ฝ่ายต้านรัฐบาลทหารพม่าเปลี่ยนยุทธวิธีโจมตีพุ่งเป้าทรัพย์สินกองทัพ เสาสื่อสารหลายสิบโดนระเบิดพังยับ

Loading

  รอยเตอร์ – คาดว่าประชาชนในพม่าราว 700,000 คน ไม่สามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ หลังเกิดเหตุโจมตีอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ดำเนินการโดย Mytel บริษัทที่ควบคุมโดยกองทัพบางส่วนระบุ ท่ามกลางรายงานที่ว่าเสาสัญญาณมือถือของบริษัทได้รับความเสียหายหลายสิบต้น เหตุระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้งนับตั้งแต่รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ได้ประกาศทำสงครามป้องกันประชาชนกับรัฐบาลทหารเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พม่าตกอยู่ในความโกลาหลวุ่นวายนับตั้งแต่รัฐบาลของอองซานซูจีถูกโค่นล้ม ที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและการผละงานทั่วประเทศ และการเกิดขึ้นของกองกำลังติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลทหาร นอกจากนี้ ยังมีเหตุนองเลือดเกิดขึ้นในบางพื้นที่ หลังรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติประกาศการลุกฮือและเรียกร้องให้กองกำลังติดอาวุธที่รู้จักในชื่อ ‘กองกำลังป้องกันประชาชน’ มุ่งโจมตีรัฐบาลทหารและทรัพย์สินของพวกเขา “การทำลายโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมกำลังขัดขวางวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล การศึกษา และบริการสำคัญต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตของประชาชนหลายแสนคน” โฆษกของบริษัท Mytel ที่เป็นกิจการร่วมทุนระหว่างกองทัพพม่า และบริษัท Viettel ของกระทรวงกลาโหมเวียดนาม ระบุ การโจมตีส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทและเสาสัญญาณมากกว่า 80 ต้นของบริษัท Mytel ถูกทำลายเสียหาย โดยกองกำลังป้องกันประชาชนได้อ้างความรับผิดชอบในบางพื้นที่ ตามการรายงานของหนังสือพิมพ์อิรวดีสัปดาห์นี้ โฆษกของกองทัพไม่ได้ตอบสนองคำร้องขอความคิดเห็นของรอยเตอร์ แต่ในจดหมายข่าวของกองทัพที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ระบุว่า มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นกับเสาโทรคมนาคมสาธารณะ ทั้งนี้ กองทัพไม่ได้ระบุเจาะจงว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร แต่ได้กล่าวหาองค์กรก่อการร้าย NUG ว่าส่งเสริมความรุนแรง และคลิปวิดีโอบนสื่อสังคมออนไลน์ได้แสดงให้เห็นสิ่งที่ดูเหมือนเป็นการระเบิดเสาสื่อสาร…

ระเบิดตูม! กลางย่านธุรกิจ “ย่างกุ้ง” เช้ามืดวันนี้ กลุ่มก่อการร้ายในพม่ายังไม่ยอมรามือ

Loading

  กลุ่มก่อการร้ายวางระเบิดในย่านธุรกิจใจกลางกรุงย่างกุ้งแต่เช้ามืด เสียงดังสนั่น หลัง SAC เพิ่งจัดแถลงข่าวแก่นักการทูตได้เพียง 2 วัน โดยมีการเตือนกองกำลังชาติพันธุ์อย่าสนับสนุนกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า PDF เช้ามืดวันนี้ (30 ส.ค.) เวลาประมาณ 05.00 น. เวลาเมียนมา หรือ 05.30 น.ตามเวลาประเทศไทย ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่แยกเหล่ดาน กรุงย่างกุ้ง เสียงระเบิดดังสนั่น ควันคละคลุ้งมองเห็นได้ในระยะไกล เหล่ดาน อยู่ในย่านกะมายุต ซึ่งเป็นย่านธุรกิจในอำเภอดะโก่งเหนือ ใจกลางกรุงย่างกุ้ง จุดระเบิดเกิดขึ้นด้านข้างทางยกระดับ ใกล้กับศูนย์การค้าเหล่ดาน ณ เวลา 9.30 น. ยังไม่มีรายงานความเสียหาย จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ถูกเผยแพร่ออกมา แต่มีภาพกลุ่มควันขนาดใหญ่ ซึ่งถูกถ่ายได้จากอพาร์ทเม้นท์แห่งหนึ่ง ที่เผยแพร่ออกไปตามสื่อออนไลน์หลายแห่งในเมียนมา ก่อนหน้าการวางระเบิดที่แยกเหล่ดาน เมื่อวานนี้ (29 ส.ค.) ในย่านดะโก่ง มีผู้ได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้นถึง 3 ครั้ง แต่ไม่มีรายงานความเสียหายถูกเผยแพร่ออกมา     เมื่อวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม…

รัฐบาลทหารเมียนมาชี้ทีวีดาวเทียม “เป็นภัยความมั่นคง”

Loading

  การรับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเมียนมาแล้ว ผู้ใดฝ่าฝืนอาจต้องรับโทษจำคุกนานถึง 1 ปี และปรับเงินมากกว่า 10,000 บาท สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ว่า สถานีโทรทัศน์แห่งชาติเมียนมา ( เอ็มอาร์ทีวี ) ประกาศว่า นับจากนี้เป็นต้นไป โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นบริการผิดกฎหมายในประเทศ การรับชมโทรทัศน์ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 จ๊าด ( ราว 10,025.65 บาท )   Yup, you heard it right. 1 year imprisonment and 500,000 MMK fine for having a satellite dish/receiver! 'စေတနာကောင်း' ဖြင့်အသိပေးခြင်းတဲ့ pic.twitter.com/WAcVQeBn23 — M…

‘จีน’ เต้น! เจอผู้ประท้วงเมียนมา ขู่ระเบิดท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน

Loading

  “จีน” ประชุมฉุกเฉินร่วมกับ “เมียนมา” เรียกร้องขอให้คุ้มครองความปลอดภัยท่อก๊าซและท่อน้ำมัน หลังผู้ประท้วงขู่ระเบิด ไม่พอใจท่าทีจีนในเหตุการณ์ประท้วงรัฐประหาร ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองเมียนมา ที่ร้อนระอุ ซึ่งกองกำลังรักษาความมั่นคงได้ใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามผู้ประท้วงชาวเมียนมาต้านรัฐประหาร ทางด้านรัฐบาลปักกิ่ง ได้จัดประชุมฉุกเฉินระดับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่างประเทศเมียนมา เพื่อขอให้คุ้มครองความปลอดภัยท่อก๊าซและท่อน้ำมันระหว่างจีนกับเมียนมา ที่อยู่ในฝั่งเมียนมามีความยาว 795 กม. เว็บไซต์สํานักข่าวอิระวดีอ้างเอกสารลับว่า นายไป๋ เทียน อธิบดีกรมกิจการความมั่นคงระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจีน ได้ขอให้รัฐบาลทหารเมียนมารับรองความปลอดภัยของท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หลังจากที่กลุ่มต่อต้านจีนเกิดความไม่พอใจจุดยืนรัฐบาลจีนต่อการที่กองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร ท่อส่งก๊าซธรรมชาติระหว่างจีน – เมียนมา มีระยะทางในฝั่งเมียนมาเกือบ 800 กม. ซึ่งประกอบด้วยท่อส่งคู่ขนานเริ่มต้นที่เกาะแรมรี ในเขตท่าเรือเจียวเพียว และสร้างคู่ขนานกับท่อน้ำมันดิบจีน-เมียนมา และไปแยกกันที่เมืองอานซุ่นในมณฑลกุ้ยโจว ผ่านนครกุ้ยหยาง และสิ้นสุดที่เมืองกุ้ยก่าง ในเขตปกครองตนเองกว่างสีจ้วง มีความยาวรวมทั้งหมด 2,520 กม. รัฐบาลปักกิ่งคาดหวังว่า เมียนมาจะออกมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้นสำหรับโครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันดังกล่าว เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญของโครงการสายแถบและเส้นทาง(บีอาร์ไอ) “ความเสียหายใดๆ ที่เกิดกับท่อส่งก๊าซและน้ำมัน จะส่งผลต่อความสัมพันธ์จีนและเมียนมา รวมถึงความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ” ไป๋กล่าวเตือน เอกสารลับฉบับนี้ยังระบุว่า ปลัดกระทรวงต่างประเทศเมียนมาไม่สามารถเข้าร่วมประชุมนี้ได้ เนื่องจากได้รับการแจ้งล่วงหน้าจากจีนเพียง 4 ชั่วโมงให้จัดประชุมฉุกเฉินดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลปักกิ่งมีความกังวลอย่างยิ่งต่อโครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันดังกล่าว การแสวงหาผลประโยชน์ของจีนในเมียนมา…

กองทัพเมียนมาแก้ประมวลกฎหมายอาญาความมั่นคง

Loading

การปลุกระดมให้เกิดการล้มล้างรัฐบาลและรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นกบฏ” เนื่องจากเป็นลักษณะความผิดที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสังคม ขณะเดียวกัน รัฐบาลทหารเมียนมายังกำหนดลักษณะความผิดอาญาด้านความมั่นคงอีกหลายรูปแบบ     สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ว่าคณะมนตรีการปกครองแห่งรัฐเผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการแก้ไขบางมาตราของประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วย “พฤติการณ์เข้าข่ายก่อสงครามต่อสหภาพเมียนมา” ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศ ให้ครอบคลุมถึงการปลุกระดม การสนับสนุนหรือสมคบคิดกับกลุ่มบุคคลใด โดยมีเป้าประสงค์เพื่อล้มล้างรัฐบาลและอำนาจตามรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นความผิดร้ายแรง ฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดิน” Anti-coup protesters rally outside National League for Democracy party (#NLD) offices in #Yangon#Myanmar pic.twitter.com/Eba1b11VJ4 — Ruptly (@Ruptly) February 15, 2021 Protesters in Myanmar continued to demand for the release of ousted civilian leader…

ที่มาของการเรียกชื่อประเทศ “Burma” และ “Myanmar” บนเวทีโลก

Loading

  เป็นที่ทราบกันว่าเมียนมาคือประเทศพม่าที่คนไทยเรียกขานกัน สองชื่อนี้ที่เป็นภาษาอังกฤษ คือ Burma และ Myanmar ถูกเลือกใช้เเตกต่างกันในประเทศต่างๆ และในเมียนมาเอง สหประชาชาติและ หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย ใช้คำเรียกประเทศเพื่อนบ้านของไทยนี้ว่า Myanmar แต่สหรัฐฯ มีนโยบายให้ใช้คำเรียกเมียนมาว่า Burma แต่หากต้องเป็นงานที่ต้องเเสดงมารยาททางการทูตในกรณีพิเศษสหรัฐฯจะใช้คำว่า Myanmar แทน ตามคำอธิบายของโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้คำเรียกทั้งสองชื่อมีที่มาทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ เมื่อปี ค.ศ.1989 หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยและสังหารคนหลายพันคน กองทัพผู้ปกครองประเทศเปลี่ยนชื่อพม่าจาก Burma เป็น Myanmar ผู้นำทหารยังเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจาก Rangoon เป็น Yangon กองทัพให้เหตุผลว่า ชื่อเดิม Burma เป็นการสะท้อนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาว Burman ของประเทศแต่มองข้ามความสำคัญของชนกลุ่มน้อยอื่นในประเทศที่มีอยู่ 134 กลุ่ม นอกจากนี้ชื่อ Burma ยังเป็นคำเรียกเมื่อครั้งที่ประเทศอยู่ใต้อำนาจจักรวรรดินิยมอังกฤษ     ในส่วนของคนในประเทศเอง นางออง ซาน…