ม.มหิดล โชว์เทคโนโลยีจัดการฝูงชน (Crowd Management) ความปลอดภัยขั้นกว่า

Loading

  หลังยุคโควิด ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังก้าวสู่ช่วงเทศกาลประเพณีและงานรื่นเริงเฉลิมฉลองของประชาชน และยังเป็นช่วงไฮซีซั่นของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สนามบินสุวรรณภูมิแน่นขนัดด้วยนักท่องเที่ยวขาเข้าที่มุ่งมาเที่ยวไทย ม.มหิดลจึงได้นำเทคโนโลยี Crowd Management มาใช้     นับจากนี้ต่อจากเทศกาลลอยกระทง เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ จนถึงงานประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งการจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่กำลังจะกลับมา เช่น คอนเสิร์ตขนาดใหญ่ เทศกาลดนตรี การจัดแข่งขันกีฬา เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดหมายทางการตลาดและฐานแฟนคลับของศิลปินและนักกีฬานานาประเทศ ยังไม่รวมงานประเพณีท้องถิ่น จึงมีคำถามว่า เราจะจัดการฝูงชนให้ปลอดภัยอย่างไร? คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล มีข้อเสนอแนะ เพื่อมิให้ซ้ำรอยโศกนาฏกรรมอิแทวอน ในเกาหลีใต้ที่เป็นข่าวสะเทือนใจคนทั่วโลก     ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการหัวหน้าภาควิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า งานรื่นเริงฉลอง Halloween คืนวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ในย่านบันเทิง ‘อิแทวอน’ ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้ผ่อนคลายมาตรการไม่บังคับสวมหน้ากากอนามัยครั้งแรกหลังจากระยะ 2 ปีของวิกฤติโควิด-19 ทำให้ผู้คนกว่า 1 แสนคน ทะลักเข้าสู่ย่านอิแทวอน และกลายเป็นฝูงชนเบียดอัด…

วิเคราะห์สาเหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอน และแนวทางรับมือ

Loading

  –   ผู้เชี่ยวชาญชี้เหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอนสามารถป้องกันได้ แต่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดและจำกัดจำนวนคนในพื้นที่ที่จำกัด   –   แรงบีบอัดจากฝูงชนจำนวนมาก เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ง่าย เพราะแรงบีบอัดดังกล่าวมีพลังมหาศาลมากพอที่จะทำให้แท่งเหล็กหักหรืองอได้ด้วย   –   ล่าสุดผบ.ตร.เกาหลีใต้ยอมรับ ตำรวจบกพร่องในการดูแลและป้องกันเหตุจนทำให้เกิดโศกนาฏกรรมฮาโลวีนอิแทวอน พร้อมสั่งให้เร่งสืบสวนสาเหตุอย่างเร่งด่วน     เหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอนในเกาหลีใต้ สร้างความสะเทือนใจไปทั่วโลก จนทำให้หลายประเทศต่างเร่งถอดบทเรียน เพื่อใช้เป็นแนวทางป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ในโลก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าเหตุการณ์ในลักษณะนี้สามารถป้องกันได้ แต่ต้องมีการดูแลฝูงชนอย่างใกล้ชิดและต้องจำกัดจำนวนคนในการเข้าไปร่วมงานในพื้นที่ที่จำกัด นอกจากนี้การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นด้วยเช่นกัน     ศาสตราจารย์ คีธ สติล แห่งมหาวิทยาลัยซัฟฟอร์กของประเทศอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยฝูงชน และเป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงฝูงชนมานานกว่า 30 ปี ระบุว่าการเคลื่อนที่เพียงแค่เล็กน้อยของฝูงชนที่อัดกันแน่นไปตามตรอกแคบๆ เพียงแค่ 4 เมตร เป็นสาเหตุที่ทำให้ฝูงชนจำนวนมากล้มตามๆ กันเหมือนโดมิโนได้ โดยภายใต้สถานการณ์เช่นนั้นเมื่อมีคนล้มลง ผู้คนต่างก็พยายามที่จะลุกขึ้น ทำให้แขนขาพันกันไปมาและยิ่งเกิดความยากลำบากที่จะลุกขึ้นได้ และเมื่อผ่านไปราว 30 วินาที เลือดจะหยุดไหลไปเลี้ยงสมอง ทำให้หมดสติและตามมาด้วยอาการขาดออกซิเจนภายใน 4 ถึง 6 นาที ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำให้เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก     ในวันที่เกิดเหตุที่อิแทวอน…