ธนาคารสหรัฐฯ ใช้ปัญญาประดิษฐ์ จับตาลูกค้าและพนักงาน

Loading

  ธนาคารอเมริกันหลายๆ แห่งเริ่มใช้ซอฟต์แวร์เฝ้าระวังและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิชั่นเพื่อคอยจับตาดูผู้คนที่มาใช้บริการของตน คอมพิวเตอร์ วิชั่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำความเข้าใจกับโลกที่เรามองเห็น จากการตรวจสอบของสำนักข่าวรอยเตอร์พบว่าซอฟต์แวร์ดังกล่าวนี้ถูกใช้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับลูกค้า เพื่อเฝ้าดูพนักงาน และเพื่อตรวจดูผู้คนที่นอนหลับอยู่ใกล้ๆ เครื่องถอนเงินอัตโนมัติหรือตู้ ATM ธนาคารต่างๆ เช่น City National Bank of Florida และ JPMorgan Chase & Co ได้ทดลองใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าและปัญญาประดิษฐ์ (AI) แล้ว การเติบโตของเครื่องมือ AI ในอุตสาหกรรมการธนาคารอาจส่งสัญญาณการแพร่กระจายของเทคโนโลยีนี้ไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย Bobby Dominguez หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยข้อมูลของธนาคาร City National Bank กล่าวว่าการที่สามารถเปิดใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้าได้นั้นก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ และว่าในเมื่อเราก็ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้กับโทรศัพท์มือถืออยู่แล้ว เราก็น่าจะนำมาใช้ในโลกความจริงได้ Dominguez กล่าวต่อไปว่าธนาคาร City National จะเริ่มทดลองใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในปีหน้าเพื่อระบุลูกค้าและพนักงาน โดยเขาได้เพิ่มซอฟต์แวร์ที่สามารถค้นหารายชื่อบุคคลควรระวังของรัฐบาลไว้ด้วย อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีจดจำใบหน้าได้สร้างความกังวลด้านสิทธิพลเมืองในหมู่คนจำนวนมาก โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจับกุมผู้บริสุทธิ์ที่เทคโนโลยีนี้ได้ระบุตัวผิดๆ ซอฟต์แวร์ดังกล่าวถูกใช้อย่างไม่เป็นสัดส่วนในชุมชนที่ยากจนและเป็นชนกลุ่มน้อย นักวิจารณ์กล่าวอีกว่าเทคโนโลยีนี้ยังส่งผลให้สูญเสียความเป็นส่วนตัวอีกด้วย ในปีนี้ที่เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ห้ามไม่ให้ธุรกิจต่างๆ ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในที่สาธารณะ และ Rite…

สนามบินดูไบเริ่มใช้วิธี ‘ตรวจม่านตา’ แทนหนังสือเดินทาง

Loading

    ที่สนามบินดูไบ ผู้โดยสารสามารถใช้ม่านตาเพื่อยืนยันตัวตนโดยไม่จำเป็นต้องแสดงเอกสารใดๆ ระบบดังกล่าวเปิดตัวขึ้นในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ยังคงต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ซึ่งรัฐบาลยกให้โครงการนี้เป็นเครื่องมือในการช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เพราะวิธีดังกล่าวช่วยให้ผู้โดยสารไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ระบบสแกนม่านตานี้ใช้ biometric หรือชีวมิติ ซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลทางชีวภาพที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลเพื่อระบุตัวตน ทั้งนี้ระบบจดจำใบหน้าก็เป็นการใช้ไบโอเมตริกรูปแบบหนึ่ง ระบบดังกล่าวใช้วิธีการคล้ายกับที่ใช้ในเทคโนโลยีการพิมพ์ลายนิ้วมือ สนามบินดูไบใช้อุปกรณ์ในการสแกนม่านตาซึ่งเป็นส่วนที่มีสีของดวงตา โดยการให้ผู้โดยสารมองตรงเข้าไปในกล้องเพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลทางชีวภาพได้ การใช้ระบบสแกนม่านตานั้นแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความแม่นยำของเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไบโอเมตริกของม่านตาถือว่าเป็นระบบที่เชื่อถือได้มากกว่าระบบที่สแกนใบหน้าของผู้คนจากระยะไกล ในสนามบินดูไบซึ่งเป็นสนามบินที่พลุกพล่านที่สุดในโลกสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ ผู้โดยสารจะเดินเข้าเครื่องสแกนม่านตาหลังจากเช็คอินแล้ว หลังจากที่มองเข้าไปในกล้องพวกเขาก็จะสามารถผ่านจุดตรวจหนังสือเดินทางได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยที่ไม่ต้องพกบัตรเดินทางกระดาษหรือใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ เจ้าหน้าที่ในดูไบกล่าวว่าการสแกนดังกล่าวนี้จะเชื่อมต่อข้อมูลม่านตาของบุคคลกับฐานข้อมูลการจดจำใบหน้าของ UAE ทำให้ผู้โดยสารไม่ต้องใช้เอกสารในการเดินทาง ระบบนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทสายการบิน Emirates และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของดูไบ เจ้าหน้าที่กล่าวอีกว่าระบบจะช่วยให้ผู้โดยสารผ่านกระบวนการอัตโนมัติตั้งแต่การเช็คอินไปจนถึงการขึ้นเครื่องบินได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย พลตรี Obaid Mehayer Bin Suroor รองอธิบดีกองอำนวยการทั่วไปด้านถิ่นที่อยู่และกิจการต่างประเทศของดูไบบอกกับ The Associated Press ว่าการสแกนม่านตานี้เป็นระบบอัจฉริยะที่ใช้เวลาเพียงห้าถึงหกวินาที อย่างไรก็ตาม ผู้คนยังหวั่นเกรงว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัวเช่นเดียวกันกับระบบจดจำใบหน้า ทั้งนี้ UAE ได้เผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการสอดส่องนักข่าวและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ในคำชี้แจงสิทธิส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบไบโอเมตริก Emirates ระบุไว้ว่าทางสายการบินเชื่อมโยงใบหน้าของผู้โดยสารกับข้อมูลระบุตัวบุคคลอื่นๆ รวมถึงหนังสือเดินทางและข้อมูลเที่ยวบิน นอกจากนี้ยังเสริมว่าข้อมูลดังกล่าวสามารถเก็บไว้ได้ตราบเท่าที่มีความจำเป็นตามสมควรสำหรับวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล นอกจากนี้ในเว็บไซต์ของ Emirates ยังระบุด้วยว่าข้อมูลไบโอเมตริกที่รวบรวมทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในสารบบ…

จีนเรียก 3 ยักษ์เทคโนโลยี คุมการใช้ deepfake บนแพลตฟอร์ม

Loading

    รอยเตอร์ส รายงาน (18 มี.ค.) – หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้มีคำสั่งเรียกบริษัท เทคโนโลยีในประเทศ 11 ราย รวมถึง อาลีบาบากรุ๊ป, เทนเซนต์และไบต์แดนซ์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ‘deepfake’ บนแพลตฟอร์มของตน ผู้ดูแลระบบไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี(18 มี.ค.) ว่ากระทรวงความมั่นคงสาธารณะได้พูดคุยกับบริษัทต่าง ๆ เกี่ยวกับ“ การประเมินความปลอดภัย” และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับแอปโซเชียลปลอมภาพและเสียง ซึ่ง Kuaishou (ไคว่โส่ว) ของบริษัท Beijing Kuaishou Technology และ เสี่ยวหมี่ คอร์ป เข้าร่วมการประชุมด้วยเช่นกัน รายงานข่าวกล่าวว่า บริษัททั้งหมด ยังไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นใด ๆ Deepfakes คือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอหรือไฟล์เสียงที่สมจริงเกินจริง แต่เป็นของปลอม โดยทำเหมือนบุคคลเป็นผู้พูดหรือทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ทำ จีนได้เพิ่มการตรวจสอบยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาโดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมผูกขาดและการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลยังแจ้งให้ บริษัทต่างๆ“ ดำเนินการประเมินความปลอดภัยด้วยตนเอง” และส่งรายงานไปยังรัฐบาลเมื่อพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่หรือบริการข้อมูลใหม่ที่ “มีความสามารถในการขับเคลื่อนสังคม” ทั้งนี้ บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ของจีน ได้ลอกเลียนแบบแอปเสียง Clubhouse…

รัฐบาลสิงคโปร์เดินหน้าลดความเสี่ยงด้าน IT หลัง Digital Transformation อย่างรวดเร็วในช่วงโควิด 19

Loading

  คณะกรรมการ Public Accounts Committee ของสิงคโปร์รายงานถึงสถานการณ์ของระบบดิจิทัลและ IT ภายในภาครัฐ โดยพบความเสี่ยงในหลายด้านเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างกว้างและรวดเร็วในช่วงวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก็เป็นโจทย์ด้าน IT ที่รัฐบาลวางแผนจะแก้ไขต่อไป รายงานของ Public Accounts Committee เผยถึงจุดอ่อนและความเสี่ยงในระบบ IT ของหน่วยงานราชการสิงคโปร์ในปี 2020 ที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก Digital Transformation ที่ถูกเร่งให้เกิดในช่วงโรคระบาด ความเสี่ยงเหล่านี้ก็มีเช่น ความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความปลอดภัยระบบ การจัดการกับบัญชีผู้ใช้สำหรับพนักงานของรัฐที่โยกย้ายตำแหน่งหรือไม่ใช้งานแล้ว ระบบ Log ที่สามารถตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบ IT ได้ และกลกไกการจัดการอื่นๆ เช่น กระบวนการรายงานเหตุเกี่ยวกับความปลอดภัยข้อมูล โดยความเสี่ยงเหล่านี้มีทั้งปัญหาเชิงเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน และเชิงนโยบาย แผนการต่อไปของรัฐบาลสิงคโปร์จึงเป็นการอุดรูรั่วเหล่านี้ และเสริมสร้างระบบไอทีที่แข็งแรง ตรวจสอบได้ขึ้น เพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือในอนาคตที่จะมีการพึ่งพาระบบดิจิทัลมากขึ้น สิงคโปร์มีหน่วยงานอย่าง Smart Nation and Digital Government Group (SNDGG) มาช่วยประเมินความเสี่ยง และจัดการปัญหาด้วยโครงการต่างๆ…

Amazon Ring จับมือกับกองตำรวจและดับเพลิงกว่า 2,000 หน่วยในอเมริกา

Loading

  Ring ระบบรักษาความปลอดภัยในบ้านจาก Amazon ยังคงให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับเสียงคัดค้าน โดย The Financial Times ได้รายงานว่า Amazon Ring ร่วมมือกับกองตำรวจและหน่วยดับเพลิงรวม 2,014 หน่วยในอเมริกาแล้ว ซึ่งมีหน่วยงาน 1,189 หน่วยเพิ่มขึ้นมาในปี 2563 มีเพียงรัฐมอนทานาและรัฐไวโอมิง สองรัฐนี้เท่านั้นที่ไม่ปรากฏความร่วมมือดังกล่าว     หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากความร่วมมือนั้น โดย Ring เผยว่า หน่วยงานต่าง ๆ ก็ขอวิดีโอจากเหตุการณ์มากกว่า 22,335 ครั้งในปี 2563 ซึ่งมีคำขอกว่า 1,900 รายการ เช่น หมายเรียก หมายค้น และคำสั่งศาล สำหรับฟุตเทจหรือข้อมูลจากกล้อง Ring แม้ว่าเจ้าของอุปกรณ์จะปฏิเสธคำขอ ทั้งนี้ จากตัวเลขเผยว่า Amazon ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอ 57 เปอร์เซ็นต์ ลดลงจาก 68 เปอร์เซ็นต์เมื่อปี 256 ผู้สนับสนุนประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวได้แสดงความกังวลถึงวิธีการที่ข้อมูลจาก…

‘เมียนมา’ กว่าล้าน โหลดแอพ ‘Bridgefy’ เลี่ยงกองทัพตัดสัญญาณเน็ต

Loading

  “เมียนมา” กว่าล้านคน โหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” ใช้สื่อสารหลังกองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร เลี่ยงตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตอีกในอนาคต ชาวเมียนมากว่าล้านคนโหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” (บริดจ์ไฟ) เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีฐานอยู่ในเม็กซิโก ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่า แอพฉุกเฉินยอดนิยม ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้ระบบ “Bluetooth Mesh System” ในการค้นหาคนที่เล่นบริดจ์ไฟ เหมือนกันในรัศมี 100 เมตร และเชื่อมต่อกันในห้องแชตสาธารณะ โดยไม่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และในเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่ฮ่องกง เมื่อปีที่แล้ว ในเหตุการณ์กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารเมื่อช่วงเช้าของวันจันทร์ (1 ก.พ.) ที่มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตในกรุงเนปิดอว์, ย่างกุ้ง และพื้นที่บางส่วนของประเทศ ฮอร์เก ริออส ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริดจ์ไฟ เปิดเผยว่า ในระหว่างเย็นวันจันทร์ถึงวันอังคารที่ผ่านมา มีผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 1.1 ล้านคนในเมียนมา จากจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ราว 22 ล้านคน บริดจ์ไฟทวีตข้อความว่า หวังว่าประชาชนในเมียนมาจะพบว่า แอพของเรามีประโยชน์ในช่วงเวลาอันยากลำบาก แม้ว่า ขณะนี้การสื่อสารจะกลับมาใช้ได้ตามปกติตั้งแต่เย็นวันจันทร์…