แฮกเกอร์ ล้วงข้อมูลอุตสาหกรรมเดินเรืออย่างไร

Loading

การเจาะระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบริษัทเดินเรือ อาจเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ เข้าถึงข้อมูลที่อ่อนไหวได้หลากหลาย   ตอนที่พนักงานของบริษัท CyerKeel เข้าไปตรวจสอบอีเมลสื่อสารของบริษัทเดินเรือขนาดกลางแห่งหนึ่งก็ต้องพบกับความประหลาดใจ เพราะข้อมูลที่ได้นั้นไม่ธรรมดาเลย นายลาร์ส เจนเซน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท CyberKeel เล่าว่าสิ่งที่พบจากการตรวจสอบข้อมูลการรับส่งอีเมล์ของบริษัทเดินเรือแห่งนี้ก็คือ “มีคนเจาะเข้าไปในระบบของบริษัท และฝังไวรัสขนาดเล็กเอาไว้ เพื่อล้วงข้อมูลที่ส่งเข้าและออกจากแผนกบัญชี” มัลแวร์เรียกค่าไถ่ลามถึงอินเดีย มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตี 99 ประเทศทั่วโลก ส่องเทคโนโลยีปี 2560 : ธนาคารใหญ่จะพ่ายโจรไซเบอร์ ทุกครั้งที่บริษัทส่งน้ำมันส่งอีเมล์มาเรียกเก็บเงินจากบริษัทเดินเรือ ไวรัสจะเข้าไปเปลี่ยนตัวหนังสือในข้อความ ก่อนที่ทางบริษัทเดินเรือจะเปิดอีเมล์นั้น ๆ โดยจะใส่หมายเลขบัญชีใหม่เข้าไป ทำให้ “เงินหลายล้านดอลลาร์” ถูกโอนเข้าบัญชีของแฮกเกอร์ หลังเกิดการโจมตีทางไซเบอร์จากมัลแวร์ NotPetya เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทเดินเรือขนาดใหญ่หลายราย รวมถึง Maersk ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และทางบริษัทเพิ่งเปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่าอาจทำให้ต้องขาดทุนกำไรถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1 หมื่นล้านบาท) นายเจนเซน มองว่าอุตสาหกรรมผู้ให้บริการขนส่งทางเรือ จำเป็นต้องมีมาตรการที่ดีกว่านี้ในการปกป้องระบบของตนจากการถูกล้วงข้อมูล โดยเขาและนายมอร์เทน เชนค์ อดีตนายทหารในกองทัพเดนมาร์ก ซึ่งเขายกให้ว่า “เป็นคนที่แฮกได้แทบจะทุกอย่าง” ร่วมกันก่อตั้งบริษัทให้บริการตรวจสอบความปลอดภัยในด้านนี้ให้กับบริษัทเดินเรือ แต่วิธีการที่พวกเขาเสนอนั้นคือการทดสอบความปลอดภัยด้วยการเจาะเข้าไประบบ Maersk…

Virgin America ถูกแฮ็ค แจ้งพนักงาน 3,120 คนเปลี่ยนรหัสผ่านด่วน

Loading

Virgin America ได้ออกมาเผยถึงเหตุระบบเครือข่ายถูกโจมตีได้สำเร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2017 ที่ผ่านมา พร้อมกับการแจ้งเตือนภายในองค์กรให้พนักงานประจำและสัญญาจ้างกว่า 3,120 คนทำการเปลี่ยนรหัสผ่านภายใน 90 วันนับจากวันที่แจ้ง ในขณะที่พนักงานอีก 110 คนอาจถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวไปด้วย ในเหตุการณ์ครั้งนี้ทาง Virgin America สามารถตรวจพบได้ด้วยตนเองว่ามีความพยายามในการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในระบบของ Virgin America จากบุคคลภายนอกผู้ที่ไม่ควรจะมีสิทธิ์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลบางส่วนภายในองค์กรได้ ซึ่งทาง Virgin America ก็ต้องการที่จะปกป้องข้อมูลขององค์กรและพนักงานอย่างเต็มที่ จึงได้ส่งเมล์แจ้งพนักงานในครั้งนี้ และมีการปรับปรุงนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัย, ขั้นตอนการทำงาน และเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อเสริมความมั่นคงปลอดภัยภายในองค์กรด้วย การโจมตีครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบในแง่ความมั่นคงปลอดภัยถึง Alaska Airlines ซึ่งเป็นเจ้าของ Virgin America แต่อย่างใด และการที่ Virgin America ต้องออกมาเปิดเผยในครั้งนี้ก็เป็นไปตามข้อบังคับทางกฎหมาย ทาง AlienVault ได้ออกมาชื่นชม Virgin America ที่สามารถตรวจจับเหตุการณ์ Data Breach ครั้งนี้ได้ด้วยตนเอง อันเป็นการแสดงถึงการหมั่นตรวจสอบทางด้านความมั่นคงปลอดภัยเป็นอย่างดี ทำให้สามารถรับมือและจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่วนทางด้าน ESET เองก็ออกมาชื่นชมในประเด็นเดียวกัน…

ตร.ไทย เปิดเบื้องหลังการจับกุม AlphaBay เว็บค้าสิ่งผิดกม.ใหญ่ที่สุดในโลก

Loading

วันนี้ (24 ก.ค.) พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร. ได้แถลงผลการจับกุมเครื่อข่ายเว็บมืด AlphaBay ที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลกในการซื้อขายยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมาย พร้อมกับทรัพย์สินที่ถูกยึดได้มูลค่ากว่า 700 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากปฏิบัติการที่นำโดยหน่วยงานของสหรัฐฯ และความร่วมมือจากเจ้าหน้าหลายประเทศ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย ผู้ต้องหา นายอาเล็กซองเดร คาเซส ถูกจับตัวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา จากเบาะแสอีเมลส่วนตัวที่นายคาเซสเคยใช้ส่งถึงสมาชิกบนเว็บไซต์ AlphaBay ก่อนที่ตำรวจฝ่ายปราบปรามยาเสพติดระบุว่า นายคาเซสได้แขวนคอตัวเองเสียชีวิตภายในห้องขังเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา AlphaBay คืออะไร AlphaBay มีเป้าหมาย “ที่จะเป็นเว็บไซต์สไตล์ e-bay ของตลาดใต้ดินที่ใหญ่ที่สุด” ตามที่ระบุในข้อความบนหน้าประวัติของเว็บไซต์แห่งนี้ ซึ่งมีการจำแนกหมวดหมู่สินค้าไว้เพื่อความสะดวก ไม่ต่างจากเวบขายของออนไลน์ทั่วไป ที่แตกต่างคือ AlphaBay เป็นเว็บที่ซ่อนอยู่ในเครือข่ายเว็บมืด ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางเครื่องข่ายทอร์ที่คล้ายคึงกับอินเทอร์เน็ตปกติ แต่ถูกออกแบบมาให้ปกปิดตัวตนและที่อยู่คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ และการซื้อขายจะใช้เงินดิจิตอล หรือ บิทคอยน์ เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดหลักฐาน สหรัฐฯ สั่งปิด 2 เว็บไซต์ตลาดมืด ชาวแคนาดาที่ตายคาห้องขังในไทยถูกกล่าวหาดูแล “เว็บมืด” ค้ายาเสพติด…

ใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ !! ฐานข้อมูลผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงกว่า 198 ล้านคนรั่วไหลสู่สาธารณะ

Loading

UpGuard บริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัยชื่อดัง ออกมาเปิดเผยถึงการรั่วไหลของข้อมูลจาก Amazon S3 ครั้งใหญ่สู่สาธารณะ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสหรัฐฯ รวมแล้วกว่า 198 ล้านคน นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ข้อมูลส่วนบุคคลถูกเปิดเผยอย่างไม่มีการป้องกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ Credit: Andrea Danti/ShutterStock   ข้อมูลของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงที่หลุดออกมานี้ มาจากฐานข้อมูลของ 3 บริษัทด้าน Data Mining ยักษ์ใหญ่ 3 รายที่สนับสนุนพรรคริพับลิกัน ได้แก่ Deep Root Analytics, TargetPoint Consulting, Inc. และ Data Trust ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลชื่อนามสกุล วันเกิด ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ สัญชาติ ศาสนา และข้อมูลทะเบียนอื่นๆ ที่ทั้ง 3 บริษัทสามารถนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์และคาดคะเนการลงคะแนนเสียงได้ ที่สำคัญคือ ข้อมูลที่รั่วออกไปนี้ประกอบด้วยข้อมูลของประชาชนชาวอเมริกันจากทั้ง 50 รัฐ และเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย จากการตรวจสอบพบว่าฐานข้อมูลที่รั่วไหลสู่สาธารณะนี้ ถูกใช้เพื่อสนับสนุนแคมเปญในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของพรรคริพับลิกัน 3 ปีล่าสุด คือ…

จีนเปิดตัวระบบขนส่งมวลชนแบบใหม่ “Smart Bus” เริ่มวิ่งจริงปีหน้า

Loading

บริษัทเทคโนโลยีจีน เปิดตัวรถ “Smart Bus” ซึ่งเป็นรถโดยสารกึ่งรถไฟแบบไม่ต้องอาศัยคนขับ โดยจะใช้เส้นสีขาวบนถนนเป็นตัวนำทางระบบเซนเซอร์ บริษัท CRRC เปิดเผยว่า ระบบขนส่งมวลชนแห่งอนาคตที่เรียกว่า Smart Bus คือการนำรถโดยสารแบบ Driverless สามคันเรียงต่อกัน มีความยาวประมาณ 30 เมตร และสามารถขนส่งผู้โดยสารได้คราวละ 500 คน ทางบริษัทบอกว่ารถโดยสารกึ่งรถไฟนี้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุด 70 กม./ ชม. และเดินทางได้ราว 25 กม. ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง สำนักข่าวซินหว่ารายงานว่า Smart Bus จะเริ่มให้บริการได้ในปีหน้าที่เมืองซูจูว ซึ่งถือเป็นระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ต้นทุนน้อยกว่าการสร้างรางรถไฟฟ้า หรือรถไฟใต้ดิน กล่าวคือ Smart Bus จะใช้ต้นทุนราว 2 ล้านดอลลาร์ต่อ 1 กม. ขณะที่รถไฟใต้ดินใช้ต้นทุนการก่อสร้างราว 100 ล้านดอลลาร์ต่อกิโลเมตร —————————————————- ที่มา : VOA Thai / มิถุนายน 07, 2017 Link…

5 แนวทาง ออกแบบระบบ Backup สำหรับองค์กรอย่างไร ให้ปลอดภัยจาก Ransomware

Loading

จากข่าว WannaCry Ransomware ที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงจนได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมากนี้ คำแนะนำหนึ่งที่ได้ผลที่สุดก็คือการ Backup หรือสำรองข้อมูลเอาไว้ภายนอก เพื่อถึงแม้ Ransomware ตระกูลใดๆ จะมาเข้ารหัสไฟล์ของเราจนใช้งานไม่ได้ก็ตาม แต่เราก็ยังจะได้สามารถกู้คืนข้อมูลทั้งหมดกลับมาได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าไถ่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า “ไม่ใช่ทุกระบบ Backup ที่จะสามารถปกป้องคุณจาก Ransomware ได้” ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันเรื่องการออกแบบระบบ Backup ให้ตอบโจทย์การรับมือกับ Ransomware โดยเฉพาะ “การป้องกันดีกว่าการแก้ไข” ถึงแม้ว่าองค์กรหลายแห่งจะมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการนำเอาระบบและกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุดมาติดตั้งแล้วก็ตาม มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ก็ยังคงเป็นปัญหาที่ลุกลาม และแพร่ ระบาดมากขึ้นอยู่ดี ดังที่ปรากฏเป็นข่าวที่ผ่านมา ค่าไถ่ข้อมูลเฉลี่ยที่เรียกร้องอยู่ตอนนี้อยู่ที่ 679 เหรียญสหรัฐต่อผู้ใช้งานที่ตกเป็นเหยื่อแต่ละคน โดยเกือบครึ่งหนึ่งของการโจมตีมีผลต่อผู้ใช้มากกว่า 20 รายต่อหนึ่งองค์กร โดยเอฟบีไอยังมีรายงานว่า มูลค่าของค่าไถ่นี้อาจสูงถึง 5,000 เหรียญสหรัฐ ต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแต่ละคน ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเพื่อเรียกคืนข้อมูลกลับมาจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถึงแม้ว่าเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจะได้มีการจ่ายค่าไถ่เพื่อกู้คืนข้อมูลของพวกเขา ปัญหาก็อาจยังไม่ถูกแก้ไข เนื่องจากมีการสำรวจพบว่า 19% ของบรรดาผู้ที่จ่ายค่าไถ่เพื่อกู้คืนข้อมูลนั้น ยังคงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือเรียกข้อมูลของพวกเขากลับคืนมาได้ และมีการสนับสนุนเพียงเล็กน้อยจากเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนต้น แนวทางในการปฏิบัติด้านการสำรองข้อมูล จึงเป็นการลดความเสี่ยง ที่สามารถทำให้ความเสี่ยงเหล่านี้เป็นเรื่องง่ายสำหรับองค์กรได้ดังต่อไปนี้ 1. Backup ข้อมูลไปยัง Storage ภายนอก ที่เครื่องแม่ข่ายหรือลูกข่ายไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เองโดยตรงแบบ Volume หรือ Folder การสำรองข้อมูลไปยัง Volume ที่ทำการ Mount จาก NAS หรือ…