ตร.เวียดนามจับ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ฐานพยายามล้มล้างการปกครอง หลังโพสต์-แชร์ เนื้อหาหมิ่นพรรคคอมมิวนิสต์

Loading

แฟ้มภาพเอเอฟพี   ตร.เวียดนามจับ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ฐานพยายามล้มล้างการปกครอง หลังโพสต์-แชร์ เนื้อหาหมิ่นพรรคคอมมิวนิสต์   เมื่อวันที่ 17 มีนาคม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ตำรวจเวียดนามได้ทำการจับกุมผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ถูกทางการกล่าวหาว่าพยายามล้มล้างระบอบปกครองด้วยการแชร์เนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาทบรรดาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม   กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของเวียดนามแถลงว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุม ฟาน ถิ ธานห์ ญา อายุ 39 ปี ซึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์และแชร์บทความและวิดีโอรวม 25 รายการตั้งแต่ปี 2018 โดยมุ่งบิดเบือนและทำให้คณะผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและประเทศเสื่อมเสียชื่อเสียง   นอกจากนี้ ฟาน ถิ ธานห์ ญา ยังถูกตำรวจกล่าวหาว่าเข้าร่วมและเกณฑ์สมาชิกใหม่เพื่อเข้าร่วมใน “รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งชาติเวียดนาม” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฐานการดำเนินงานในสหรัฐอเมริกา ที่ทางการเวียดนามได้ขึ้นบัญชีดำว่าเป็น”องค์กรก่อการร้าย” ด้วย   ทั้งนี้แม้จะมีการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางและเปิดกว้างมากขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามยังคงเซ็นเซอร์สื่ออย่างเข้มงวดและแทบจะไม่อดทนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมคุมขังประชาชนจำนวนมากที่ออกมาแสดงความเห็นต่อต้านรัฐบาลเวียดนาม     ————————————————————————————————————————- ที่มา :               …

ดีมากกว่าเสีย? ‘เฟซบุ๊ก’ เก็บเงินยืนยันตัวตน ช่วยแยกเพจปลอมคนดังที่ถูกแอบอ้างได้

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ชี้ เฟซบุ๊กเก็บเงินค่ายืนยันตัวตน ช่วยให้รู้ว่าเพจไหนปลอมเพจไหนจริง แต่หวั่นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ต้องใช้บัตรประชาชนสมัคร ระบุต้องอยู่ภายใต้ ก.ม.พีดีพีเอ   ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การที่เฟซบุ๊กจะเก็บค่าบริการ ใช้สัญลักษณ์รับรองบัญชีอย่างเป็นทางการ (Meta Verified) ประมาณ 400-500 บาทต่อเดือน นั้น จะช่วยให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก รู้ว่าเพจไหนเป็นเพจจริงหรือปลอม หลังจากปัจจุบันจะพบปัญหาเพจปลอมจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่มีชื่อเสียงถูกปลอมหรือแอบอ้างทำเพจปลอมจำนวนมาก ผู้มีชื่อเสียงบางคนถูกนำรูปและข้อมูลไปปลอมเพจมีเป็นสิบเป็นร้อยเพจ ถ้ามีการยืนยันมีเครื่องหมายถูก ก็จะช่วยให้คนที่ใช้งาน รู้ว่าเพจไหนปลอมหรือจริง ช่วยให้ไม่ถูกหลอก   “สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การสมัครบริการ จะต้องใช้บัตรประชาชน หรือเอกสารราชการนั้น ทางเฟซบุ๊ก ก็ต้องดำเนินการ ตามกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของประเทศไทย ต้องดูแลข้อมูล ไม่ให้เกิดการรั่วไหล และหากเกิดรั่วไหลก็ต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมายประเเทศไทย แต่ที่ผ่านมาผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม จากต่างประเทศเหล่านี้มักอ้างว่า ไม่มีออฟฟิศ หรือสำนักงานในไทย ซึ่งจะทำให้การเอาผิดตามกฎหมายทำได้อยาก ส่งผลให้ไทยไม่มีอธิปไตยไซเบอร์ ที่ไม่สามารถเอาผิดแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ตามกฎหมาย”   ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า การให้บริการนี้ทางเฟซบุ๊ก บอกว่าจะให้บริการในการติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รวดเร็วขึ้นหากเกิดปัญหา ถือเป็นพรีเมียมเซอร์วิส แต่ที่จริงควรจะดำเนินการให้กับทุกคนไม่เฉพาะที่ต้องจ่ายเงิน และต้องดูว่า เมื่อมีการจ่ายเงินไปแล้ว จะได้รับบริการเร็วตามที่อ้างหรือไม่ หากมีคนยอมจ่ายเป็นล้านคนจะได้บริการที่รวดเร็วหรือไม่ ต้องดูว่าประสบการณ์ หลังการจ่ายเงินแล้วจะเป็นตามที่โฆษณาหรือไม่ โดยมองว่าบริการนี้จะมีคนจ่ายเฉพาะคนดัง…

วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook

Loading

  วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook การที่เรามีบัญชี Facebook ใส่ข้อมูลประวัติบางอย่าง นั่นหมายความว่าจะมีคนอื่นๆเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือข้อมูลประวัติทั่วไป ทุกคนบน Facebook สามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ ดังนั้นการรักษาความเป็นส่วนตัวใน Facebook จึงเป็นเรื่องสำคัญและขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการตั้งค่าเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook   วิธีปกป้องความเป็นส่วนตัวบน Facebook   1. อย่าเพิ่มคนไม่รู้จักเลยเป็นเพื่อน เพราะเราไม่มีทางรู้เจตนาหรือตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาว่าคิดดีกับเราหรือไม่ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือเพิ่มเฉพาะคนที่เรารู้จักเป็นการส่วนตัว และเคยเจอคุยกันในชีวิตจริงเท่านั้น   2. อย่าอัปโหลดข้อมูลทั้งหมดของคุณ Facebook มีส่วนเฉพาะที่ผู้ใช้สามารถเพิ่มข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษา และรายละเอียดการทำงาน แต่การเพิ่มข้อมูลนั้นมันจำเป็นจริงๆ หรือ? Facebook และผู้ใช้รายอื่นจำเป็นต้องรู้ว่าคุณเรียนจบในวัยมัธยมที่ไหน? แม้การให้ข้อมูลทุกอย่างอาจดูน่าสนใจ แต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอัปโหลดข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมด คุณควรเพิ่มเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อ เมือง และรูปโปรไฟล์ล่าสุดของคุณและหลีกเลี่ยงการอัปโหลดข้อมูลลับให้เห็นในรูปแบบสาธารณะ   3. ปรับแต่งความเป็นส่วนตัวของโพสต์ของคุณ ทุกโพสต์ที่คุณแชร์มีตัวเลือกในการแก้ไขความเป็นส่วนตัวและทำให้ผู้ชมบางคนเห็นได้ ผู้ใช้สามารถอัปโหลดรูปโปรไฟล์และเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นเพื่อนหรือเฉพาะฉัน ขั้นตอนมีดังนี้   iT24Hrs   ใน Facebook Stories ยังมีตัวเลือกในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายคุณควรเปลี่ยนการตั้งค่าผู้ชมเป็นเพื่อนเท่านั้นหรือเพื่อน…

วิธีจัดการบัญชีเฟซบุ๊ก หลังเสียชีวิต มีข้อดีอย่างไร

Loading

  จากการเสียชีวิตของดาราสาวแตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์ ที่จากไปราว 3 เดือน แล้วอยู่ดีๆ ก็มีการเคลื่อนไหวบนบัญชีเฟซบุ๊กของเธอจนกลายเป็นที่จับตามองของสังคม ขณะเดียวกันก็เกิดคำถามว่า หลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้วนั้น จะเกิดอะไรขึ้นกับบัญชีเฟซบุ๊กของเราบ้าง การจัดการของเฟซบุ๊ก ในกรณีที่เราเสียชีวิตนั้น ทางเฟซบุ๊กได้มี 2 แนวทางให้เลือกสำหรับการจัดการบัญชีเฟซบุ๊กของเรา นั่นคือ 1.เราสามารถเลือกที่จะแต่งตั้งผู้สืบทอดบัญชีเพื่อดูแลบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์หรือลบบัญชีของเราออกจากเฟซบุ๊กอย่างถาวรได้ 2.หากเราไม่ได้เลือกที่จะลบบัญชีแบบถาวร เมื่อทางเฟซบุ๊กทราบว่าเราเสียชีวิตไปแล้ว ทางระบบจะเก็บบัญชีเฟซบุ๊กของเราไว้เป็นอนุสรณ์ ผู้สืบทอดบัญชี หากก่อนเสียชีวิตเราได้เลือก “ผู้สืบทอดบัญชี” เพื่อทำหน้าที่ดูแลบัญชีเฟซบุ๊กของเราหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เพื่อนและคนใกล้ชิดได้ระลึกถึง โดยหน้าที่ของผู้สืบทอดบัญชีมีดังต่อไปนี้ – ตอบรับคำขอเป็นเพื่อนในนามของบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ – ปักหมุดโพสต์รำลึกไว้บนโปรไฟล์ – เปลี่ยนรูปโปรไฟล์และรูปภาพหน้าปกได้ – หากบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์มีพื้นที่สำหรับการแสดงความอาลัย ผู้สืบทอดบัญชีจะสามารถตัดสินใจได้ว่าใครจะสามารถเห็นและโพสต์การแสดงความอาลัยได้บ้าง – ส่งคำขอลบบัญชีของเรา – ดาวน์โหลดสำเนาของสิ่งที่เราแชร์บนเฟซบุ๊ก หากเรายังไม่ได้เปิดฟีเจอร์ดังกล่าว ทางเฟซบุ๊กอาจจะเพิ่มเติมความสามารถให้แก่ผู้สืบทอดบัญชีในอนาคต อย่างไรก็ตาม ผู้สืบทอดบัญชีของเราจะไม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ – เข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของเรา – อ่านข้อความของเรา – ลบเพื่อนของเราหรือสร้างคำขอเป็นเพื่อน – ไม่สามารถแก้ไขโพสต์ของเราก่อนที่จะเสียชีวิตได้ – ไม่สามารถใช้งานระบบแชตได้ ด้วยเหตุนี้…

เฟซบุ๊กลบกว่า 500 บัญชีคนจีน ปั้น “นักวิทย์ทิพย์” ชาวสวิส โจมตีสหรัฐปมโควิด

Loading

  เฟซบุ๊กลบกว่า 500 บัญชีคนจีน – วันที่ 2 ธ.ค. บีบีซี รายงานว่า เมตา แพลตฟอร์ม เจ้าของเฟซบุ๊ก สื่อสังคมออนไลน์สัญชาติอเมริกัน ลบบัญชีออกไปมากกว่า 500 บัญชี ที่มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายการบิดเบือนข้อมูลออนไลน์ซึ่งมีฐานอยู่ในประเทศจีน บัญชีดังกล่าวมีการสนับสนุนการกล่าวอ้างของนักชีววิทยาตัวปลอมชาวสวิส ที่เรียกตัวเองว่า “วิลสัน เอ็ดเวิร์ดส์” ซึ่งกล่าวหาสหรัฐอเมริกาว่าแทรกแซงในความพยายามค้นหาต้นกำเนิดของโควิด-19 และข้อเขียนของเอ็ดเวิร์ดส์ถูกสื่อทางการจีนรายงานต่อกันเป็นวงกว้าง แต่ต่อมา สถานทูตสวิสระบุว่า ไม่มีบุคคลชื่อนี้เป็นพลเมืองสวิส เมตา แพลตฟอร์มส์ ออกรายงานว่า การรณรงค์ทางสื่อสังคมออนไลน์ของจีนไม่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวด ซึ่งกำหนดเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และผู้ใช้ภาษาจีนสื่อสารในไต้หวัน ฮ่องกง และทิเบต   Looking for Wilson Edwards, alleged ?? biologist, cited in press and social media in China over the last several…

เฟสบุ๊ค สั่งถอดระบบจดจำใบหน้าในบัญชีผู้ใช้ 1 พันล้านคนทั่วโลก

Loading

  เฟสบุ๊ค ประกาศปิดระบบจดจำใบหน้าที่ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ภายในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งจะมีผลกับผู้ใช้ในเฟสบุ๊คกว่า 1 พันล้านบัญชี ท่ามกลางความกังวลด้านสังคมเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว ตามรายงานของรอยเตอร์ เจอโรม เพเซนที รองประธานฝ่ายระบบปัญญาประดิษฐ์ของเฟสบุ๊ค ระบุในบล็อกโพสต์เมื่อวันอังคาร (2 พฤศจิกายน) ว่า ในช่วงที่หน่วยงานกำกับดูแลยังอยู่ระหว่างการจัดทำกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้งาน และด้วยสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในระยะนี้ ทางเฟสบุ๊คเชื่อว่า การจำกัดการใช้ระบบจดจำใบหน้าเป็นมาตรการที่เหมาะสม เฟสบุ๊ค ระบุว่า มาตรการนี้จะมุ่งไปที่การปิดระบบเทมเพลตจดจำใบหน้าของบัญชีผู้ใช้กว่า 1 พันล้านราย ซึ่งทุกๆวัน จะมีผู้ใช้ระบบดังกล่าวราว 1 ใน 3 ของบัญชีผู้ใช้เฟสบุ๊ค และบริษัทคาดว่าจะถอดระบบดังกล่าวได้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ทางเฟสบุ๊ค ที่เพิ่งประกาศรีแบรนด์เป็น เมตา (Meta) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังไม่ได้ปิดประตูแห่งโอกาสสำหรับระบบจดจำใบหน้าไปอย่างถาวร โดยทางบริษัท ระบุในแถลงการณ์ว่า ยังคงเห็นว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง อย่างเช่น กับผู้คนที่ต้องการยืนยันตัวตนหรือผู้ที่ต้องการป้องกันการฉ้อโกงและการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่นบนโลกออนไลน์ ซึ่งทางบริษัทจะยังคงเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อไป   (มีเนื้อหาบางส่วนจากรอยเตอร์)   ————————————————————————————————————————————————– ที่มา : VOA Thai / วันที่เผยแพร่ 3…