รวมข้อมูลประเด็นความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของโปรแกรม Zoom

Loading

Zoom เป็นโปรแกรมประเภท video conference ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 แพร่ระบาด ทำให้หลายองค์กรต้องปรับรูปแบบการทำงานให้รองรับการประชุมจากนอกสถานที่ หรือสถาบันการศึกษาหลายแห่งต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนมาเป็นจากระยะไกลแทน อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายได้มีความกังวลต่อประเด็นความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของการใช้งานโปรแกรม Zoom เนื่องจากมีการรายงานช่องโหว่และพฤติกรรมการทำงานในบางจุดที่อาจก่อให้เกิดข้อกังวลดังกล่าว ไทยเซิร์ตได้รวบรวมข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัย ตัวติดตั้งของโปรแกรม Zoom เวอร์ชัน Mac มีการเรียกใช้สคริปต์บางอย่างในสิทธิ์ระดับสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับระบบได้ ทาง Zoom รับทราบและแก้ไขแล้ว (อ้างอิง) โปรแกรม Zoom เวอร์ชัน Windows มีช่องโหว่ที่อาจถูกขโมยรหัสผ่านบัญชีได้ด้วยการหลอกให้คลิกลิงก์ ส่วนเวอร์ชัน Mac มีช่องโหว่ที่อาจถูกดักฟังได้ด้วยการหลอกให้เข้าเว็บไซต์อันตราย ทาง Zoom รับทราบและแก้ไขแล้ว (อ้างอิง) รูปแบบการรับส่งข้อมูลภาพและเสียงในระหว่างที่มีการทำ video conference นั้นไม่ได้ใช้วิธีเข้ารหัสลับข้อมูลในรูปแบบ end-to-end (ต้นทางจนถึงปลายทาง) ซึ่งอาจถูกผู้ไม่หวังดีดักฟังการประชุมได้ ทาง Zoom ยอมรับว่ามีประเด็นนี้จริง ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะปรับปรุงในเรื่องนี้หรือไม่ แต่ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าข้อมูลที่รับส่งระหว่างเครื่องของผู้ใช้กับเซิร์ฟเวอร์ของ Zoom นั้นมีการเข้ารหัสลับข้อมูลแล้ว (อ้างอิง) รูปแบบของอัลกอริทึมที่ใช้เข้ารหัสลับข้อมูลนั้นมีความเสี่ยงที่อาจถูกโจมตีได้ง่าย (ECB mode)…

ไต้หวันห้ามหน่วยงานรัฐใช้ “ซูม” จากความกังวลเรื่องความปลอดภัย

Loading

รัฐบาลไต้หวันแนะนำให้หน่วยงานรัฐบาลไต้หวันยุติการใช้งานแอพประชุมผ่านวิดีโอออนไลน์ของบริษัท Zoom Video Communications เนื่องจากความกังวลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว แถลงการณ์ของคณะรัฐมนตรีไต้หวัน ระบุว่า หากหน่วยงานใดต้องการประชุมผ่านวิดีโอออนไลน์ให้หลีกเลี่ยงแอพของบริษัทที่มีปัญหาด้านความปลอดภัย เช่น Zoom ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการไต้หวัน ยืนยันว่าได้สั่งห้ามใช้ Zoom สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แล้ว ผู้ใช้แอพ Zoom มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 200 ล้านคนตั้งแต่เดือนมีนาคม หลังจากที่คนทำงานจำนวนมากต้องทำงานจากบ้าน และนักเรียนต้องเรียนผ่านวิดีโอออนไลน์ แต่บริษัท Zoom กำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักจากผู้ใช้ จากการที่ไม่มีระบบเข้ารหัสการประชุมแต่ละครั้ง รวมทั้งเหตุการณ์ที่เรียกว่า “zoombombing” หรือการที่มีแขกที่ไม่ได้รับเชิญปรากฎตัวออกมาระหว่างการประชุมออนไลน์ เป็นต้น รัฐบาลไต้หวันถือเป็นประเทศแรกที่แนะนำอย่างเป็นทางการให้หลีกเลี่ยงการใช้ Zoom ขณะที่ FBI ของสหรัฐฯ ก็มีคำเตือนให้ระวังการใช้แอพนี้เช่นกัน เมื่อไม่กี่วันก่อน เอริค หยวน ซีอีโอ ของ Zoom Video Communications Inc. กล่าวว่า ทีมงานของบริษัทกำลังพยายามแก้ไขสถานการณ์เพื่อฟื้นฟูชื่อเสียงของ Zoom ความนิยมของ Zoom ในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ นอกจากสำหรับการประชุมทีมงานและการอบรมแบบออนไลน์แล้ว ผู้ใช้งานยังใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อกิจกรรมนันทนาการอื่น ๆ เช่น…

e-Meeting กับข้อกำหนดที่กฎหมายรองรับ เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่อง

Loading

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หน่วยงานพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting)  การบังคับใช้และผลทางกฎหมาย เงื่อนไข ข้อกำหนดต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำแบบประเมินความสอดคล้องของระบบประชุมจากผู้ให้บริการระบบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกใช้ระบบประชุมของผู้สนใจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗ การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การบังคับใช้และผลทางกฎหมาย ใช้สำหรับการประชุมที่ต้องการผลตามกฎหมาย หรือกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการประชุม เช่น การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น หรือการประชุมของคณะกรรมการต่างๆ ใช้ได้ทั้งการประชุมของภาครัฐ และภาคเอกชน คนที่เข้าร่วมประชุมมีเงื่อนไขอย่างไร ผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 1 ใน 3 ขององค์ประชุมต้องอยู่ในที่ประชุมเดียวกัน ผู้ร่วมประชุมทั้งหมดต้องอยู่ในราชอาณาจักรขณะที่ประชุม ข้อกำหนดของระบบ e-Meeting สำหรับการประชุมที่จะมีผลตามกฎหมาย มีกระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ และต้องสอดคล้องตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ ผู้ร่วมประชุมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ เชื่อมโยงสถานที่ประชุมตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ร่วมประชุมสามารถสื่อสารกันได้สองทาง มีอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น โทรศัพท์ กล้อง ไมโครโฟน มีอุปกรณ์เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงหรือแปลงสัญญาณเสียงหรือทั้งเสียงและภาพที่เหมาะสม การบริหารจัดการระบบ…

ระวังภัย พบการโจมตีอุปกรณ์ IoT เพื่อฝังบอทเน็ต dark_nexus ในไทยตกเป็นเหยื่อไม่ต่ำกว่า 172 เครื่อง

Loading

ข้อมูลทั่วไป เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 บริษัท Bitdefender ได้แจ้งเตือนการโจมตีอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เพื่อฝังมัลแวร์ชื่อ dark_nexus ซึ่งเป็นมัลแวร์ประเภทบอทเน็ต (botnet) ที่เปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเชื่อมต่อเข้ามาควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ที่ตกเป็นเหยื่อเพื่อใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ได้ เช่น สั่งการให้อุปกรณ์จำนวนมากเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางในเวลาเดียวกัน จุดประสงค์เพื่อทำให้ระบบดังกล่าวไม่สามารถให้บริการได้ (เป็นรูปแบบการโจมตีประเภท DDoS หรือ Distributed Denial of Service) ทั้งนี้ ทาง Bitdefender พบว่าจุดประสงค์ของการแพร่กระจายมัลแวร์ในครั้งนี้คือเพื่อรับจ้างโจมตีแบบ DDoS (DDoS-for-hire service) จากการวิเคราะห์ของทีม Bitdefender พบว่ามัลแวร์ dark_nexus น่าจะถูกพัฒนาต่อยอดมาจากมัลแวร์ Qbot และ Mirai ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่เคยถูกใช้เพื่อโจมตีอุปกรณ์ IoT มาแล้วก่อนหน้านี้ เนื่องจากพบโค้ดและโมดูลหลายส่วนที่ใกล้เคียงกับมัลแวร์ก่อนหน้า ช่องทางการโจมตี มีทั้งอาศัยช่องโหว่ของตัวอุปกรณ์และอาศัยการเดารหัสผ่านสำหรับเข้าถึงการตั้งค่า จากข้อมูลของ Bitdefender พบว่าผู้ประสงค์ร้ายได้ใช้มัลแวร์นี้โจมตีอุปกรณ์ IoT ไปแล้วทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีอุปกรณ์ที่ได้ตกเป็นเหยื่อแล้วอย่างน้อย 172…

รวมขั้นตอนการตั้งค่าความปลอดภัยให้กับการประชุมออนไลน์

Loading

เนื่องจากการระบาดของโรค Coronavirus หรือ COVID-19 แอปพลิเคชั่นการประชุมทางวิดีโอ Zoom ได้กลายเป็นแอปพลิเคชั่น ที่ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว หรือแม้แต่การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานในองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ด้วยความนิยมซึ่งเพิ่มมากขึ้น การถูกนำมาใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์และก่อกวนในรูปแบบต่างจึงเกิดขึ้นและมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นตาม ตัวอย่างหนึ่งซึ่งเราได้เคยพูดถึงไปแล้วในข่าวคือการ Zoom-bombing ซึ่งมีจุดประสงค์ในการก่อกวนผู้เข้าร่วมการประชุมในรูปแบบต่างๆ เช่นภาพอนาจาร, ภาพที่น่าเกลียดหรือภาษาและคำพูดที่ไม่สุภาพเพื่อทำลายการประชุม ในวันนี้ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคาม (Intelligent Response) จาก บริษัท ไอ-ซีเคียว จำกัด จะมาพูดถึงเช็คลิสต์ง่ายๆ ในการช่วยให้การประชุมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 1. อย่าเปิดเผย Personal Meeting ID หรือ Meeting ID ให้ใครรู้ ผู้ใช้ Zoom ทุกคนจะได้รับ “Personal Meeting ID” (PMI) ที่เชื่อมโยงกับบัญชี ถ้าหากให้ PMI กับบุคคลอื่นๆ หรือ PMI หลุดไปสู่สาธารณะ ผู้ไม่หวังดีจะสามารถทำการตรวจสอบว่ามีการประชุมอยู่หรือไม่ และอาจเข้ามาร่วมประชุมหรือก่อกวนได้หากไม่ได้กำหนดรหัสผ่าน 2. ใส่รหัสผ่านในการประชุมทุกครั้ง…

กรณีศึกษา ข้อควรพิจารณาก่อนโพสต์ภาพการประชุม video conference ออกสู่อินเทอร์เน็ต

Loading

จากกรณีไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 แพร่ระบาด ทำให้หลายองค์กรได้มีมาตรการ work from home เพื่อให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ โดยอาจมีการประชุมออนไลน์แบบ video conference เป็นระยะๆ อย่างไรก็ตาม การนำภาพในขณะที่มีการประชุมออนไลน์มาเผยแพร่ออกสู่อินเทอร์เน็ตนั้นอาจมีความเสี่ยงทั้งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวได้ โดยตัวอย่างนี้จะเป็นการยกกรณีศึกษาการประชุมรัฐสภาของประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษได้โพสต์ภาพในบัญชี Twitter (https://twitter.com/BorisJohnson/status/1244985949534199808) ซึ่งเป็นภาพที่ใช้กล้องถ่ายหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เปิดโปรแกรม Zoom เพื่อใช้ในการทำ video conference เหตุการณ์ดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หลายรายได้แสดงความเห็นว่าในหน้าจอนั้นมีข้อมูลหลายอย่างที่ผู้ไม่หวังดีอาจนำไปใช้เพื่อการโจมตีได้ ตัวอย่างเช่น ใน title bar ของโปรแกรม Zoom ได้มีการระบุหมายเลข ID ของห้องประชุม ซึ่งผู้ประสงค์ร้ายอาจเชื่อมต่อเข้าไปยังห้องประชุมนี้ได้หากไม่ได้มีการตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัยเพียงพอ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประชุม แสดงให้เห็นว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้งานคือ Windows 10 ที่ติดตั้ง Google Chrome, Microsoft Powerpoint, และ Microsoft Outlook ซึ่งผู้ประสงค์ร้ายอาจโจมตีผ่านช่องโหว่ของโปรแกรมเหล่านั้นได้ (หากมี) หรืออาจใช้วิธีโจมตีแบบ social engineering…