2024 : ปีแห่งความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้าม จากเทคโนโลยี ‘เอไอ’ ที่ไม่ถูกควบคุม

Loading

  สัปดาห์นี้มีรายงานเรื่อง ความเสี่ยงของโลกในปี 2024 ที่ระบุว่า ปีนี้จะเป็นปีที่มีความเสี่ยงสูงในหลายด้าน ทั้งเรื่องการเมืองที่จะมีการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และที่น่าสนใจ คือ ปัญหาเทคโนโลยีเอไอ   สัปดาห์นี้มีรายงานเรื่อง ความเสี่ยงของโลกในปี 2024 ออกมาจากสองค่าย รายงานแรกเป็นของ Eurasia ที่ระบุว่า ปีนี้จะเป็นปีที่มีความเสี่ยงสูงในหลายด้าน ทั้งเรื่องการเมืองที่จะมีการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และที่น่าสนใจ คือ ปัญหาเทคโนโลยีเอไอที่กำลังพัฒนาเร็วกว่าความสามารถในการกำกับและควบคุมดูแล   ส่วนอีกรายงานที่ออกมาเป็นของ World Economic Forum (WEF) ที่ระบุความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ทั้งภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ทั้งในระยะสั้นในสองปีข้างหน้า และระยะยาวในอีกสิบปี ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ การบิดเบือนข้อมูลด้วยเทคโนโลยีเอไอ (Misinformation and Disinformation) กลายเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่สุดในปีนี้ และขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในความเสี่ยงระยะสั้น   WEF ระบุว่า เนื่องด้วยเอไอกลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถสร้างข้อมูลปลอม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอย่าง…

เตรียมความพร้อมประเทศไทย สู่ฮับ ‘เอไอ และ เทคโนโลยี’

Loading

หน่วยงานภาครัฐพร้อมที่จะผลักดันสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวทันต่อการเข้ามาของเทคโนโลยีเอไอ เพื่อปูทางสู่การนำไปปรับใช้กับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เป็นที่พูดถึงในวงกว้างทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งต่อมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำ “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย”

อคติในอัลกอริทึม

Loading

    ด้วยกระแสก้าวกระโดดของเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) ของเอไอ ซึ่งทำให้พัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติ   ส่งผลให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในปัจจุบันได้อย่างกว้างขวาง แต่ทำอย่างไรเราจะแน่ใจได้ว่า อัลกอริทึมของการตัดสินใจโดยเอไอจะทำงานเพื่อตอบโจทย์มนุษย์อย่างแท้จริงแทนที่จะครอบงำการตัดสินใจของผู้ใช้งานอย่างมีอคติ?   อัลกอริทึม (Algorithm) เป็นคำที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งหมายถึงกระบวนการหรือชุดคำสั่งในการทำงานอัตโนมัติ โดยในอดีตอาจย้อนไปถึงการวางค่ายกลในพีระมิดโบราณ เพื่อป้องกันการโจรกรรม ซึ่งถือเป็นการออกแบบอัลกอริทึมที่ชาญฉลาดแบบหนึ่ง   ที่ผ่านมา ในการสั่งการคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่ต้องการได้นั้น จำเป็นต้องออกแบบอัลกอริทึมให้เป็นชุดคำสั่งเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้   อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน คำว่าอัลกอริทึมมักถูกใช้เป็นวงกว้างในปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะอัลกอริทึมที่สร้างขึ้นมาจากข้อมูลผ่านกระบวนการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning)   บ่อยครั้งที่อัลกอริทึมสมัยใหม่ถูกใช้ในการคาดการณ์อนาคต เช่น คาดการณ์กลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่น่าจะซื้อสินค้าชนิดใหม่ คาดการณ์ภาพยนตร์ที่ผู้ใช้น่าจะชอบ หรือคาดการณ์ว่าอีเมลไหนจะเป็นสแปม เป็นต้น     การพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการให้ตรงเป้าหมายผู้ใช้มากขึ้น ช่วยการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   อย่างไรก็ตาม เมื่อกระบวนการตัดสินใจกลายเป็นรูปแบบระบบอัตโนมัติมากขึ้น โดยมีอัลกอริทึมช่วยตัดสินใจอยู่ข้างใน เราจึงจำเป็นที่ต้องตระหนักและระมัดระวังว่า ผลการตัดสินใจที่เอไอให้ออกมานั้นสมเหตุสมผลและมีอคติหรือไม่?…