ออสเตรเลียให้เวลาบริษัทเน็ต 6 เดือน ร่างกฎคุ้มครองเด็กในโลกออนไลน์

Loading

คณะกรรมาธิการความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์ (eSafety) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของออสเตรเลีย ประกาศในวันนี้ (2 ก.ค.) ว่า บรรดาบริษัทอินเทอร์เน็ตจะมีเวลา 6 เดือนในการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อปกป้องเด็ก ๆ ไม่ให้เข้าถึงสื่อลามกอนาจารและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ต หากบริษัทเหล่านี้ไม่สามารถกำหนดกฎเกณฑ์ได้เอง รัฐบาลจะเป็นผู้ออกกฎให้แทน

มาเลเซียสั่ง “เมตา-ติ๊กต็อก” จัดทำแผนจัดการ “เนื้อหาอันตราย”

Loading

ทางการมาเลเซียสั่งให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง เมตา และติ๊กต็อก นำเสนอแผนการต่อสู้กับเนื้อหาที่เป็นอันตรายทางออนไลน์ หลังมีรายงานพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้น บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศ

วิธีใช้ Take It Down แจ้งลบภาพอนาจาร รูปโป๊ รูปเปลือย บนโลกออนไลน์และโซเชียล

Loading

  SHORT CUT •  Take It Down โครงการที่จะเข้ามาช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ตกเป็นภัยของโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นภาพหลุด ภาพโป๊ ภาพเปลือยของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี •  Take It Down เป็นโครงการที่เข้ามาช่วยเด็กและเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อของภัยโซเชียลออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันสามารถใช้งานได้ฟรี แค่ตอบคำถาม ใส่ภาพหรือวิดีโอ ก็สามารถให้ช่วยลบได้เลย •  Take It Down ยังสามารถตรวจสอบย้อนหลังสำหรับผู้ใหญ่ที่กังวลว่าจะมีรูปของตัวเองหลุดก่อนอายุ 18 ปี ซึ่งก็สามารถแจ้งไปในเว็บไซต์ได้เช่นกัน   Take It Down โครงการที่ต้องการช่วยเหลือเยาวชนและวัยรุ่นที่ได้รับภัยออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ภาพส่วนตัว ภาพอนาจาร ภาพโป๊ รูปเปลือยบนโลกออนไลน์ โดยสามารถแจ้งลบได้ฟรี วิธีใช้ก็ง่ายแค่เข้าเว็บ   Take It Down ได้รับการสนับสนุนจากหลากหลายองค์กรไม่ว่าจะเป็น Meta หรือ Facebook เพื่อช่วยให้เยาวชนและวัยรุ่นสามารถเข้าถึงการควบคุมและยับยั้งการเผยแพร่รูปภาพส่วนตัวของตนเองบนโลกออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาพเปลือย ภาพเปลือยบางส่วน หรือภาพอนาจาร    …

เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: พบภาพปลอมที่ใช้เอไอผลิต พยายามโน้มนาวให้คนผิวดำหันมาเลือกทรัมป์

Loading

ผู้สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างและเผยแพร่ภาพผู้มีสิทธิเลือกตั้งผิวดำซึ่งทำปลอมขึ้นมาโดยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อกระตุ้นให้ชาวแอฟริกันอเมริกันลงคะแนนเสียงให้พรรครีพับลิกัน

รัฐบาลมาเลเซียขู่ดำเนินคดีกับเมตา (Meta)

Loading

โลโก้ของเมตา (Meta) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook), อินสตาแกรม (Instagram) และวอทแอปส์ (WhatsApp) (Photo by Chris DELMAS / AFP)   มาเลเซียขู่ว่าจะดำเนินการทางกฎหมายกับเมตา (Meta) โดยกล่าวหาว่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีไม่สามารถลบเนื้อหาที่ “ไม่พึงปรารถนา” ออกจากเฟซบุ๊กได้   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า หน่วยงานกำกับดูแลด้านการสื่อสารของมาเลเซียเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับเมตา (Meta) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook)   หน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐบาลกล่าวว่า แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กถูกรบกวนด้วยปริมาณที่มากมายของโพสต์ที่เป็นอันตรายในประเด็นต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ, ราชวงศ์, ศาสนา และการพนันออนไลน์ และเมตาล้มเหลวในการคัดกรองเนื้อหาดังกล่าวแม้ว่าจะมีการร้องขอซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัทสหรัฐฯ   “เนื่องจากเมตาไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเพียงพอ คณะกรรมาธิการจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดทางกฎหมาย” คณะกรรมาธิการการสื่อสารและมัลติมีเดียของมาเลเซียกล่าวในแถลงการณ์   อย่างไรก็ดี มูลฟ้องยังไม่ได้รับการเปิดเผยว่าเมตาจะถูกดำเนินคดีข้อหาอะไร   ฟาห์มี ฟาดซิล รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของมาเลเซีย แสดงความคิดเห็นต่อคำแถลงของหน่วยงานกำกับดูแล…

ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน ปมข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กยุโรป-หวั่นสหรัฐสอดแนม

Loading

    ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน – วันที่ 22 พ.ค. รอยเตอร์รายงานว่า คณะกรรมาธิการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ไอร์แลนด์ มีคำสั่งลงโทษปรับ “เมต้า” ผู้ให้บริการเฟซบุ๊กเป็นเงิน 1.2 พันล้านยูโร หรือกว่า 4.4 หมื่นล้านบาท ถือเป็นโทษปรับมูลค่าสูงสุดเท่าที่เอกชนไอทีเคยเผชิญมา   โทษปรับดังกล่าวของคกก.ไอร์แลนด์ หรือดีพีซี เกิดขึ้นหลังเมต้าล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเมื่อปี 2563 ที่ให้ยุติความร่วมมือการส่งข้อมูลระหว่างยุโรปกับสหรัฐอเมริกา โดยดีพีซียังขีดเส้นตายให้เมต้าต้องยุติการโอนถ่ายข้อมูลภายใน 5 เดือน   ค่าปรับของดีพีซีนั้นนับว่าสูงที่สุดเท่าที่ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีเผชิญมา สูงยิ่งกว่าค่าปรับที่แอมะซอนเคยถูกสั่งลงโทษมูลค่า 746 ล้านยูโร หรือกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2564   คดีความการต่อสู้เรื่องความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กในทวีปยุโรปเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน มีจุดเริ่มต้นจากนายแม็กซ์ เชร็มส์ นักรณรงค์ชาวออสเตรีย ฟ้องร้องต่อทางการโดยระบุถึงความเสี่ยงที่ชาวยุโรปอาจถูกสำนักงานความมั่นคงสหรัฐฯ หรือเอ็นเอสเอล้วงข้อมูล ตามที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนวเด็น อดีตลูกจ้างเอ็นเอสเอ ออกมาเปิดเผยต่อประชาคมโลก   ด้านเมต้า ระบุว่า…