เปิดโลกของแมลง (และการจารกรรม?) นักวิจัยประดิษฐ์กล้องถ่ายทอดสดที่เบาและเล็กมาก จนติดตั้งบนด้วงได้

Loading

ข่าวหลายวันแล้ว แต่เราคิดว่าน่าสนใจดี เลยขออนุญาตหยิบมาเล่าให้ทุกๆ คนได้อ่านกัน เคยแอบสงสัยไหมว่า บรรดาแมลงตัวเล็กๆ ‘มอง’ โลกที่เราอาศัยอยู่ยังไงนะ? ในไม่ช้า เราก็อาจจะได้คำตอบแบบไม่ต้องจินตนาการเอาเอง แต่เป็นภาพเคลื่อนไหวที่มาจากตัวแมลงจริงๆ เพราะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันในสหรัฐอเมริกา ที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม เพิ่งประดิษฐ์กล้องถ่ายทอดสดขนาดจิ๋ว ที่ทั้งเล็กและเบามากจนติดตั้งบนตัวด้วงขึ้นมาได้สำเร็จแล้ว คุณสมบัติของกล้องที่ว่านั้นเป็นยังไงบ้าง – มีน้ำหนักแค่ 250 มิลลิกรัม หรือหนึ่งในสิบของไพ่ใบนึง – ถ่ายทอดสดได้ 5 เฟรมต่อวินาที เป็นภาพขาวดำ ด้วยความละเอียดต่ำ 160×120 พิกเซล – ถ้าชาร์จแบตเต็ม ใช้งานได้ยาวถึง 6 ชั่วโมง – ส่งภาพกลับมาด้วยสัญญาณบลูทูธ ในรัศมีไกลสูงสุดไม่เกิน 120 เมตร ถามว่าประโยชน์ของกล้องถ่ายทอดสดจิ๋วนี้คืออะไรบ้าง ผู้ประดิษฐ์เขาบอกว่า ถ้าเอาไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์ก็น่าจะทำให้ช่วยเข้าใจชีวิตแมลงมากขึ้น แต่อีกเป้าหมายหนึ่งของพวกเขาก็คือ เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีไว้สำหรับติดตั้งบนหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว แต่เราแอบคิดไปถึงการจารกรรมข้อมูล (คิดลบไปหน่อยไหมนะ?) ลองคิดถึงภาพยนตร์เรื่อง Ant-Man ที่พระเอกสามารถส่งให้มดเข้าไปสอดแนมศัตรูมาล่วงหน้าได้ สมมุติว่าในอนาคต คนสามารถประดิษฐ์หุ่นที่มีขนาดเท่าแมลงได้ พร้อมกับตั้งกล้องจิ๋วนี้ (ในเวอร์ชั่นที่พัฒนาให้ดีขึ้นแล้ว) แล้วส่งไปสอดแนมในสถานที่ต่างๆ คิดเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ไปหน่อย…

ผู้อำนวยการ FBI ชี้จีน ผู้ “ขโมยความมั่งคั่ง” จากการจารกรรมทางไซเบอร์

Loading

FILE PHOTO: FBI Director Christopher Wray testifies before a Senate Homeland Security and Governmental Affairs Committee hearing on threats to the homeland on Capitol Hill in Washington, U.S. November 5, 2019. REUTERS/Yuri Gripas/File Photo สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานอ้างคำกล่าวของ “คริสโตเฟอร์ เรย์” ผู้อำนวยการสำนักสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (7 ก.ค. 2020) กล่าวโจมตีการโจมตีทางไซเบอร์องจีนต่อสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจารกรรมทางไซเบอร์ ซึ่ง ผอ.เอฟบีไอ ชี้ว่า การกระทำดังกล่าวของเป็นการขโมยความมั่งคั่งที่มีมูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ “คริสโตเฟอร์ เรย์” ชี้ว่า รัฐบาลจีนได้เร่งพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการก้าวข้ามสหรัฐ อย่างไรก็ตามจีนกลับใช้วิธีจารกรรมข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาของเทคโนโลยีเหล่านี้จากสหรัฐแทนที่จะลงทุนค้นคว้าด้วยตนเอง จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีมาแข่งขันกับบริษัทสหรัฐที่จีนได้ทำการจารกรรมข้อมูลไป…

อุปกรณ์พกพาเพื่อการตรวจหาการสัมผัสเชื้อในสิงคโปร์ ทำงานอย่างไร

Loading

ไซรา อาเชอร์ บีบีซี นิวส์ สิงคโปร์ อุปกรณ์ขนาดพกพาที่ชื่อ เทรซ ทูเกตเตอร์ โทเคน (Trace Together Tokens) คือเทคโนโลยีล่าสุดของสิงคโปร์ในการรับมือกับโควิด-19 อุปกรณ์ที่พกติดตัวได้นี้ช่วยให้แอปพลิเคชันตรวจจับการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรน่าที่มีการใช้งานอยู่แล้วทำงานได้ดีขึ้น ในการระบุตัวผู้ที่อาจจะติดเชื้อไวรัสจากผู้ที่มีเชื้ออยู่แล้ว ผู้ใช้งานต้องพกพาอุปกรณ์นี้ ซึ่งทำงานด้วยแบตเตอรีที่มีพลังงานสะสมถึง 9 เดือน เรื่องนี้สร้างความ “ตกตะลึง” แก่ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง หน่วยงานของรัฐบาลที่พัฒนาอุปกรณ์นี้ ทราบดีว่า อุปกรณ์ประเภทนี้ และเทคโนโลยีโดยทั่วไป ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” ที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ แต่มันจะมาช่วยเสริมความพยายามในการตรวจจับการสัมผัสเชื้อของคน คนกลุ่มแรกที่จะได้รับอุปกรณ์นี้ไปใช้งานคือ ผู้สูงอายุหลายพันคน ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง โดยพวกเขาจะต้องแจ้งหมายเลขประจำตัวประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์ เช่นเดียวกับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน เทรซทูเกตเตอร์ (Trace Together) ถ้าผู้ใช้อุปกรณ์นี้ถูกตรวจพบว่าติดโรคโควิด-19 พวกเขาต้องส่งมอบอุปกรณ์คืนให้กระทรวงสาธารณสุข เพราะอุปกรณ์นี้ไม่สามารถส่งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้หมือนแอปฯ ดังกล่าว จากนั้น อุปกรณ์นี้ จะใช้ข้อมูลที่ถูกเก็บบันทึกไว้ ในการระบุตัวผู้ที่อาจจะติดเชื้อ เครื่องมือขนาดพกพาในกระเป๋ากางเกงได้นี้ทำงานโดยการสื่อสารทางบลูทูธกับเครื่องมือชนิดเดียวกัน หรือโทรศัพท์มือถือที่มีแอปฯเดียวกัน โดยเก็บข้อมูลการสื่อสารไว้ 25 วัน แล้วลบทิ้ง ถ้าผู้ใช้อุปกรณ์นี้ ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 ต้องนำเครื่องนี้มาให้ทางการเพือตรวจสอบข้อมูลใเนครื่องว่าติดต่อกับใครบ้าง…

โดรนสัญชาติจีน ‘อี้หลง-1’ พร้อมช่วยงานสื่อสารฉุกเฉิน ไม่หวั่นอากาศเลวร้าย

Loading

(แฟ้มภาพซินหัว : ผู้เยี่ยมชมถ่ายภาพแบบจำลองของอากาศยานไร้คนขับ “อี้หลง-1” ในงานนิทรรศการอวกาศนานาชาติแห่งมอสโกครั้งที่ 13 ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2017) สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการจีน รายงาน (20 มิ.ย.) — แพลตฟอร์มสากลของ “อี้หลง-1” (Wing Loong-1) อากาศยานไร้คนขับ (UAV) สัญชาติจีน ได้รับการทดสอบแล้วว่าเหมาะสมสำหรับการสนับสนุนระบบสื่อสารฉุกเฉินทางอวกาศ-อากาศ-ภาคพื้น บริษัทอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศจีน (AVIC) ผู้พัฒนาโดรนดังกล่าว ระบุว่าแพลตฟอร์มสากลของอี้หลง-1 ประสบผลสำเร็จในการทดสอบต่างๆ ในสนามบินทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน แพลตฟอร์มสากลของโดรนอี้หลง-1 ติดตั้งสถานีฐานเชื่อมต่อระบบสื่อสารไร้สาย บินวนอยู่ที่ระดับความสูง 3-5 กิโลเมตร ภายในรัศมี 3 กิโลเมตร ระหว่างการทดสอบ เครื่องส่งสัญญาณมือถือต่อเนื่องที่ยาวนานและเสถียรครอบคลุมพื้นที่กว่า 50 ตารางกิโลเมตร ซึ่งสูงกว่าที่เคยมีมาในประเทศสำหรับการส่งสัญญาณทางอากาศสู่พื้นดินจากสถานีฐานลอยฟ้า บริษัทอุตสาหกรรมการบินกล่าวว่าการทดสอบที่ประสบความสำเร็จนี้พิสูจน์ว่าแพลตฟอร์มสากลอี้หลง-1 มีศักยภาพเต็มที่สำหรับการสื่อสารฉุกเฉิน และถ่ายทอดสัญญาณได้หลากหลายเมื่อติดตั้งด้วยอุปกรณ์สถานีฐานและการสื่อสารผ่านดาวเทียม (SATCOM) นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มสากลอี้หลง-1 พร้อมที่จะสนับสนุนระบบสื่อสารฉุกเฉินทางอวกาศ-อากาศ-ภาคพื้น หากการการสื่อสารหยุดชะงักภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน อากาศยานไร้คนขับตระกูลอี้หลงได้รับการพัฒนาโดยสถาบันออกแบบและวิจัยอากาศยานเฉิงตู (CADI) สังกัดบริษัทอุตสาหกรรมการบินแห่งชาติ โดรนเหล่านี้ถูกออกแบบให้เป็นพาหนะไร้คนขับที่มีความจุแบตเตอรีสูง…

UN เผยขีปนาวุธร่อนที่ใช้โจมตีโรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ มาจาก ‘อิหร่าน’

Loading

ภาพเปลวเพลิงที่กำลังโหมลุกไหม้โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทอารามโกที่เมืองอับกอยก์ (Abqaiq) จังหวัดตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย หลังถูกโดรนโจมตีเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 14 ก.ย. รอยเตอร์ – เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติยืนยันต่อคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ว่า ขีปนาวุธร่อนที่ใช้โจมตีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่และท่าอากาศยานนานาชาติของซาอุดีอาระเบียเมื่อปีที่แล้ว “มีต้นทางมาจากอิหร่าน” ขณะที่ทางการเตหะรานรีบออกมาปฏิเสธทันควัน อันโตนิโอ กูเตียร์เรส เลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ระบุว่า อาวุธและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหลายชิ้นที่สหรัฐฯ ยึดได้ในเดือน พ.ย. ปี 2019 และ ก.พ. ปี 2020 “มาจากอิหร่าน” โดยบางชิ้นมีลักษณะตรงกับสินค้าที่ผลิตโดยบริษัทสัญชาติอิหร่าน และมีอักษรภาษาฟาร์ซีกำกับ ขณะที่บางชิ้นถูกนำเข้าอิหร่านระหว่างเดือน ก.พ. ปี 2016 จนถึง เม.ย. ปี 2018 กูเตียร์เรส ชี้ว่า การจัดส่งอุปกรณ์เหล่านี้อาจละเมิดมติคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นปี 2015 ที่รับรองข้อตกลงควบคุมนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มมหาอำนาจ P5+1 คณะทูตอิหร่านประจำยูเอ็นชี้ว่า รายงานฉบับนี้ “ผิดพลาดร้ายแรง และคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง” “รัฐบาลอิหร่านขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงต่อรายงานที่ว่า อิหร่านมีความเกี่ยวข้องกับการส่งออกอาวุธและอุปกรณ์ที่ใช้ในการโจมตีซาอุดีอาระเบีย รวมถึงข้อมูลที่ว่าหลักฐานต่างๆ ที่สหรัฐฯ ยึดได้มีที่มาจากอิหร่าน” สหรัฐฯ เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น 15…

‘ไอบีเอ็ม’ ยุติพัฒนา-จำหน่ายเอไอ ‘จดจำใบหน้า’ ชี้แฝงอคติเหยียดสีผิว

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า “ไอบีเอ็ม” บริษัทผู้ผลิตและให้บริการคอมพิวเตอร์ระดับโลกประกาศยุติการจัดจำหน่ายและการพัฒนา “เทคโนโลยีจดจำใบหน้า” (facial recognition) ของบริษัท รวมถึงเรียกร้องรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาหยิบยกเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การอภิปรายอย่างเร่งด่วน เพื่อปฏิรูปกฎหมายควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีนี้โดยเจ้าหน้าที่ ให้ปราศจากการเหยียดสีผิวและเป็นธรรมทางเชื้อชาติ โดยนายอาร์วินด์ คริชนา ซีอีโอของไอบีเอ็มได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภาสหรัฐระบุว่า บริษัทต้องการทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อหารือถึงแนวทางด้านกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมและความเหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้า รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจของไอบีเอ็มที่จะยุติธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการประท้วงที่ยังคงลุกลามบานปลายจากกรณีของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวผิวสีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประเด็นเรื่องปฏิรูปองค์กรตำรวจของสหรัฐ และการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติสีผิวกลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ขณะที่ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออคติที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามีมาโดยตลอด โดยข้อมูลงานวิจัยของ “จอย โบโอแลมวินี” นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ผู้ก่อตั้งสมาคมอัลกอริทึมมิกจัสติซ (Algorithmic Justice League) ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวของบางบริษัทแสดงให้เห็นถึงอคติทางเชื้อชาติสีผิวและอคติทางเพศอย่างชัดเจน ซึ่งคนบางกลุ่มเห็นว่า ไม่ควรจำหน่ายเทคโนโลยีนี้ให้กับหน่วยภาครัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยของความเป็นส่วนตัวและสิทธิพลเมือง จดหมายของนายคริชนาระบุว่า “ไอบีเอ็มคัดค้านและไม่ยินยอมให้มีการใช้เทคโนโลยีใด ๆ รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อการสอดแนมประชาชน การเหยียดเชื้อชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยม หลักการความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของเรา เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเริ่มอภิปรายในประเด็นว่า ควรใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือไม่และอย่างไร” นายคริชนาเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของไอบีเอ็มในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบคลาวด์เซอร์วิสของบิรษัทมากขึ้น แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในสำนักงานด้วย โดยขณะนี้บริษัทมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธุรกิจเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจะไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไอบีเอ็มมากนัก แต่การตัดสินใจครั้งนี้ก็สร้างความตื่นตัวในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติให้กับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไอบีเอ็ม “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่สามารถช่วยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้จำหน่ายและผู้ใช้งานระบบเอไอมีความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการทดสอบอคติที่แฝงอยู่ในระบบเอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประยุกต์ใช้กับการบังคับใช้กฎหมาย…