วิธีสังเกตเพจปลอม เพจหลอกลวง

Loading

วิธีสังเกตเพจปลอม เพจหลอกลวง หลังช่วงนี้เพจเฟซบุ๊ก ปลอม COPY เพจของแท้เยอะขึ้น ทั้งโรงแรม และร้านค้าบน Facebook เพื่อหวังหลอกผู้ซื้อให้โอนเงิน ดังนั้นบทความนี้จะบอกวิธีสังเกตของแท้ของปลอม รวมถึงวิธีสังเกตคนขายด้วย

วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นโรงแรม เช็กเพจให้ดีก่อนจอง

Loading

  วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม โดยเฉพาะเพจร้านค้า และเพจโรงแรม ที่เปิดจองโรงแรมต่าง ๆ หลังมีเพจปลอมแอบเนียนเปลี่ยนชื่อมาหลอกขายผ่านทาง Facebook และมีผู้ถูกหลอกจำนวนมาก ดังนั้นควรตรวจสอบให้ดีว่าเพจนั้นเป็นเพจจริงหรือไม่ด้วยวิธีการดังนี้   วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นโรงแรม ยกตัวอย่างโดยข้อมูลจากเพจ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เผยแพร่ภาพว่าเพจโรงแรมจริง กับเพจโรงแรมปลอมนั้นแตกต่างกันอย่างไร โดยทำตามขั้นตอนดังนี้   iT24Hrs   เข้าไปที่เพจของโรงแรม แล้วคลิก เกี่ยวกับ >> เลือก ความโปร่งใสของเพจ >> แล้วเลือกที่ ดูทั้งหมด   iT24Hrs   จะปรากกฎข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชื่อเพจ และคนจัดการเพจ จะเห็นได้ว่าเพจปลอม มีการเปลี่ยนชื่อเป็นเพจอื่น ไม่ได้ใช้ชื่อโรงแรมตั้งแต่แรก และดูคนจัดการเพจนี้ไม่ใช่คนไทย แต่มาจากเมียนมา เป็นต้น   iT24Hrs   ซึ่งจากเพจจริงก็ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่ต้น ปี 2012 และระบุจากประเทศไทยตั้งแต่แรก   และยังพบโรงแรมอื่น ๆ ที่ถูกเพจปลอมแอบอ้างเป็นโรงแรมจำนวนมาก ดังนั้นนอกจากตรวจสอบเพจแล้ว อาจลองโทรสอบถามกับทางโรงแรมโดยตรงก็ได้ มิฉะนั้นอาจเสียเงินฟรีโดยไม่ได้พักในโรงแรมเลย…

เตือนภัย มิจฉาชีพเลียนแบบเพจตำรวจไซเบอร์ หลอกลวงแอดไลน์ อ้างช่วยเหลือคดี ขโมยข้อมูลส่วนตัวสร้างความเสียหายกับเหยื่อ

Loading

    โฆษก บช.สอท.เตือนภัย มิจฉาชีพเลียนแบบเพจตำรวจไซเบอร์ หลอกลวงแอดไลน์ อ้างช่วยเหลือคดี แต่กลับเอาข้อมูลส่วนตัวเหยื่อไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย   วันนี้ (27 มี.ค.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอม หรือลอกเลียนแบบเพจเฟซบุ๊กของตำรวจไซเบอร์ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หลอกลวงประชาชน อ้างสามารถช่วยเหลือติดตามคดี แต่กลับนำข้อมูลส่วนบุคคลไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ดังนี้     ได้รับรายงานจาก กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่าได้ตรวจสอบพบเพจเฟซบุ๊กปลอมชื่อ “สืบสวน สอบสวน การป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยี” ได้นำตราสัญลักษณ์ของของหน่วยงานมาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการหลอกลวงประชาชน ภายในเพจดังกล่าวพบมีการคัดลอกรูปภาพ ข้อความ การเเจ้งเตือนภัยออนไลน์ต่างๆ และภารกิจของตำรวจไซเบอร์ของเพจจริงมาใช้ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเพจดังกล่าวเชื่อว่าเป็นเพจจริง เมื่อมีประชาชนติดต่อเข้าไปทาง Facebook Messenger มิจฉาชีพจะส่งไอดีไลน์ พร้อมลิงก์เพิ่มเพื่อนซึ่งใช้บัญชีไลน์ชื่อว่า “ศูนย์ช่วยเหลือ” โทร 1567 (แท้จริงแล้วเป็นเบอร์ของศูนย์ดำรงธรรม) แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ สามารถช่วยเหลือและติดตามคดีที่ประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ จากนั้นจะขอข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด…