาะสม   แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ว่าหากเทศบาลใดอยากนำเทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิดไปใช้ จะต้องทำข้อตกลงด้านความปลอดภัยเมืองกับผู้แทนของรัฐบาลกลางก่อน โดยจะต้องมอบรายละเอียดของระบบที่จะนำมาใช้ รวมถึงวัตถุประสงค์ หลักเหตุผลรองรับทางกฎหมาย และรายชื่อฐานข้อมูลที่อุปกรณ์เหล่านี้จะเข้าถึง ประกอบกันด้วย   สำหรับ smart glasses เป็นแว่นอินฟราเรตที่ใช้จดจำหมายเลขทะเบียนของประชาชน     ที่มา iTnews         ————————————————————————————————————————- ที่มา :                     …

บริษัทด้านเทคโนโลยีให้ยูเครนใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าแบบฟรี ๆ

Loading

  กระทรวงกลาโหมของยูเครนเริ่มใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าของ Clearview AI บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน หลังจากที่ทางบริษัทเสนอช่วยแบบฟรี ๆ   ข้อตกลงระหว่างบริษัทกับรัฐบาลยูเครนเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ ฮวน ทนทัต (Hoan Ton-That) กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งของ Clearview AI ส่งจดหมายเสนอความช่วยเหลือให้กับรัฐบาลยูเครน โดยมีการระบุว่าไม่ได้เสนอเทคโนโลยีเดียวกันนี้ให้กับทางฝั่งรัสเซีย   ทนทัตระบุว่าบริษัทเก็บภาพจำนวนกว่า 2,000 ล้านภาพจากแพลตฟอร์ม VKontakte ของรัสเซีย จากทั้งหมด 10,000 ล้านภาพในฐานข้อมูลที่มีอยู่ โดยกล่าวว่าเทคโนโลยีของ Clearview AI จะช่วยระบุตัวผู้เสียชีวิตได้แม้ใบหน้าจะได้รับความเสียหายและยังง่ายกว่าการใช้ลายนิ้วมือ   ทนทัตยังระบุด้วยว่าเทคโนโลยี Clearview AI จะช่วยค้นหาครอบครัวผู้อพยพที่พลัดพรากกัน รวมถึงระบุตัวเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของฝ่ายรัสเซียและช่วยให้รัฐบาลเปิดโปงข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสงครามบนโซเชียลมีเดียได้ด้วย   ลี โวโลสกี (Lee Wolosky) ที่ปรึกษาของ Clearview AI และอดีตนักการทูต ระบุว่าเซิร์ชเอนจินของบริษัทจะช่วยให้หน่วยงานของยูเครนสามารถตรวจค้นหาบุคคลต้องสงสัยตามจุดตรวจต่าง ๆ ได้อย่างดี   อย่างไรก็ดี กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาเคยค้นพบว่าการเน่าเปื่อยของศพจะลดประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีข้างต้น แต่งานวิจัยในการประชุมแห่งหนึ่งในปีที่แล้วระบุถึงผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีของ Clearview AI…

เมโทรมอสโกใช้ระบบจ่ายเงินด้วยการจดจำใบหน้า

Loading

  การสัญจรด้วยรถไฟใต้ดินหรือ “เมโทร” ในกรุงมอสโกของรัสเซีย จัดว่าเป็นทางเลือกยอดนิยมและสะดวกอย่างยิ่ง ด้วยเส้นทางที่เชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ ใช้การสังเกตจดจำด้วยหมายเลขของเส้นทางแต่ละสาย การกำกับด้วยสี บรรยากาศภายในโถงชานชาลาก็สวยงามอลังการ เป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ดินที่ไม่ควรพลาด อีกทั้งระบบการชำระค่าโดยสารที่เป็นรูปแบบของบัตรแตะเข้าภายในสถานีก็ใช้ได้ง่าย     ล่าสุด มอสโกได้เปิดตัวระบบการชำระเงินด้วยเทคโนโลยีตรวจสอบและจดจำใบหน้า (Face Recognition) ที่ใช้ชื่อว่า “เฟซเพย์” (Face Pay) ในระบบรถไฟใต้ดินของเมืองหลวงแห่งนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เมื่อเข้าสู่รถไฟใต้ดินผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องใช้การ์ดหรือสมาร์ทโฟน พวกเขาเพียงแค่ต้องมองกล้องที่ตรงประตูเปิดปิด ทั้งนี้ ผู้โดยสารต้องกรอกข้อมูลเพื่อสมัครใช้ระบบดังกล่าว โดยผูกกับบัญชีธนาคารที่มีข้อมูลไบโอเมตริกของผู้โดยสารรถไฟใต้ดินคนนั้น แต่ใช่ว่าจะเป็นการบังคับ ซึ่งก็แล้วแต่ความสมัครใจ ทางการมอสโกคาดการณ์ว่าระบบเฟซเพย์ จะถูกใช้งานโดยผู้โดยสาร 10-15% ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ส่วนวิธีการชำระเงินแบบเดิมก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิม     อย่างไรก็ตาม นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิต่างวิพากษ์วิจารณ์เทคโนโลยีจดจำใบหน้านี้ เนื่องจากปกติก็ใช้กันอยู่แล้วในซุปเปอร์มาร์เกตในมอสโกหลายสิบแห่ง และยังใช้เป็นเครื่องมือในการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมองว่านี่คือตัวอย่างของการสอดส่องของรัฐบาลที่กำลังคืบคลานเข้ามา.   ———————————————————————————————————————————————— ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์          / วันที่เผยแพร่ …

อุยกูร์ : จีนทดลองซอฟต์แวร์เอไอตรวจจับอารมณ์ชนกลุ่มน้อยมุสลิม

Loading

  “รัฐบาลจีนใช้ชาวอุยกูร์เป็นตัวทดลองในการทดลองต่าง ๆ ราวกับหนูที่ใช้ในห้องแล็บ” นี่คือความเห็นของวิศวกรซอฟต์แวร์คนหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์ในรายการพาโนรามา (Panorama) ของบีบีซีภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่เปิดเผยตัวตนของเขา โดยระบุว่าทางการจีนได้ทำการทดลองระบบกล้องที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ และเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อตรวจจับอารมณ์ของผู้คนกับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง วิศวกรรายนี้เปิดเผยว่า มีการติดตั้งระบบดังกล่าวตามสถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งมีชาวอุยกูร์อาศัยอยู่ราว 12 ล้านคน และพวกเขามักตกอยู่ภายใต้การสอดส่องอย่างใกล้ชิดจากทางการ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์ปรับทัศนคติ” ที่องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่าเป็นสถานกักกันที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงและมีชาวอุยกูร์ถูกคุมขังอยู่กว่า 1 ล้านคน รัฐบาลจีนยืนกรานมาตลอดว่าการสอดส่องเป็นเรื่องจำเป็นในภูมิภาคนี้ เพราะกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ต้องการก่อตั้งรัฐของตนเองได้สังหารประชาชนไปหลายร้อยคนในเหตุก่อการร้าย     กล้องตรวจจับอารมณ์ วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ให้ข้อมูลกับบีบีซี ระบุว่าไม่ต้องการเปิดเผยชื่อและบริษัทที่ทำงานอยู่ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เขาได้โชว์รูปถ่าย 5 รูปของผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์ ซึ่งเขาอ้างว่าได้ทดสอบระบบกล้องตรวจจับและจดจำอารมณ์กับคนกลุ่มนี้ วิศวกรรายนี้เล่าว่าเขาได้ติดตั้งกล้องชนิดนี้ที่สถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง “เราตั้งกล้องตรวจจับอารมณ์ห่างจากผู้ถูกทดลอง 3 เมตร มันคล้ายกับเครื่องจับเท็จแต่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่ามาก” เขาเล่าว่าเจ้าหน้าที่ใช้ “เก้าอี้หน่วงเหนี่ยว” ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายตามสถานีตำรวจทั่วประเทศจีน “ข้อมือคุณจะถูกล็อกอยู่กับที่ด้วยเครื่องยึดที่เป็นโลหะ เช่นเดียวกับที่ข้อเท้าของคุณ”       วิศวกรผู้นี้ยังแสดงหลักฐานการฝึกฝนให้เอไอตรวจจับและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสีหน้าและรูขุมขนที่เกิดขึ้นภายในเสี้ยวนาที เขาอธิบายการทำงานของระบบว่า ซอฟต์แวร์จะนำข้อมูลที่ได้มาประมวลแล้วสร้างเป็นแผนภูมิวงกลม เพื่อบ่งชี้ถึงอารมณ์ของผู้ถูกทดสอบ โดยส่วนสีแดงสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบหรือความวิตกกังวล เขาระบุว่า ซอฟต์แวร์มีเป้าหมายในการ…

ไม่ต้องต่อคิวแลกเหรียญ รถไฟใต้ดินในปักกิ่งเตรียมใช้การสแกนใบหน้าและฝ่ามือผู้โดยสาร

Loading

  ปักกิ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ในหลายประเทศ ผู้คนที่เดินทางไปไหนมาไหนในแต่ละวันนั้นมีมากมายมหาศาล รวมทั้งการเดินทางด้วยรถไฟใต้ดิน แม้รถไฟจะวิ่งเร็วเพียงใดแต่ด้วยปริมาณคนใช้บริการที่มีมาก กว่าที่คนคนหนึ่งจะเดินทางไปถึงจุดหมายเขาอาจต้องเสียเวลากับการเข้าคิวรอซื้อตั๋วหรือแตะบัตรผ่านสถานีเพื่อขึ้นรถไฟ ด้วยเหตุนี้ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินของปักกิ่งจึงมีแผนจะนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้าและการสแกนลายนิ้วมือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เพื่อลดเวลาที่ผู้โดยสารต้องรอในระหว่างก่อนขึ้นรถไฟและหลังลงจากรถไฟ ทางการจีนจึงมีแผนจะติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับใบหน้าและเครื่องสแกนฝ่ามือเพื่อให้ผู้โดยสารเข้าและออกจากสถานีได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลาติดต่อขอแลกเหรียญ ไม่ต้องมัวเข้าคิวรอหยอดเหรียญกับเครื่องออกบัตรโดยสาร และก็ไม่ต้องเข้าแถวอีกครั้งหนึ่งเพื่อรอเสียบบัตรเข้าเครื่องสแกนก่อนเดินเข้าพื้นที่ชานชาลา แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการเก็บเงินค่าโดยสาร แต่คาดว่าระบบสแกนใบหน้าและสแกนฝ่ามือนี้จะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานเพื่อทำการตัดเงินค่าโดยสารแบบอัตโนมัติ ทั้งนี้ระบบสแกนใบหน้าและสแกนฝ่ามือไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมในประเทศจีน ตัวอย่างการใช้งานระบบสแกนใบหน้านั้นมีใช้อยู่ก่อนแล้วบริเวณด่านระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะฮ่องกงซึ่งจะใช้ควบคู่กับเรื่องสแกนลายนิ้วมือ ในขณะที่เครื่องสแกนฝ่ามือก็มีการใช้งานกับรถไฟในเซี่ยงไฮ้มาบ้างแล้ว โดยจำกัดเฉพาะผู้โดยสารกลุ่มพิเศษ เช่น ทหารผ่านศึก หรือผู้พิการและทุพพลภาพ อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับแผนการติดตั้งระบบตรวจจับใบหน้าและระบบสแกนฝ่ามือสำหรับผู้โดยสารรถไฟใต้ดินนี้ ความเห็นฝ่ายหนึ่งมองว่าทุกวันนี้ทางการจีนกำลังริดรอนความเป็นส่วนตัวของประชาชนตนเองลงไปในทุกขณะ ในขณะที่อีกส่วนเกรงว่าหากระบบหละหลวมมีช่องโหว่ก็อาจทำให้ข้อมูลอัตลักษณ์เชิงชีวภาพเหล่านี้รั่วไหลออกสู่ภายนอกและถูกผู้ไม่หวังดีนำเอาไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบได้ อีกด้านหนึ่งก็มีความเห็นในแง่การใช้งานว่าประสบการณ์ใช้งานระบบสแกนใบหน้าและสแกนฝ่ามือนั้นอาจไม่ได้ช่วยลดเวลาที่ผู้โดยสารต้องเสียไป เพราะยกตัวอย่างผู้สูงอายุหลายคนซึ่งไม่ค่อยคุ้นชินกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มากนักก็อาจไม่รู้ว่าต้องใช้เครื่องอย่างไรจนทำให้ต้องเสียเวลาผู้โดยสารคนอื่นๆ ที่อยู่ในคิวเช่นเดียวกัน สำหรับรถไฟใต้ดินของปักกิ่งนั้นเริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 1965 แต่เริ่มมีการปรับปรุงบริการและขยายเส้นทางแบบก้าวกระโดดในช่วงปี 2008 ซึ่งปักกิ่งเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ในปัจจุบันมีรถไฟวิ่งให้บริการ 23 เส้นทาง มีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคนต่อวัน โดยก่อนหน้านี้คิดอัตราค่าโดยสารทุกเส้นทาง (ยกเว้นไปสนามบิน) ทุกระยะทางเท่ากันหมดด้วยราคา 2 หยวน (ประมาณ 10 บาท) ก่อนที่จะปรับวิธีคิดค่าโดยสารในปี 2014 มาเป็นระบบคิดตามระยะทาง โดยปัจจุบันนี้ค่าโดยสารต่ำสุดของการเดินทางเริ่มต้นที่ 3 หยวน (ประมาณ 15…