การ์ทเนอร์เปิดผลสำรวจ ‘เทคคอมพานี’ บนภาวะวิกฤติ ขาดแคลน ‘คนไอที’

Loading

  หลังจากการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทำให้ผู้นำธุรกิจและเทคโนโลยีต่างสรุปว่า “ภาวะขาดแคลนบุคลากรไอทีที่มีทักษะสูง หรือ Tech Talent Crunch” นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่ปรากฏอาจเป็นเพียงภาพลวงตา   ผลวิจัยล่าสุดของ การ์ทเนอร์ พบว่า 86% ของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIOs) บอกว่า พวกเขากำลังเผชิญกับการชิงตัวบุคลากรที่มีคุณสมบัติอย่างที่ต้องการ และอีก 73% มีความกังวลกับประสิทธิภาพของบุคลากรไอทีที่ลดลง   เอ็มบูล่า เชิร์น ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์ วิเคราะห์ว่า ปัญหาขาดแคลน Tech Talent ยังมีอยู่ต่อไป วิกฤติการขาดแคลนบุคลากรไอทีจะยังไม่จบสิ้นในวันนี้   เนื่องจากปัจจุบันยังมีอุปสงค์แรงงานด้านนี้มากกว่าอุปทานที่มีอยู่ในตลาดเป็นอย่างมาก การ์ทเนอร์คาดว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบลากยาวไปถึงปี 2569 เป็นอย่างน้อย สอดคล้องกับปริมาณการใช้จ่ายด้านไอทีตามที่คาดการณ์   ‘งานสายไอที’ โอกาสยังคงเปิดกว้าง   การ์ทเนอร์ระบุว่า พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเลิกจ้างจำนวนมากนั้นอยู่ในสายงานธุรกิจไม่ใช่สายเทคโนโลยีและงานด้านไอทียังมีโอกาสอยู่อีกมากไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริษัทในสายเทคโนโลยี   จากการสำรวจพบว่า การปรับลดแรงงานจำนวนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ พยายามปรับให้ราคาหุ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพื่อลดค่าใช้จ่ายตามโจทย์ของผู้ถือหุ้น   ผลวิจัยการ์ทเนอร์พบด้วยว่า บริษัทที่อยู่เบื้องหลังการเลิกจ้างพนักงานที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่สุด…

ถอดรหัส ’Digital Transformation’ คือการเดินทาง ไม่ใช่ปลายทาง

Loading

    เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก ทั้งแนวคิด สังคม ชีวิตประจำวัน รวมถึงวิธีการทำงาน   ด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดและความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ส่งผลให้หลากหลายองค์กรต่างต้องหาหนทางปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการ Upskill การ Reskill และใช้เทคโนโลยีเข้ามาต่อยอด เพื่อยกระดับองค์กรให้ก้าวทันกับการถูก Digital Disruption   ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่า Digital Transformation จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจเอาตัวรอดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปได้   OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP หยิบยกมุมมองในการทำ Digital Transformation จากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขามาร่วมมาแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งหากใครไม่อยากตกขบวนแล้วละก็ต้องรีบศึกษาไว้เลย   Digital Transformation คืออะไร   Digital Transformation (DX) คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและธุรกิจเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐานขององค์กรไปจนถึงกระบวนการส่งมอบให้ลูกค้า   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดมากขึ้นในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ และแม้ปัจจุบัน Digital Transformation…

“บล็อกเชน” ป้องกันการโกงเลือกตั้งได้จริงหรือ!?”

Loading

  “การเลือกตั้ง” นั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการในระบบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนนั้นสามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศด้วยการเข้าคูหาเพื่อเลือกตัวแทนเข้าสู่สภา ซึ่งทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยรอคอยและคาดหวังว่าจะเห็นประเทศไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเราจะได้เห็นข้อครหารวมไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งล่วงหน้าจนก่อให้เกิดการล่ารายชื่อถอนถอน กกต. เลยทีเดียว   ซึ่งเหตุการณ์ความไม่พอใจในลักษณะนี้รวมไปถึงความผิดพลาดในการทำงานที่เกิดขึ้นจริงนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เป็นการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ มาหลายครั้งและในแต่ละกรณีก็มีความละเอียดอ่อนไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดแนวคิดว่าหากเรานำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาบริหารและจัดการในระบอบการเลือกตั้งจะแก้ปัญหาได้หรือไม่!?   นายพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน (CIO) บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของไทยภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ รวมถึงประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้   การเลือกตั้งด้วยระบบ Blockchain จะแก้ปัญหาได้หรือเปล่า?   เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) นั้นเป็นระบบฐานข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ทำให้มันดูเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศไหนบนโลกที่ทำการเลือกตั้งสาธารณะด้วยระบบ Blockchain หรือแม้แต่ระบบดิจิทัลทั่วไปเลย   สาเหตุสำคัญคือในกระบวนการเลือกตั้งนั้นมีหลายองค์ประกอบมาก การใช้ระบบ Digital หรือแม้แต่ Blockchain นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้นเช่นการแก้ปัญหาด้าน Software แต่ในกระบวนการเลือกตั้งนั้นยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีก  …

ปั้นแผน “คลาวด์รัฐ” วางงบ 2,200 ล้านบาท

Loading

  สดช.ลุยจัดระเบียบพื้นที่จีดีซีซี ระบุหน่วยงานรัฐใดไม่เคยใช้งานนาน 3 เดือน ต้องถูกเวนคืน หลังปูทางให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมชงของบครม.กว่า 2,200 ล้านบาทต่อปี   นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เปิดเผยว่า แผนงานโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ จีดีซีซี ปี 2566-2568 ได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ไปแล้ว โดยจะให้บริการกับหน่วยงานรัฐประมาณ 25,000 วีเอ็ม ใช้งบประมาณปีละ 2,200 ล้านบาท แต่ทางสำนักฯ งบประมาณ ได้จัดสรรให้เพียงครึ่งเดียว หรือประมาณ 1,100 ล้านบาท   จึงได้ของบประมาณจากทางกองทุนดีอีสนับสนุนงบอีก 700 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีหน่วยงานรัฐแจ้งความต้องการใช้งานเข้ามาถึง 40,000 วีเอ็ม ขณะที่ปัจจุบันโครงการฯ สามารถรองรับได้ประมาณ 30,000 วีเอ็ม เท่านั้น   “ แม้จะมีหน่วยงานรัฐต้องการใช้มาก แต่ สดช.จะมีการสำรวจการใช้งานว่า หน่วยงานที่ขอหรือจองพื้นที่ไว้ แต่ไม่ใช่เคยใช้ในระยะ…

สุดล้ำ EchoSpeech แว่นจับเสียงพูด แค่กระซิบเบา ๆ ก็ได้ยิน

Loading

  [กระซิบปลดรหัส] ปัจจุบันในหลาย ๆ อุปกรณ์หรือสมาร์ตโฟนนั้น ต่างก็มีฟีเจอร์รับคำสั่งผ่านเสียง ที่ผู้พูดสามารถเปิดใช้งานแอปฯ หรือค้นหาจากคีย์เวิร์ดที่อ่านออกเสียงได้เลย แต่หากใครไม่ถนัดออกเสียงจริง ๆ อยากแค่กระซิบเบา ๆ เป็นไปได้ไหม EchoSpeech อาจเป็นคำตอบ   Ruidong Zhang นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Cornell พร้อมทีม ได้เผยงานพัฒนาใหม่อย่าง EchoSpeech แว่นโซนาร์ที่ช่วยจับเสียงของผู้ใช้ขณะสวมแว่นได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอ่านออกเสียงเลย เพียงกระซิบเบา ๆ เช่น สั่งให้ Play/Pause เพลงที่กำลังเล่น สั่งพิมพ์ข้อความแทนคียบอร์ดได้ และสั่งปลดล็อครหัสใน PC หรือสมาร์ตโฟนก็ยังได้     ในด้านเทคนิดนั้น ตัวแว่นจะรับคลื่นเสียงผ่านใบหน้าของผู้ใช้ และตรวจจับการเคลื่อนไหวของปากได้ โดยผ่านทางชุดไมโครโฟนขนาดย่อม จากนั้นก็ใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์โปรไฟล์เสียงสะท้อนแบบเรียลไทม์ จนได้ความแม่นยำมาถึง 95% สร้างจากไฟล์ข้อมูล Text ที่แปลงมาจากเสียงของผู้ใช้ผ่านตัวแว่นนี้เอง   ทั้งนี้ยังพัฒนาในรูปแบบแว่นตา ช่วยให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมองกล้องหรือเอาไมค์จากสมาร์ทโฟนจ่อปาก แต่สามารถพูดกระซิบได้ที ผ่านตัวแว่นที่สวมอยู่นั้นเอง ซึ่งทำงานแบบไร้สายได้…

‘แคสเปอร์สกี้’ แนะยุทธวิธี รับมือหลังถูก ‘ละเมิดข้อมูล’

Loading

    การรั่วไหลของ “ข้อมูลส่วนบุคคล” กลายเป็นปัญหาใหญ่ของทั้งธุรกิจองค์กรและบุคคลทั่วไป ทั้งมีแนวโน้มว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้และต่อๆ ไปในอนาคต   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เปิดมุมมองว่า แม้ว่าการละเมิดข้อมูลจะส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยตรง แต่ความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน   ที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักจะใช้อีเมลแอดเดรสของบริษัทเพื่อลงทะเบียนกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้เมื่อข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น อีเมลแอดเดรส สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ     ข้อมูลดังกล่าวอาจเรียกความสนใจจากอาชญากรไซเบอร์ และจุดชนวนให้เกิดการสนทนาบนเว็บไซต์ดาร์กเน็ตเกี่ยวกับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร มากกว่านั้นข้อมูลดังกล่าวยังสามารถใช้ทำฟิชชิงและวิศวกรรมสังคมได้อีกด้วย   ไม่ควรไล่ใครออก เมื่อเกิดเหตุ   ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ล้วนต้องมีความเสี่ยง ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็กที่สุดที่เก็บสำรองข้อมูลแบบออฟไลน์ไว้ห่างจากสำนักงาน ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่สุดที่ต้องการใช้ชุดโซลูชันการป้องกันขั้นสูง   เนื่องจากค่าเสียหายของการละเมิดข้อมูล ไม่ได้มีเพียงค่าใช้จ่ายในการจัดการกับการกู้คืนหลังการโจมตีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงและการสูญเสียความต่อเนื่องทางธุรกิจ   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้แนะนำรายการตรวจสอบเพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้เร็วยิ่งขึ้น และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยด้านไอทีหลังจากเกิดการละเมิดข้อมูล ดังนี้   1. ประเมินสถานการณ์ : ประเมินความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูลที่มีต่อลูกค้า การประเมินความเสี่ยงช่วยให้ตัดสินใจขั้นตอนต่อไปและการรายงานการละเมิด หากมีความเสี่ยงสูงจะต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยไม่รีรอ   2. ไม่ไล่…