กองทัพสหรัฐฯ ทดลองใช้ ‘เฮลิคอปเตอร์อัตโนมัติ’ ควบคุมด้วยแอพพ์

Loading

นักบินบนเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ควบคุมด้วยแอพพ์ (App) เป็นผู้โดยสารที่นั่งไปกับเครื่องเท่านั้น เเละเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ทำงานทุกอย่างเองโดยอัตโนมัติเพื่อเดินทางไปให้ถึงจุดหมาย ดิออนเต้ โจนส์ (Dionte Jones) จ่าอากาศเอกเเห่งนาวิกโยธินสหรัฐฯ กล่าวว่า เครื่องเฮลิคอปเตอร์ลำนี้เหมือนมีสมองของมันเองแและคิดเอง เเต่ตนเองจะเป็นคนสั่งการให้เครื่องลงจอด เเละตนเองยังสามารถสั่งการให้เครื่องเข้าไปจอดในที่เก็บเองเมื่อไม่ต้องการใช้งานเเล้ว เครื่องเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ทำงานผ่านแอพพ์ โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรมากไปกว่าออกคำสั่งว่าจะไปที่ไหน เดนนิส เบคเกอร์ (Dennis Baker) เจ้าหน้าที่วิจัยของกองทัพเรือสหรัฐฯ กล่าวว่า การวางแผนการเดินทางมีขึ้นขณะอยู่บนเครื่องบิน เครื่องบินจะบินไปตามเส้นทางที่นักบินสั่งการ โดยไม่จำเป็นต้องให้รายละเอียดของแผนการเดินทางแก่เครื่องบิน เครื่องบินสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางในเส้นทางได้เอง ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ ต้นไม้หรือสิ่งกีดขวางทุกประเภทที่ประสบในระหว่างการเดินทาง เเละลงจอดในจุดที่นักบินสั่งการให้จอด สำหรับกองทัพสหรัฐฯ การศึกษาการใช้งานเครื่องบินบังคับอัตโนมัติจะช่วยรักษาชีวิตของทหารเเละมีการใช้งานที่สะดวกเเละเหมาะสม แดน ชูมิท (Dan Schumitt) นาวาอากาศโทแห่งนาวิกโยธินสหรัฐฯ กล่าวว่า มีคำถามเสมอว่าทำไมจึงส่งทหารนาวิกโยธินไปรบเป็นด่านเเรก หากกองทัพสามารถส่งหุ่นยนต์ไปทำหน้าที่แทน เเละเช่นเดียวกันกับเครื่องบินควบคุมอัตโนมัติที่กองทัพสามารถนำไปใช้งานบางอย่างที่คนทำไม่ได้เนื่องจากเครื่องบินควบคุมอัตโนมัติไม่เหนื่อยล้าเเละไม่ต้องพักผ่อนเหมือนมนุษย์ สามารถบินเข้าไปในพื้นที่อันตรายได้ เขากล่าวว่า เครื่องบินระบบควบคุมอัตโนมัติช่วยให้กองทัพมีทางเลือกมากขึ้นในการทำงาน ในขณะที่นาวิกโยธินเเห่งสหรัฐฯ กำลังทำการทดลองเบื้องต้นการใช้งานเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์บังคับอัตโนมัติ มีอาชีพอื่นๆ อีกหลายอย่างที่น่าจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ รวมทั้งพนักงานดับไฟป่า อย่างเช่น เหตุไฟป่าในรัฐเเคลิฟอร์เนียเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ที่รุนเเรงเเละยืดเยื้อยาวนานที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทางนาวิกโยธินสหรัฐฯเ คยทดลองใช้งานเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ควบคุมอัตโนมัติมาก่อนหน้านี้ โดยเคยส่งเครื่องบินขนส่งสัมภาระ K-Max ขับเคลื่อนอัตโนมัติสองลำ…

อีกแล้ว! จีนแฮก บ.คู่สัญญากองทัพเรือสหรัฐฯ ล้วงตับโครงการ “ขีปนาวุธต่อต้านเรือ” รุ่นใหม่

Loading

เอเอฟพี – บริษัทคู่สัญญากลาโหมของกองทัพเรือสหรัฐฯ ถูกแฮกเกอร์จีนล้วงข้อมูลละเอียดอ่อนเกี่ยวกับกลยุทธ์สงครามใต้ทะเล รวมไปถึงโครงการพัฒนาขีปนาวุธต่อต้านเรือรุ่นใหม่ที่สามารถยิงจากเรือดำน้ำ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานเมื่อวานนี้ (8 มิ.ย.)  สื่อดังของสหรัฐฯ อ้างข้อมูลจากพนักงานสอบสวนซึ่งระบุว่า การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.ปีนี้ โดยเป็นฝีมือแฮกเกอร์ในสังกัดหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐจีน (Ministry of State Security) ซึ่งปฏิบัติการจากมณฑลกว่างตง บริษัทคู่สัญญารายนี้ทำงานให้กับศูนย์สงครามใต้ทะเลทางนาวี (Naval Undersea Warfare Center) ในเมืองนิวพอร์ต รัฐโรดไอแลนด์ โดยมีหน้าที่ศึกษาวิจัยและพัฒนาเรือดำน้ำ รวมไปถึงระบบอาวุธใต้ทะเล แฮกเกอร์จีนประสบความสำเร็จในการล้วงไฟล์ขนาด 614 กิกะไบต์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับระบบเซ็นเซอร์, ระบบเข้ารหัสเรือดำน้ำ และโครงการ “ซี ดรากอน” ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยังไม่เผยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวซึ่งริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2012 โดยระบุแต่เพียงว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีทางทหารที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ในรูปแบบใหม่ๆ  วอชิงตันโพสต์ได้รับการร้องขอจากกองทัพเรือสหรัฐฯ ไม่ให้เผยรายละเอียดเกี่ยวกับระบบขีปนาวุธรุ่นใหม่ที่โดนจีนแฮก แต่บอกอย่างกว้างๆ ว่าเป็นขีปนาวุธต่อต้านเรือความเร็วเหนือเสียงที่สามารถยิงจากเรือดำน้ำได้ บิลล์ สปีกส์ โฆษกกองทัพเรือสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะยืนยันรายงานของวอชิงตันโพสต์ โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง จีนใช้แฮกเกอร์ล้วงข้อมูลทางทหารของสหรัฐฯ มานานหลายปีแล้ว และเพนตากอนก็เคยออกมายอมรับว่า ปักกิ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญในโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ F-35 รุ่นใหม่, ระบบป้องกันขีปนาวุธแพทริออต PAC-3 รวมไปถึงโครงการลับสุดยอดอื่นๆ …

4.0 ของจริง! คนสวีเดนเริ่มฝังไมโครชิปบนผิวหนังแทนพกบัตรประชาชน

Loading

สำนักข่าว AFP รายงานว่าปัจจุบันประชาชนชาวสวีดิชเริ่มทำการฝังไมโครชิปลงบนผิวหนังของตนเอง ซึ่งสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น อาทิ ไม่ต้องพกบัตรประชาชน, ใช้สแกนแทนคีย์การ์ดในการเข้าทำงานในออฟฟิศ, ซื้ออาหารจากตู้อัตโนมัติ, เข้ายิม, หรือแม้แต่ใช้แทนตั๋วรถไฟ โดยรายงานระบุว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา มีชาวสวีดิชกว่า 3,000 รายที่ติดไมโครชิปแล้ว สำหรับการฝังชิปนั้นถูกระบุว่ามีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อยระดับมดกัดไม่ต่างจากการเจาะหู ซึ่งการฝังชิปแม้จะฝังไว้ที่ผิวหนังแต่ก็อยู่ในระดับชั้นที่ไม่ลึก ทำให้การอ่านค่าชิปรวมทั้งบันทึกข้อมูลจัดเก็บสามารถทำได้ง่ายและแม่นยำ ซึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้คนสวีเดนหันมาใช้ไมโครชิปมากกว่าชาติอื่น ๆ ก็เนื่องจากระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูลในประเทศนั้นมีประสิทธิภาพระดับสูงสุดที่ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนตัวจะเป็นความลับไม่รั่วไหลแน่นอน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประชากรในสวีเดนเพียง 2% ที่ยังพกเงินสดติดตัว ขณะที่อีก 98% นั้นจ่ายผ่านบัตรเครดิตและสมาร์ทโฟนหมดแล้ว ซึ่งเทรนด์ของการใช้ร่างกายมนุษย์มาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยี (Biohackng) โดยน่าสนใจไม่น้อยกว่าในอนาคตอุปกรณ์ไอทีพื้นฐานมากมายที่อาจถูกออกแบบมาเมื่อฝังลงในร่างกายของมนุษย์ By  Nattaphan Songviroon ——————————————————————- ที่มา : เว็บแบไต๋ / 5 มิถุนายน 2561 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/247810?utm_source=LINEToday&utm_medium=Referral&utm_campaign=DirectLink

เจ๋ง! นักศึกษาในฟลอริดา พัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลที่ตู้ ATM

Loading

นอกจากจะมีเหล่าแฮคเกอร์ หรือนักเจาะข้อมูล ที่ขโมยหมายเลขบัตรเครดิตทางอินเตอร์เนตแล้ว ยังมีมิจฉาชีพกลุ่มอื่นๆ ที่ขโมยข้อมูลจากตัวบัตรโดยตรงหรือที่ตู้ ATM ล่าสุด นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา คิดค้นอุปกรณ์ที่ยับยั้งการโจรกรรมเหล่านี้ได้ ด้วยต้นทุนไม่แพงแล้ว แม้ว่าบัตรเครดิตและบัตรเดบิตรุ่นใหม่ๆ จะมีแถบชิพอิเล็กทรอนิค ที่ยากต่อการคัดลอกหมายเลขบัตร แต่ก็ยังมีบัตรเครดิตจำนวนมากที่ยังใช้แถบแม่เหล็กและต้องใช้เครื่องอ่านบัตรแบบเก่ากันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามร้านค้าเล็กๆ หรือปั๊มน้ำมัน ซึ่งมักจะตกเป็นเป้าหมายของเหล่ามิจฉาชีพ อาจารย์ Patrick Traynor จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา อธิบายว่า บัตรเครดิตจะถูกเข้าถึงข้อมูลภายในบัตรได้ ด้วยเครื่องอ่านบัตรเครดิต หรือ Card Reader ซึ่งจะมีเครื่องอ่านบัตรเพียงเครื่องเดียวที่ปรากฏอยู่ในช่องเสียบบัตรของตู้ ATM หรือร้านค้า แต่วิธีของเหล่ามิจฉาชีพจะติดหัวอ่านปลอมเข้ากับหัวอ่านแถบแม่เหล็กของบัตรของจริงอย่างแยบยล และเมื่อลูกค้าใส่บัตรเครดิตเข้าไป หัวอ่านนั้นจะคัดลอกข้อมูล และนำไปทำบัตรเครดิตปลอมมาใช้ เจ้าหน้าที่รักษากฏหมายของสหรัฐฯ เรียกการโจรกรรมดังกล่าวว่า Skimmer ซึ่งในแต่ละปีสามารถขโมยเงินได้มากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์ การโจรกรรมแบบ Skimmer กำลังแพร่หลาย โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ เช่นที่มหานครนิวยอร์ค ทว่าที่นั่นกลับมีตำรวจสืบสวนเพียง 4 คนเท่านั้น ที่ได้รับการฝึกอบรมให้สามารถตรวจสอบหัวอ่านปลอมที่ถูกนำไปติดตั้งตามตู้ ATM ได้ ล่าสุด นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา ภายใต้การนำของอาจารย์ Patrick Traynor คิดค้นพัฒนาอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกว่า…

เตือนมัลแวร์ Roaming Mantis เริ่มพุ่งเป้า Apple iOS และ PC ทั่วโลก

Loading

หลังจากที่ Roaming Mantis ซึ่งเป็นมัลแวร์ DNS Hijacking เริ่มแพร่ระบาดเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยพุ่งเป้าอุปกรณ์ Android ในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่าสุดพบว่าแฮ็กเกอร์เบื้องหลังมัลแวร์ได้ทำการอัปเกรดให้สามารถโจมตีอุปกรณ์ Apple iOS และ Desktop ไปยังทั่วโลกได้แล้ว Kaspersky Lab ผู้ให้บริการโซลูชัน Endpoint Protection ชั้นนำของโลก ได้ออกมาแจ้งเตือนถึงแคมเปญมัลแวร์ Roaming Mantis หลังจากที่ก่อนหน้านี้ใช้แพร่กระจาย Banking Malware บนอุปกรณ์ Android พบว่าล่าสุดแฮ็กเกอร์ได้เพิ่มการโจมตีแบบ Phishing บนอุปกรณ์ Apple iOS และ Cryptocurrency Mining Script สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ PC นอกจากนี้ ยังขยายฐานโจมตีจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงเกาหลีใต้ จีน บังกลาเทศ และญี่ปุ่น ไปสู่ยุโรปและตะวันออกกลางอีกด้วย เช่นเดียวกับแคมเปญก่อนหน้านี้ Roaming Mantis ยังคงแพร่กระจายตัวผ่านทาง DNS Hijacking โดยแฮ็กเกอร์จะทำการเปลี่ยนการตั้งค่า DNS บนอุปกรณ์…

ไทยเตรียมใช้ ‘ดิจิทัล ไอดี’ ปลายปี 61 หนุนใช้กับโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ จ่ายผ่านอีมันนี่ อุดช่องฉวยโอกาสทุจริต

Loading

ข่าวเกี่ยวกับการทุจริตเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง จนทำให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตัดสินใจให้จ่ายเงินผ่านรูปแบบการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้รับบริการหรือระบบอีเพย์เมนต์ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2561 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ แต่ในบางทัศนะกลับมองว่า มาตรการใหม่นี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตแค่เฉพาะหน้าหรืออาจไม่ได้เลย ดังเช่นกรณีทุจริตกองทุนเงินเสมาพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่มีการนำบัญชีธนาคารของเครือญาติเข้ามารับประโยชน์แทน กรณีเหล่านี้จึงกลายเป็นช่องโหว่ที่ต้องช่วยกันขบคิดหาวิธีรับมือ แน่นอนว่า จำเป็นต้องปรับระบบสวัสดิการให้สอดคล้องและพร้อมรับมือกับโลกสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ‘สุทธิพงษ์ กนกากร’ สมาชิกคณะทำงานด้านเทคนิค National Digital ID อธิบายให้เห็นภาพเป็นฉาก ๆ ในเรื่องการวางระบบป้องกันทุจริตในโครงการเกี่ยวข้องกับสวัสดิการแห่งรัฐ ในเวทีสัมมนา เรื่อง ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เขาบอกว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาปรับใช้กับระบบสวัสดิการแห่งรัฐ 3 รูปแบบ คือ 1. บล็อกเชน (Blockchain) คือ เครือข่ายการเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง โดยสามารถป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลและทำให้รู้แม้กระทั่งว่า ใครเขียนข้อมูลอะไรลงไปบ้าง 2.ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) คือ ระบบที่ช่วยพิสูจน์ตัวตน 3.เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) คือ การทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะมีหรือไม่มีบัญชีธนาคารเลยก็ได้ โดยการนำเทคโนโลยีทั้ง 3 รูปแบบ มาใช้กับระบบสวัสดิการแห่งรัฐนั้น สุทธิพงษ์ อธิบายว่า ส่วนใหญ่ขั้นตอนการคัดกรองผู้มีสิทธิรับประโยชน์…