สตอกโฮล์มเล็งไฟเขียวให้ตำรวจสวีเดนใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าเพื่อจับคนร้าย

Loading

เอเอฟพีรายงานวันจันทร์ (3 มิ.ย.) ว่า การประกาศให้ไฟเขียวจากสตอกโฮล์มเกิดขึ้นหลังสหภาพยุโรป EU ออกกฎหมายกำกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI เมื่อมีนาคมที่ผ่านมาเป็นการห้ามเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าในที่สาธารณะยกเว้นสำหรับการบังคับใช้กฎหมาย

สหรัฐฯ ใช้เทคโนโลยี Face Recognition ตรวจพบชายมีหมายเลขประกันสังคมสองเลข

Loading

  ศาลสหรัฐฯ ตัดสินว่า Napoleon Gonzalez มีความผิดฐานฉ้อโกง หลังจากเจ้าหน้าที่ใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า พบว่า Gonzalez ถือหมายเลขประกันสังคมสองหมายเลข และใช้ทั้งสองหมายเลขเพื่อขอสิทธิ์ประโยชน์ต่าง ๆ โดยเขามีหนังสือเดินทาง, บัตรประจำตัวต่าง ๆ หลายรายการ ของทั้งสองตัวตน   Gonzalez ใช้ข้อมูลของน้องของเขา Guillermo Gonzalez ที่เสียชีวิตตั้งแต่ปี 1939 มาเป็นตัวตนอีกตัวตนหนึ่งตั้งแต่ปี 1965 เป็นต้นมา การมีสองตัวตนทำให้ Gonzalez สามารถขอสิทธิประโยชน์เกษียณอายุได้สองครั้งอยู่นานถึง 20 ปี   เรื่องนี้ความแตกเมื่อเจ้าหน้าที่รันระบบตรวจจับใบหน้าในฐานข้อมูลใบขับขี่ และพบว่าในระบบมีรูปภาพคนเดียวกันอยู่สองครั้ง จนนำมาสู่การสอบสวนเมื่อต้นปี 2020   Gonzalez ระบุว่าจะอุทธรณ์คดีต่อไป     ที่มา – The New York Times ภาพ – mikemacmarketing       —————————————————————————————————————————————————…

‘เอไอ’ กับการสืบสวนอาชญากรรม เทคโนโลยีเพื่อการไขคดีอย่างแม่นยำ

Loading

  เปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม   กระบวนการสืบสวนคดีความและอาชญากรรมเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน การมองข้ามแม้เพียงรายละเอียดเล็ก ๆ ระหว่างกระบวนการอาจนำไปสู่สมมุติฐานที่ผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถคลี่คลายคดีความหรือหาต้นตอและอาชญากรตัวจริงได้   ในภาพยนตร์สืบสวนเราต่างเคยเห็นนักสืบอัจฉริยะมากมาย แต่ในความเป็นจริง เราคงไม่สามารถสืบสวนอาชญากรรมอย่างละเอียดและเฉียบขาดได้ตลอดเวลา ด้วยพลังที่มีขีดจำกัดของมนุษย์ แต่ถ้าหากเรามีผู้ช่วยอย่างเอไอแล้ว สิ่งที่เคยทำไม่ได้อาจกลายเป็นเรื่องง่าย   บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปเปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันส่งผลให้เอไอมีความสามารถใกล้เคียงนักสืบมือฉมัง และเป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมของตำรวจเลยทีเดียวครับ   ในกระบวนการพิสูจน์หลักฐาน เอไอก็ได้เข้าไปมีบทบาทไม่น้อยเลย งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีออน ประเทศสเปน ได้ทำการเทรนโมเดลโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ในการตรวจจับร่องรอยของอาชญากรในสถานที่เกิดเหตุ   โดยใช้ข้อมูลภาพสถานที่เกิดเหตุจำนวนหลายพันภาพเทรนอัลกอริธึมให้ตรวจจับรูปแบบของร่องรอยและหลักฐานในที่เกิดเหตุ อาทิ รอยเท้า กระสุน อาวุธปืน เป็นต้น รวมถึงยังสามารถตรวจจับรูปแบบร่องรอยที่สื่อถึงอาชญากรคนเดียวกันจากหลาย ๆ คดีได้อีกด้วย   สารคัดหลั่งในจุดเกิดเหตุเป็นอีกหลักฐานน่าเชื่อถือและมีประโยชน์ต่อรูปคดีมาก แต่การตรวจสอบอย่างละเอียดนั้น โดยปกติต้องอาศัยกระบวนการทางนิติเวชที่ต้องใช้เวลายาวนาน รวมถึงยังต้องแยกระหว่างสารคัดหลั่งจากผู้ต้องหากับสารคัดหลั่งของตำรวจที่เข้าไปในจุดเกิดเหตุอีกด้วย   หากเราทำการเทรนเอไอให้เข้ามาทำหน้าที่นี้ โดยใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมสร้างโมเดลที่ประมวลผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำตามหลักการแพทย์ ก็จะช่วยลดเวลาในการทำงานและนำไปสู่การสรุปผลคดีที่ถูกต้องและโปร่งใส…