เกาหลีใต้ปรับเมตากว่า 500 ล้านบาท ฐานแชร์ข้อมูลอ่อนไหวของผู้ใช้เกือบล้านคน

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ว่าแถลงการณ์โดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเกาหลีใต้ระบุว่า เมตาละเมิดกฎหมาย เกี่ยวกับห้ามใช้ข้อมูลที่เชื่อมโยงความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนา และชีวิตด้านเพศของผู้คน เว้นแต่บุคคลนั้นจะให้ความยินยอมอย่างชัดเจน

นานาชาติร่วมชัตดาวน์ ‘ปฏิบัติการขโมยข้อมูล’ ออนไลน์ขนาดใหญ่ พบเหยื่อนับล้านทั่วโลก

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ว่าสำนักงานความร่วมมือด้านยุติธรรมยุโรป (ยูโรจัสต์) ประกาศว่า “ปฏิบัติการแมกนัส” ประสบความสำเร็จในการปิดแพลตฟอร์มมัลแวร์ ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่สืบสวนจาก 6 ประเทศ รวมถึงเนเธอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ

เมื่อสิ่งที่เรากลัวเป็นจริง? แฉพันธมิตรเฟซบุ๊ก-กูเกิลใช้เอไอ “แอบฟัง” ผู้ใช้สมาร์ตโฟน!

Loading

แฉเอเจนซีการตลาดที่เป็นพันธมิตรกับเฟซบุ๊กและกูเกิล ใช้เอไอ “แอบฟัง” ผู้ใช้สมาร์ตโฟน เพื่อส่ง “โฆษณา” ที่ตรงกับสิ่งที่เราพูดคุยมาให้! ขณะที่ บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ปฏิเสธรายงานการใช้ซอฟท์แวร์ดักฟังการสนทนา

จับโป๊ะ Facebook! เอี่ยว Cox ใช้ไมโครโฟนดักฟังยิงโฆษณา

Loading

อีกเบาะแสที่พิสูจน์ว่านักโฆษณาบางค่ายดักฟังเราผู้ใช้จริง ล่าสุดมีข้อมูลหลุดจากบริษัทที่เป็นพันธมิตรกับเฟซบุ๊ก (Facebook) ชื่อ Cox Media Group (CMG) ระบุว่ามีการใช้ซอฟต์แวร์ชื่อ “Active Listening” ซึ่งเน้นฟังเนื้อหาจากไมโครโฟนในเครื่องของผู้ใช้ เพื่อให้สามารถยิงโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น ด้านสังคมออนไลน์เซ็งทุกอย่างถูกกฏหมาย ขณะที่เจ้าใหญ่ทั้งกูเกิล (Google) อเมซอน (Amazon) รีบหนีชิงปัดไม่เกี่ยวข้องใด ๆ

บราซิลสั่งห้ามเมต้า นำข้อมูลส่วนตัวลูกค้าไปใช้ไปประมวลผลเอไอ

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สำนักงานคุ้มครองข้อมูลแห่งชาติของบราซิล (ANPD) มีมติสั่งห้ามเมต้า (Meta) ในการบังคับใช้นโยบายใหม่ที่จะมีการนำข้อมูลของผู้ใช้ในเเพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียภายใต้บริษัทเมต้าไปใช้การประมวลเเละฝึกปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ

ออสเตรเลียให้เวลาบริษัทเน็ต 6 เดือน ร่างกฎคุ้มครองเด็กในโลกออนไลน์

Loading

คณะกรรมาธิการความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์ (eSafety) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของออสเตรเลีย ประกาศในวันนี้ (2 ก.ค.) ว่า บรรดาบริษัทอินเทอร์เน็ตจะมีเวลา 6 เดือนในการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อปกป้องเด็ก ๆ ไม่ให้เข้าถึงสื่อลามกอนาจารและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ต หากบริษัทเหล่านี้ไม่สามารถกำหนดกฎเกณฑ์ได้เอง รัฐบาลจะเป็นผู้ออกกฎให้แทน