ญี่ปุ่นเจ๋ง! พัฒนาระบบ AI จดจำใบหน้าแม้จะสวมใส่หน้ากากอนามัย

Loading

  ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 นี้เป็นที่แน่นอนว่าทุกคนจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่กำลังระบาด แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือในขณะที่สวมใส่หน้ากากอนามัยนั้น เราจะไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นใคร ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมได้ หรือหากต้องถอดหน้ากากอนามัยเพื่อยืนยันตัวตนก็อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้เกิดนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท NEC จากประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า NeoFace Live Facial Recognition ซึ่งเป็นอัลกอริทึมที่ทำให้สามารถยืนยันตัวตนได้แม้ว่าจะใส่หน้ากากอนามัยก็ตาม โดยระบบการทำงานของเจ้าตัวอัลกอริทึมนี้จะสแกนในส่วนของใบหน้าที่ไม่ได้ถูกปกปิด และจากการคิดค้นพัฒนาจนได้ระบบที่มีประสิทธิภาพนั้นจึงทำให้การยืนยันตัวตนของ NeoFace Live Facial Recognition ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งวินาที โดยมีอัตราความแม่นยำมากกว่า 99.99% เลยทีเดียว โดยตำรวจนครบาลของญี่ปุ่นได้เป็นกลุ่มผู้ทดลองใช้ระบบของ NEC เพื่อการเปรียบเทียบใบหน้าในฝูงชน นอกจากนี้สายการบินลุฟต์ฮันซา (lufthansa) และสวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (Swiss International Air Lines) ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าของ NEC ด้วย และ NEC ยังได้ทดลองใช้ระบบสำหรับการชำระเงินอัตโนมัติที่ร้านค้าในสำนักงานใหญ่ในโตเกียวอีกด้วย     Shinya Takashima ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกแพลตฟอร์มดิจิทัลของ NEC ได้กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ระบบดังกล่าวจะทำให้ผู้คนสามารถเลี่ยงการสัมผัสกับพื้นผิวต่าง ๆ ได้ เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้คนได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้คนเกิดข้อกังวลว่า ระบบดังกล่าวจะเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือไม่…

ก้าวไปอีกขั้น! เครือข่ายส่งข้อมูลผ่านควอนตัมของจีน ส่งได้ไกล 4,600 กม.

Loading

  เหอเฝย, 7 ม.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์จีนได้สร้างเครือข่ายการส่งข้อมูลผ่านอนุภาคควอนตัมด้วยดาวเทียมแบบบูรณาการ อันประกอบด้วยสายใยแก้ว 700 เส้นและจุดเชื่อมต่อจากภาคพื้นดินสู่ดาวเทียมจำนวน 2 แห่ง ซึ่งสามารถทำการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (Quantum Key Distribution: QKD) ระหว่างผู้ใช้มากกว่า 150 รายในระยะทางรวม 4,600 กิโลเมตร งานวิจัยดังกล่าวดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นำทีมโดยพานเจี้ยนเหว่ย นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ (Nature) ออนไลน์ เครือข่ายดังกล่าว ประกอบด้วยเครือข่ายควอนตัมในพื้นที่เมืองใหญ่ หรือ คิวแมน (QMAN) จำนวน 4 เครือข่าย ได้แก่ ปักกิ่ง จี่หนาน เหอเฝย และเซี่ยงไฮ้ สายใยแก้วซึ่งเป็นเส้นทางรับส่งหลักความยาวกว่า 2,000 กิโลเมตรหนึ่งเส้น และจุดเชื่อมต่อภาคพื้นดิน-ดาวเทียม 2 แห่ง ที่เชื่อมระหว่างสถานีภาคพื้นดินซิงหลงในปักกิ่งกับสถานีภาคพื้นดินหนานซานในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ซึ่งตั้งอยู่ไกลกัน 2,600 กิโลเมตร โดยสถานีซิงหลงยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายคิวแมนของปักกิ่งผ่านสายใยแก้วอีกด้วย กฎฟิสิกส์ควอนตัมระบุว่า การสื่อสารด้วยควอนตัมมีความปลอดภัยสูงเป็นพิเศษ เพราะไม่สามารถถูกดักฟัง…

แคสเปอร์สกี้เผยสถิติปี 2020 พบไฟล์อันตรายเกิดใหม่เฉลี่ยวันละ 360,000 ไฟล์ เพิ่มขึ้น 5.2% จากปีก่อน

Loading

ในปี 2020 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบไฟล์อันตรายเกิดใหม่เฉลี่ยแล้ววันละ 360,000 ไฟล์ คิดเป็นเพิ่มขึ้น 5.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สาเหตุน่าจะมาจากการเติบโตขึ้นอย่างมากของโทรจัน (ไฟล์ตัวร้ายที่ก่ออันตรายได้มากมายหลายอย่าง รวมทั้งลบหรือแอบจารกรรมข้อมูลด้วย) และแบ็คดอร์ (โทรจันประเภทหนึ่งที่ผู้ก่อการร้ายสามารถเข้ามายึดควบคุมเครื่องของเหยื่อ) คิดเป็นอัตราเพิ่ม 40.5% และ 23% ตามลำดับ และนี่คือเทรนด์ที่พบในรายงาน Kaspersky Security Bulletin: Statistics of the Year Report     ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ค้นพบไฟล์อันตรายเฉลี่ยแล้ว 360,000 ไฟล์ใหม่ทุกวันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมากกว่าปีก่อนหน้านี้ 18,000 ไฟล์ (เพิ่มขึ้น 5.2%) และเพิ่มจากปี 2018 คือ 346,000 ไฟล์ ในบรรดาไฟล์อันตรายเหล่านี้ 60.2% เป็นโทรจันทั่วไปไม่เจาะจงประเภท และพบว่ามีโทรจันเพิ่มขึ้น 40.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และยังพบแบ็คดอร์เพิ่มขึ้นด้วย รวมทั้งเวิร์ม (โปรแกรมอันตรายที่ทำซ้ำตัวเองบนระบบ) ถูกเขียนด้วยภาษา VisualBasicScript…

นักวิจัยคิดค้นวิธีการทำให้ RAM แผ่สัญญาณ Wi-Fi เพื่อลอบขโมยข้อมูล

Loading

  Mordechai Guri นักวิจัยจาก Ben-Gurion University of the Negev ในอิสราเอลได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำให้ RAM แผ่สัญญาณ Wi-Fi ออกมาเพื่อลอบขโมยข้อมูลสำคัญได้   ในสภาพแวดล้อมที่มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างเข้มงวดเช่น หน่วยงานรัฐบาลหรือทางการทหาร จะมีการแยกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลสำคัญไว้ในส่วนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต และรักษาระยะห่างจากการเข้าถึง (Air-gapped) ซึ่งล่าสุดนักวิจัยได้เผยแพร่ผลงานการโจมตีหรือ AIR-FI ที่คาดว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อมาตรการนี้ แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะไม่มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณเลยก็ตาม แต่นักวิจัยหัวใสก็สรรค์สร้างวิธีการอันบรรเจิดออกมาจนได้ คืออย่างที่เรารู้กันว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาแน่นอน ซึ่งคลื่นสัญญาณวิทยุก็คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยนักวิจัยสามารถใช้มัลแวร์เข้าไปสร้างการผ่านของกระแสไฟฟ้าให้ RAM เกิดการแผ่สัญญาณที่ช่วงคลื่นย่าน 2.4 GHz อย่างคงที่ ส่งผลให้เมื่อนำอุปกรณ์รับสัญญาณมาอยู่ในระยะก็สามารถลอบขโมยข้อมูลออกมาได้ นอกจากนี้นักวิจัยชี้ว่าการโจมตีนี้จะสามารถใช้ได้จากสิทธิ์ในการใช้งานตามปกติไม่ต้องเป็นถึง Root หรือ Admin และยังใช้บน OS ใดหรือโจมตีจากใน VM ก็ได้ โดยทั่วไปแล้วแรมสมัยใหม่สามารถถูกทำให้แผ่สัญญาณย่าน 2.4 GHz แต่แรมรุ่นเก่าๆ สามารถ Overclock ให้มีผลลัพธ์นี้ได้เช่นกัน วิธีการนี้ถูกตีพิมพ์ในงานวิจัย “AIR-FI: Generating Covert WiFi…

บริษัทเทคโนโลยีสร้างเครื่องมือช่วยผู้รับข่าวแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลบิดเบือน

Loading

Manchetes africanas 2 abril: Twitter e Facebook querem combater “fake news” sobre Covid-19 ในยุคที่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ดูเหมือนจะท่วมท้นจากแหล่งที่หลากหลายโดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์และจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดบิดเบือนทั้งจากเจตนาหรือจากความไม่จงใจก็ตาม การหาข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ดังที่คุณจอห์น เกเบิ้ล ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของเว็บไซต์ Allsides.com ได้ตั้งข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนล้วนมีอคติหรือความลำเอียงอยู่ในตัว คือมีความโน้มเอียงที่จะคิดหรือเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับ ตามประสบการณ์ที่เคยสัมผัส และจากการตีความทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ รวมทั้งจากสิ่งที่เราอาจไม่รู้หรือไม่เข้าใจด้วย และเรื่องนี้จะยิ่งเป็นปัญหาโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สำคัญหรือสำหรับเรื่องสำคัญบางอย่างซึ่งมีข่าวสารข้อมูลให้เลือกมากมายและบางครั้งข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไปไม่ว่าจะเป็นผลจากเจตนาการเผยแพร่ข้อมูลที่ปิดเบือนหรือก็ตาม คุณจอห์น แซนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้และผลกระทบของ Knight Foundation ชี้ว่าในขณะนี้ 80% ของคนอเมริกันมีความกังวลว่าข้อมูลที่ถูกบิดเบือนจะส่งผลต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นได้ และจากปัญหาซึ่งมาจากข่าวปลอมหรือจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนหรือแม้กระทั่งข้อมูลที่จงใจถูกเลือกมาอย่างไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่ตรงกับบริบทที่ควรจะเป็นนั้น ขณะนี้ก็มีธุรกิจด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อย่างน้อยสองรายที่พยายามให้เครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้รับสารสามารถเปรียบเทียบและแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ได้ดีขึ้น คุณฮาร์ลีน คอร์ ซีอีโอของ Ground News เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามช่วยให้ผู้รับข่าวสารตัดสินใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องหรือถูกบิดเบือนหรือไม่ โดย Ground News เป็นแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่อาจจะเรียกว่าเป็นแพลตฟอร์มแห่งแรกของโลกซึ่งช่วยเปรียบเทียบเนื้อหาของการรายงานข่าวด้วยการประมวลแหล่งที่มาของการรายงานเรื่องเดียวกันให้ผู้รับสารได้เปรียบเทียบ ทั้งยังมีการจำแนกและระบุจุดยืนของแต่ละสื่อให้ผู้รับสารได้พิจารณาประกอบด้วยตั้งแต่แนวซ้ายจัดจนถึงขวาจัด ตัวอย่างเช่น Ground News จัดให้นิตยสาร The New Yorker…

Telegram คืออะไร ปลอดภัยแค่ไหน มีอะไรเด่น

Loading

ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันส่งข้อความให้เลือกใช้หลายแอป ไม่ว่าจะเป็นแอปยอดฮิตในไทยอย่าง LINE แอปสากลอย่าง WhatsApp หรือแอปสายจีนอย่าง WeChat และอีกแอปหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้ใครก็คือ Telegram Telegram คืออะไร Telegram เป็นแอปพลิเคชันส่งข้อความที่ก่อตั้งโดยสองพี่น้องชาวรัสเซีย ชื่อ Pavel Durov และ Nikolai Durov ในปี 2013 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ให้กำเนิด “VK” เครือข่ายสังคมออนไลน์สัญชาติรัสเซียมาแล้ว ด้านโมเดลธุรกิจ Telegram เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ฟรี 100 เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีทางเลือกให้ต้องจ่ายค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น โดยมี Pavel เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนจำนวนมหาศาล Telegram ให้ข้อมูลว่าเงินจำนวนนี้ยังเพียงพอ แต่หากประสบปัญหาในอนาคตก็อาจเพิ่มทางเลือกแบบเสียเงินเข้ามา อย่างไรก็ตาม Telegram จะไม่พุ่งเป้าที่การแสวงผลกำไร เมื่อเดือนเมษายน 2563 Telegram มีผู้ใช้ต่อเดือนอยู่ที่ 400 ล้านคน มีผู้ใช้ใหม่อย่างต่ำ 1.5 ล้านคนต่อวัน และมีสติ๊กเกอร์ให้ใช้งานกว่า 2 แสนชุด Telegram ปลอดภัยแค่ไหน Telegram โฆษณาตัวเองว่ามีความปลอดภัยกว่าแอปพลิเคชันกระแสหลักอย่าง…