ไทยเตรียมใช้ ‘ดิจิทัล ไอดี’ ปลายปี 61 หนุนใช้กับโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ จ่ายผ่านอีมันนี่ อุดช่องฉวยโอกาสทุจริต

Loading

ข่าวเกี่ยวกับการทุจริตเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง จนทำให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตัดสินใจให้จ่ายเงินผ่านรูปแบบการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้รับบริการหรือระบบอีเพย์เมนต์ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2561 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ แต่ในบางทัศนะกลับมองว่า มาตรการใหม่นี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตแค่เฉพาะหน้าหรืออาจไม่ได้เลย ดังเช่นกรณีทุจริตกองทุนเงินเสมาพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่มีการนำบัญชีธนาคารของเครือญาติเข้ามารับประโยชน์แทน กรณีเหล่านี้จึงกลายเป็นช่องโหว่ที่ต้องช่วยกันขบคิดหาวิธีรับมือ แน่นอนว่า จำเป็นต้องปรับระบบสวัสดิการให้สอดคล้องและพร้อมรับมือกับโลกสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ‘สุทธิพงษ์ กนกากร’ สมาชิกคณะทำงานด้านเทคนิค National Digital ID อธิบายให้เห็นภาพเป็นฉาก ๆ ในเรื่องการวางระบบป้องกันทุจริตในโครงการเกี่ยวข้องกับสวัสดิการแห่งรัฐ ในเวทีสัมมนา เรื่อง ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เขาบอกว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาปรับใช้กับระบบสวัสดิการแห่งรัฐ 3 รูปแบบ คือ 1. บล็อกเชน (Blockchain) คือ เครือข่ายการเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง โดยสามารถป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลและทำให้รู้แม้กระทั่งว่า ใครเขียนข้อมูลอะไรลงไปบ้าง 2.ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) คือ ระบบที่ช่วยพิสูจน์ตัวตน 3.เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) คือ การทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะมีหรือไม่มีบัญชีธนาคารเลยก็ได้ โดยการนำเทคโนโลยีทั้ง 3 รูปแบบ มาใช้กับระบบสวัสดิการแห่งรัฐนั้น สุทธิพงษ์ อธิบายว่า ส่วนใหญ่ขั้นตอนการคัดกรองผู้มีสิทธิรับประโยชน์…

ดาบสองคม! ผู้เชี่ยวชาญชี้ “ข้อดี – ข้อเสีย” เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

Loading

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชี้ว่า โลกกำลังเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ ที่สามารถประมวลผลข้อมูลมหาศาลจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจำนวนมาก ได้ในเวลาสั้นๆ ที่การประชุม MIGC หรือ Milken Institute Global Conference ที่นครลอส แองเจลลีส เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีได้พูดคุยหารือเกี่ยวกับประโยชน์และอันตรายของเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ คุณ Tom Siebel ประธานและซีอีโอของบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ C3 IoT ชี้ว่า ข้อมูลที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สามารถดึงจากอุปกรณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือนั้น ล้วนเต็มไปด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางเศรษฐกิจ และข้อมูลการแพทย์ ซึ่งล้วนมีความสำคัญ และเสี่ยงที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ผู้เชี่ยวชาญยังระบุด้วยว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้นในอนาคต ยกตัวอย่าง รถยนต์ควบคุมตัวเองอัตโนมัติอาจทำให้คนขับรถแท็กซี่ตกงาน หรือคนงานตามโรงงานต่างๆ ที่อาจถูกหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้น บริษัทหรือห้างร้านต่างๆ ก็อาจต้องปิดตัวลงจากการขยายตัวของบริษัทเทคโนโลยีออนไลน์ เช่น การที่ร้านค้าของเล่นรายใหญ่ Toy ‘R’ Us ต้องปิดกิจการทั่วอเมริกา เพราะลูกค้าหันไปซื้อของเล่นทางออนไลน์จากร้านอีคอมเมิร์ช อย่าง Amazon มากขึ้น…

จีนพัฒนา AI สแกนหาสิ่งผิดกฎหมาย แม่นยำร้อยละ 95

Loading

ไชน่าเดลี่ สื่อจีนรายงาน (26 เม.ย.) จีนพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับระบบตรวจความปลอดภัย ซึ่งสามารถสแกนหาสิ่งผิดกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว รายงานระบุว่า บริษัท ไชน่าแอโร่สเปซ ซายแอนด์อินดัสเทรียล คอร์ป (China Aerospace Science and Industry Corp หรือ CASIC) หนึ่งในกิจการด้านอวกาศจีน พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถแสกนหาวัตถุผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นโลหะหรืออโลหะที่ซ่อนอยู่ใต้เสื้อผ้าได้ภายในเวลาเพียง 0.7 วินาที ด้วยความแม่นยำถึงร้อยละ 95 บริษัทฯ ออกแบบระบบดังกล่าวเพื่อใช้ในจุดตรวจความปลอดภัยที่มีผู้คนต้องใช้บริการเป็นจำนวนมาก เช่น สนามบิน และสถานีรถไฟ โดยผู้ที่จะถูกตรวจสอบเพียงแค่ยกมือเหนือศรีษะเดินผ่านเครื่องตรวจ ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการตรวจรวมถึงหางแถวสะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยในบริเวณสำคัญของจีนมักเป็นระบบเอ็กซเรย์ ซึ่งใช้แรงงานคนจำนวนมากและเสียเวลานาน นอกจากนี้ ยังส่งผลข้างเคียงทางรังสีในบางกรณี นายหู หลิน วิศวะกรผู้ออกแบบระบบดังกล่าวเปิดเผยว่า ระบบสแกนแบบใหม่ใช้รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีความเข้มข้นเพียง 1 ใน 1,000 ของสัญญาณโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันเท่านั้น นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวด้วยการเบลอภาพหน้าและส่วนสงวนของผู้เขารับการตรวจสอบอีกด้วย โดยระบบปัญญาประดิษฐ์จะจดจำวัตถุผิดกฎหมายในรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ระบบฯ ใหม่นี้อยู่ระหว่างการทดลองใช้เต็มรูปแบบที่ท่าอากาศยานนานาชาติในนครปักกิ่ง —————————————————————–…

พบช่องโหว่บนระบบล็อกประตูโรงแรม เสี่ยงถูกใช้สร้าง Master Key เปิดได้ทุกห้อง

Loading

ทีมนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยของ F-Secure ออกมาเปิดเผยถึงช่องโหว่บนระบบล็อก Vision by VingCard ของ Assa Abloy ผู้ผลิตระบบล็อกให้แก่โรงแรมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถนำไปสร้าง Master Key ใช้เปิดห้องของโรงแรมหลายล้านห้องทั่วโลกได้ Vision by VingCard เป็นระบบล็อกที่ผลิตโดยบริษัท Assa Abloy ซึ่งถูกใช้งานในโรงแรมและสถานที่ต่างๆ มากกว่า 42,000 แห่งใน 166 ประเทศทั่วโลก โดยทีมนักวิจัยของ F-Secure ได้แก่ Tomi Tuominen และ Timo Hirvonen ออกมาเปิดเผยว่าค้นพบช่องโหว่การออกแบบระบบล็อกความรุนแรงสูง ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถอ่านข้อมูลจากคีย์การ์ดและตัวล็อกเพื่อสร้าง Master Key สำหรับปลดล็อกประตูที่ใช้เทคโนโลยีล็อกของ Vision by VingCard ได้ทั้งหมด โดยไม่ทิ้งร่องรอยใด ๆ ไว้ เพื่อทำการสร้าง Master Key นักวิจัยทั้งสองได้ออกแบบอุปกรณ์ชนิดพิเศษสำหรับเจาะช่องโหว่ของระบบล็อก Vision by VingCard ขึ้นมา (ดังแสดงในรูปด้านล่าง)…