ข้อมูลอีเมลรั่วไหลมีความเสี่ยงถึงชีวิตได้หรือไม่

Loading

  เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษ (UK Information Commissioners’ Office: ICO) ได้เผยแพร่คำสั่งปรับทางปกครองกระทรวงกลาโหมของประเทศอังกฤษเป็นเงินจำนวน 350,000 ปอนด์ (ประมาณ 15.6 ล้านบาท)   อันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอัฟกานิสถาน ที่จะทำการอพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศอัฟกานิสถานไปยังประเทศอังกฤษในช่วงปี 2564 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย UK GDPR (UK General Data Protection Regulation)   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กลุ่มตาลิบาน (Taliban) ได้เข้าควบคุมประเทศอัฟกานิสถานในปี 2564 กระทรวงกลาโหมในขณะนั้นได้ดำเนินนโยบาย UK’s Afghan Relocations and Assistance Policy (ARAP) เพื่อช่วยเหลือในการจัดหาที่อยู่ให้กับชาวอัฟกานิสถานที่ร่วมปฏิบัติการกับรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการลี้ภัย โดยให้ยื่นคำร้องขอและส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านช่องทางอีเมล   จากการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เมื่อกระทรวงกลาโหมได้ส่งอีเมลไปยังผู้รับจำนวน 245 คนซึ่งเป็นพลเมืองอัฟกานิสถานผู้มีสิทธิลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษ…

“อั่งเปาฟรี” ไม่มีจริง! มุกใหม่มิจฉาชีพส่ง SMS หลอกคลิกลิงก์ดูดเกลี้ยงบัญชี

Loading

    เตือนภัยกลโกงใหม่มิจฉาชีพ หลอกส่งลิงก์ผ่าน SMS อ้างแจก “อั่งเปาฟรี” ช่วงเทศกาลตรุษจีน เผลอคลิกดูดเงินเกลี้ยงบัญชี   วันนี้ ( 17 ม.ค. 66 ) กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท. แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้เทศกาลต่างๆ ก่อเหตุหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และล่าสุดในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จะถึงนี้ มิจฉาชีพฉวยโอกาสส่งลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น หรือ SMS อ้างว่าท่านได้รับอั่งเปาฟรี ได้รับสิทธิพิเศษ หรือได้รับเงินรางวัลต่างๆ   SMS อั่งเปาฟรี จะหลอกให้คลิกเข้าไปในเว็บไซต์ปลอม ให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิต หรือเครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัส OTP เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปเข้าถึงบัญชีสื่อสังคมออนไลน์แล้วไปหลอกยืมเงินผู้อื่น ใช้บัตรเดบิตหรือเครดิตรูดชำระค่าสินค้า หรือถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือนำไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นขอเตือนว่าอย่ากดลิงก์เข้าไปเด็ดขาด…

เปิด 3 แอปพลิเคชัน ถูกแบนเพราะผิดกฎหมาย เปิดให้สอดแนม-แฮกมือถือได้

Loading

  เปิด 3 แอปฯ มือถือ ที่ถูกแบนเพราะผิดกฎหมาย เพราะเปิดข้อมูลส่วนบุคคลให้คนอื่นรู้ เสี่ยงโดนสอดแนม ถูกคุกคามทางเพศ และแฮกมือถือชาวบ้านได้   ชวนวัยรุ่นดิจิทัลไลฟ์ มาทำความรู้จัก เปิด 3 แอปฯ มือถือ ที่ผิดกฎหมายและถูกแบนเพราะเปิดโอกาสให้ชีวิตดิจิทัลเราเสี่ยงภัยมากขึ้น     AndroDumpper   แอปฯ AndroDumpper เป็นแอปพลิเคชันที่เปิดให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ของคนอื่นได้โดยไม่ต้องใช้รหัส Wi-Fi ด้วยฟีเจอร์ของมันทำให้คนร้ายอาจใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ จึงถูกถอดออกจาก Play Store และมีส่วนที่ผิดกฎหมายด้วย เพราะการพยายามเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่ามีความผิด ในการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น   ดังนั้นถ้าใครที่แอปฯ แฮก Wi-Fi ข้างบ้านก็ระวังตัวให้ดีครับ ถ้าเขาจับได้ก็อาจเจอดีได้ ส่วนใครที่บ้านมี Wi-Fi แรก ๆ ก็ระวังให้ดี เพราะไม่แน่ใครที่เดินผ่านไปมาอาจะแอบพยายามยืนแฮก Wi-Fi หน้าบ้านของคุณได้     Secret SMS Replicator  …