ความเคลื่อนไหวใหม่ในพม่า กับโอกาสยุติสงครามกลางเมือง

Loading

  รัฐบาลใหม่ของประเทศไทยจะต้องเจอกับประเด็นเรื่องพม่าที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลประยุทธ์ที่ผ่านมา   จึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้แม่นว่าเราจะทำหน้าที่ประสานระหว่างอาเซียนกับผู้นำกองทัพพม่าและฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าอย่างไรจึงจะสามารถช่วยให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขให้กับเพื่อนบ้านทางตะวันตกแห่งนี้ได้   คำประกาศของกองทัพพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะผ่อนผันโทษของอองซาน ซูจีลงจาก 19 ข้อหาเหลือ 14 ข้อหา   และลดโทษจากจำคุก 33 ปีเหลือ 27 ปีนั้นเป็นท่าทีที่จริงจังของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายที่จะริเริ่มกระบวนการเจรจากับ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย” ในพม่าจริงหรือไม่   อาเซียนจะประชุมสุดยอดในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้   เชื่อกันว่าจะมีการ “ทบทวน” เนื้อหาของฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนว่าด้วยวิกฤตพม่าเพื่อให้สอดคล้องกับ “ความเป็นจริงบนภาคพื้นดิน”   อาจจะหมายความว่าอาเซียนพร้อมจะลดความเข้มข้นของมาตรการที่จะไม่ร่วมสังฆกรรมกับระดับนำของพม่าจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการทำตามฉันทามติ 5 ข้อนี้   หรืออาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้าที่หนักขึ้นหรือไม่   อาเซียนเองก็มีท่าทีที่แตกต่างกันในกรณีนี้   อินโดนีเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียนปีนี้มีความแน่วแน่ในการที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าต้องแสดงความคืบหน้าในการทำตาม 5 ข้อที่มิน อ่อง หล่ายไปร่วมประชุมและรับที่จะทำตาม   แต่ถึงวันนี้ก็ยังห่างไกลจากการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม   อินโดฯ, มาเลซีย, สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์โอนเอียงไปในทางเข้มเข้นกับทหารพม่า   ขณะที่เวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและไทยมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากกว่า  …

ปะทะเดือด! กองทัพเมียนมา-กะเหรี่ยงคะยา ได้ยินถึงฝั่งไทย

Loading

  กองทัพเมียนมา โจมตีฐานที่มั่นกะเหรี่ยงคะยาอย่างหนัก จนเสียงปะทะได้ยินถึงฝั่งไทย กองกำลังทั้งสองฝ่ายบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก   กองทัพบกเมียนมาและกองทัพอากาศโจมตีฐานที่มั่นกะเหรี่ยงคะยา อย่างหนัก หลังหน่วยเหนือสั่งการให้ติดตามยึดคืน ปืน ที่ถูกทหารกะเหรี่ยงคะยาและพันธมิตรยึดได้เมื่อเดือน มิถุนายนที่ผ่านมา จนเสียงปะทะได้ยินถึงฝั่งไทย   โดยทหารเมียนมา ได้ทุ่มกำลังเข้าโจมตีฐานที่มั่นกะเหรี่ยงคะยา ที่หมู่บ้านจ๊อกซู จ.บอลาแคะ ใกล้กับแม่น้ำสาละวิน ติดเขตพื้นที่ อ.ผาซอง จ.ลอยก่อว์ ห่างจากชายแดนไทยประมาณ 30 กม.   เสียงระเบิดจากเครื่องบินที่ถูกทิ้งใส่ทหารกะเหรี่ยงคะยา ได้ยินมาถึงที่บ้านแม่เงา ต.แม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน อย่างชัดเจน ทำให้ราษฎรไทยพากันตื่นตระหนก และไม่กล้าออกจากบ้านไปหาของป่าติดแนวชายแดนด้านดังกล่าว   โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการปะทะอย่างหนัก และในห้วงระหว่างที่มีการสู้รบระหว่างทหารราบของทั้งสองฝ่าย ทางกองทัพอากาศเมียนมา ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ จำนวน 3 ลำ มาโจมตีและทิ้งระเบิดใส่ฐานที่มั่นทหารกะเหรี่ยงคะยาด้วย   ทำให้ทหารกะเหรี่ยงคะยา เสียชีวิต 2 นาย และได้รับบาดเจ็บอีกจำนวน 7 นาย // ขณะเดียวกัน ในระหว่างการสนับสนุนทางอากาศของกองทัพอากาศเมียนมานั้น เครื่องบินขับไล่เมียนมา…

รัฐบาลทหารเมียนมาขยายเวลาภาวะฉุกเฉิน ส่งสัญญาณการเลือกตั้งล่าช้า

Loading

  รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศขยายเวลาภาวะฉุกเฉินออกไปอีก 6 เดือนเมื่อวันจันทร์ ส่งสัญญาณถึงการชะลอการเลือกตั้งที่พวกเขาให้คำมั่นว่าจะจัดภายในเดือนสิงหาคม   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 31 กรกฏาคม 2566 กล่าวว่า ที่ประชุมสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติเมียนมา (เอ็นดีเอสซี) ที่อยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร ออกประกาศระบุว่า “สถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศจะขยายออกไปอีก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2566”   ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่ร่างขึ้นโดยกองทัพเมียนมาซึ่งรัฐบาลทหารระบุว่ายังคงมีผลบังคับใช้ กำหนดให้ทางการต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 6 เดือนหลังจากยกเลิกภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นการขยายเวลาออกไปอีก 6 เดือน ทำให้การเลือกตั้งใหม่ภายในเดือนสิงหาคมปีนี้ตามที่รัฐบาลทหารเคยสัญญาว่าจะจัดให้มี ต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน   มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหาร อธิบายต่อที่ประชุมฯว่า การสู้รบและการโจมตียังคงเกิดขึ้นในภูมิภาคสะกาย, มะเกว, พะโค และตะนาวศรี เช่นเดียวกับรัฐกะเหรี่ยง, กะยา และรัฐชิน   “เราต้องการเวลาเพื่อทำหน้าที่เตรียมการอย่างเป็นระบบต่อไป และไม่ควรรีบเร่งจัดการเลือกตั้งตามกำหนดเดิม” เขากล่าวกับที่ประชุม   รัฐบาลทหารได้ขยายภาวะฉุกเฉินออกไปแล้วในปีนี้…

19 ก.ค. 1947 นายพลออง ซาน บิดาแห่งเอกราช วีรบุรุษของพม่า ถูกลอบสังหาร

Loading

  นายพลออง ซาน หรืออู อองซาน เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 ที่เมืองนัตเม่าก์ บิดาคืออูเผ่า เป็นทนายความ มารดาชื่อด่อซู ผู้เป็นปู่คือ โบมีงยอง เป็นนักต่อสู้ที่รักชาติและเคยต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษ นายพลออง ซาน จึงได้สืบทอดมรดกทางจิตใจคือความรักชาติและเป็นนักต่อสู้มาจากคุณปู่   นายพลออง ซานเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์กับคนทุกคนอย่างเสมอภาค และคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของเขา คือ การเคารพในความถูกต้อง ไม่กล่าวเท็จและยึดมั่นในคุณธรรม เป็นคนที่ไม่หลงใหลในลาภยศหรือเงินทอง นายพลเป็นคนที่พูดจาเด็ดขาด การทำงานก็ตรงไปตรงมา และได้เป็นผู้นำการต่อสู้กับอังกฤษเพื่อเอกราชของพม่า โดยได้เป็นผู้นำของ “สมาคมชาวเราพม่า” หรือ “พรรคตะขิ่น” (thakin) โดยมีจุดประสงค์คือ การต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษและความต้องการเอกราชทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ   เมื่อพม่าถูกอังกฤษยึดเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ ใน ค.ศ. 1855 อังกฤษได้ปกครองพม่าโดยตรง และได้ยกเลิกระบบการปกครองเดิมของพม่า สถาบันที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจเดิมคือสถาบันกษัตริย์ที่รุ่งเรืองมาในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพม่า และยังเป็นสถาบันรักษาศิลปวัฒนธรรมและศาสนาสิ้นสุดลง การปกครองระยะเริ่มแรกคือระหว่างปี 1886-1925 อังกฤษได้ให้พม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ยกเลิกการปกครองในหมู่บ้านแบบเก่า จากเดิมที่เคยผูกขาดโดยชนชั้นสูงในหมู่บ้าน ด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านแบบหมุนเวียนกัน นำระบบเทศบาลเข้ามาใช้ตามเมืองใหญ่ๆ ทางตอนล่างของพม่า…

อีกแนวรบ! ฝ่ายต่อต้านถล่มทหารเมียนมา ระเบิดสะพานใหญ่ เป็นจุดที่ 2

Loading

  อีกแนวรบ! ฝ่ายต่อต้านถล่มทหารเมียนมา ขณะลำเลียงกำลังพล พร้อมระเบิดสะพานใหญ่ เป็นจุดที่ 2 ส่งผลทหารเมียนมา บาดเจ็บ เสียชีวิตจำนวนมาก   11 กรกฎาคม 2566 ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทหารสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู.) ร่วมกับ กองกำลังปกป้องประชาชน (พีดีเอฟ.) ปฏิบัติการทางทหาร ยิงใส่รถทหารเมียนมา บนเส้นทางสายจังหวัดกอกาเลก – เมียวดี ตรงข้าม อ.แม่สอด   ขณะที่ทหารเมียนมา กำลังลำเลียงกำลังพลบนเส้นทางดังกล่าว ทำให้มีทหารเมียนมาเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บหลายคน รวมรถยนต์ได้รับความเสียหายด้วย     ขณะเดียวกันฝ่ายต่อต้าน ได้วางกับระเบิดสะพานใหญ่ เชื่อมทางหลวงเส้นทางสายเมียวดี – ย่างกุ้ง จุดเมืองผ่าอ่าง กับ จ.ท่าตอน แรงระเบิดทำให้สะพานเสียหาย สะเก็ดระเบิดกระจายไปทั่ว และทำให้บริเวณตอม่อสะพานชำรุด   ทางการเมียนมา ประกาศห้ามรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ และขนาดเล็กวิ่งไปมา เพราะเกรงว่า จะได้รับอันตราย…

เปิดโปงอาชญากรไซเบอร์จีนตามพรมแดนไทย-เมียนมา มุ่งโจมตีเหยื่อทั่วโลก

Loading

Chinese restaurants with signage in Chinese and Burmese are seen in Shwe Kokko, a newly built town in Myanmar’s Karen state. (VOA Burmese)   องค์กรอาชญากรรมไซเบอร์จากจีนที่ปฏิบัติการอยู่ตามแนวพรมแดนไทย – เมียนมา กำลังคุกคามผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกด้วยหลอกลวงออนไลน์และการฉ้อโกงทางการเงิน โดยใช้ “ทาสทางไซเบอร์” ในการก่ออาชญากรรมต่าง ๆ อ้างอิงจากรายงานของสถาบันแห่งสันติภาพสหรัฐฯ หรือ USIP (United States Institute of Peace) ในกรุงวอชิงตัน   รายงานที่ชื่อ “A Criminal Cancer Spreads in Southeast Asia” ระบุว่า อาชญากรไซเบอร์เหล่านั้นถูกขับไล่ออกจากจีน และขณะนี้ดำเนินการอยู่ตามแนวพรมแดนของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ไทย…