สหรัฐฯ เล็งอู่ต่อเรือญี่ปุ่น เป็นที่มั่นพร้อมรบในเอเชีย

Loading

เมื่อวันศุกร์ ราห์ม เอ็มมานูเอล ทูตสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่น เผยว่า สหรัฐฯ และญี่ปุ่นเตรียมทำสัญญาให้อู่ต่อเรือญี่ปุ่นเป็นสถานที่บำรุงรักษาเรือรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อให้เรือรบเหล่านี้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมหากเกิดเหตุขัดแย้งขึ้นในน่านน้ำฝั่งเอเชีย ตามรายงานของรอยเตอร์

กองทัพญี่ปุ่นเล็งใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของ “อีลอน มัสก์” ไม่กี่วันหลังโดนโยงเข้ากับเรือดำน้ำชมไททานิก

Loading

    รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – กองทัพญี่ปุ่นมีเป้าหมายเตรียมใช้เทคโนโลยีดาวเทียมของอีลอน มัสก์ ในงบประมาณปีหน้า ระหว่างที่ปัจจุบันกำลังทดสอบการใช้งาน เกิดขึ้นท่ามกลางมัสก์โดนเผือกร้อนโดนโยงชื่อเกี่ยวกับเรือดำน้ำชมเรือไททานิกที่หายไป จนเจ้าตัวต้องออกมาตอบไม่กี่วันก่อนหน้า   รอยเตอร์รายงานวันนี้ (25 มิ.ย.) ว่า กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นนั้นปัจจุบันสามารถเข้าถึงดาวเทียมสื่อสารระดับวงโคจรค้างฟ้า (geostationary orbit) ได้ แต่ทว่าการที่จะเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตดาวเทียมบริษัทสตาร์ลิงค์ของมหาเศรษฐีอเมริกัน อีลอน มัสก์ จะช่วยทำให้ญี่ปุ่นเพิ่มความสามารถการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตระดับดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ   แหล่งข่าวใกล้ชิดในรัฐบาลโตเกียวเปิดเผยว่า กองทัพญี่ปุ่นในปัจจุบันกำลังทำการทดสอบระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของมัสก์ ซึ่งโตเกียวมีเป้าหมายจะเริ่มใช้เทคโนโลยีสตาร์ลิงค์ที่ว่านี้ในงบประมาณปีหน้า   ทั้งนี้ พบว่ากองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นนั้นเริ่มการทดสอบระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมมาตั้งแต่เดือนมีนาคมสำหรับระบบที่ถูกใช้ใน 10 จุด และในการฝึกซ้อม หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นกล่าว   ซึ่งในเวลานี้ในหลายประเทศทั่วโลกต่างกำลังสร้างความยืดหยุ่นเพื่อป้องกันความเสี่ยงระบบการสื่อสารถูกรบกวนสัญญาณ หรือมีการโจมตีในกรณีดาวเทียมโดนทำลายหากเกิดความขัดแย้ง ซึ่งเมื่อต้นเดือนนี้เพนตากอนลงนามเซ็นสัญญายอมจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตดาวเทียมให้ยูเครน หลังเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว มัสก์ออกมาเปิดเผยว่า ทางบริษัทของเขาไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับยูเครนตก 20 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไปไหว   ซึ่งนอกเหนือจากยูเครนแล้ว มัสก์ยังแจกซับสคริปชันอินเทอร์เน็ตดาวเทียมฟรีให้ทั้งการประท้วงอิหร่าน และมีรายงานกลุ่มต่อสู้ชนกลุ่มน้อยแนวพรมแดนพม่าติดไทยเพื่อสู้รบกับรัฐบาลทหารพม่าอีกด้วย   เกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากชื่อบริษัทสตาร์ลิงค์ตกเป็นข่าวโยงประเด็นเรือดำน้ำ Titan Submersible ของบริษัทโอเชียนเกตสูญหายและล่าสุดมีรายงานว่า คาดว่าผู้โดยสารทั้ง 5 รายเสียชีวิตทั้งหมดหลังเกิดระเบิด…

กองทัพสหรัฐมาแรง พัฒนาโดรนใต้น้ำไร้คนขับ UUV เฝ้าระวังภัยให้ยานแม่

Loading

  อนาคตในการรบใต้น้ำกำลังเปลี่ยนไป เมื่อกองทัพเรือสหรัฐ กำลังพัฒนาโดรนใต้น้ำไร้คนขับรุ่นใหม่ Unmanned underwater vehicle (UUV) ซึ่งสามารถปล่อยออกจากเรือดำน้ำได้ง่าย และมันก็สามารถกลับมาที่เรือได้ด้วยตัวเอง   แนวคิดของการสร้างโดรนคือ จะใช้โดรนเป็นยากลูกที่ปล่อยไปอยู่แนวหน้าสำหรับการตววจจับการเคลื่อนไหวของศัตรูรวมทั้งตอปิโดที่พุ่งมาจากระยะไกล โดรนจะคอยเป็นหูเป็นตาเพิ่มเติมให้กับยานแม่ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาสำรวจมหาสมุทรหรือค้นหาภูเขาใต้น้ำที่อาจสร้างความเสียหายให้กับเรืออื่น ๆ ได้ โดยล่าสุด เรือดำน้ำจู่โจมเร็วของ USS Connecticut ชนกับภูเขาในทะเลที่ไม่จดอยู่ในแผนที่ ภายในเดือนตุลาคม 2021 อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้ลูกเรือ 21 คนได้รับบาดเจ็บ   ในส่วนของการติดตั้งอาวุธ พวกเขาบอกมันยังไม่ถูกพัฒนาไปถึงขั้นนั้น (แต่อนาคตไม่แน่) ขั้นต้นจะเป็นการใช้โดรนเพื่อสำรวจ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในระหว่างการทดสอบ โดยสามารถปล่อยออกจากเรือดำเนินได้ด้วยตัวเองเป็นผลสำเร็จ แต่ขากลับ ต้องใช้นักประดาน้ำในการไปเก็บมันกลับมา เพราะมันยังหาทางกลับมาเองไม่ถูก ซึ่งสิ่งที่พวกเขาต้องการพัฒนาคือ มันต้องออกและหาทางกลับมาที่ยานแม่ได้ด้วยตัวเองมัน (นึกถึงเครื่องบินไร้คนขับในเรื่อง stealth เลยแฮะ)   ในขณะที่ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้น เราได้เห็นทั้งจีน รัสเซีย และสหรัฐได้พยายามพัฒนาอาวุธใหม่ ๆ มากขึ้นเรื่อย โดยก่อนหน้านี้ จีนก็ได้เปิดตัวเรือดำน้ำไร้คนขับขนาดใหญ่ที่สามารถบรรจุขีปนาวุธและตอปิโดไว้ในนั้นได้ แน่นอนว่ามันสามารถทำตามคำสั่งโดยไม่มีการลังเลใด ๆ ครับ อนาคตโลกเราจะเป็นยังไงต่อไป…

มีหนาว! รัสเซียเตรียมสร้างเรือล่องหนไฮบริด ลูกผสมระหว่างเรือรบกับเรือดำน้ำ

Loading

  สำนักงานออกแบบทางทหารแห่งหนึ่งของรัสเซีย เมื่อวันพุธ (9 ก.พ.) เผยแพร่ภาพดิจิทัล บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการสร้างเรือรบผิวน้ำล่องหน ลูกผสมระหว่างเรือรบกับเรือดำน้ำ สำนักงานออกแบบกลางรูบิน สำหรับวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ในเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เปิดเผยกับสำนักข่าวอาร์ไอเอ โนวอสติ ว่าเรือรบฉายา “Strazh (ผู้พิทักษ์)” เป็นการรวมกันของคุณสมบัติผิวน้ำและใต้น้ำ และสามารถตรวจพบศัตรูด้วยเรดาร์ทรงอานุภาพ พร้อมกับเข้าประชิดศัตรูโดยไม่ทันรู้ตัว ก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว รูบิน เคยเปิดตัวเรือลูกผสมล่องหนเวอร์ชันเล็กกว่า ซึ่งปฏิบัติการได้ทั้งในฐานะเรือลาดตระเวนและเรือดำน้ำ แต่แบบจำลองใหม่นี้มีความยาว 72 เมตร และสามารถเดินทางด้วยความเร็วูงสุด 21 นอต เรือ Strazh ติดตั้งป้อมปืน เครื่องยิงขีปนาวุธนำวิถี 2 ตัว ท่อยิงตอร์ปิโด 4 ท่อและโดรน 1 ลำ โดยแม้ไม่มีการเปิดเผยถึงขนาดความจุ แต่แบบจำลองเวอร์ชันเล็กกว่าที่จัดแสดงเมื่อปีที่แล้วออกแบบมารองรับลูกเรือได้สูงสุด 42 คน     โครงร่างโดยรวมของเรือล่องหนลูกผสมมีความคล้ายคลึงกับเรือดำน้ำชั้นวิสกี ยุคสหภาพโซเวียต สำนักงานออกแบบกลางรูบิน สำหรับวิศวกรรมเครื่องกลเรือระบุ รูบิน ระบุต่อว่าเรือรุ่นนี้ซึ่งจะทำตลาดในต่างแดนในฐานะยามรักษาการณ์เขตแดนและนอกชายฝั่ง จะคุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย ในขณะที่ประเทศต่างๆ ปรับลดค่าใช้จ่ายทางกองทัพระหว่างโรคระบาดใหญ่โควิด-19…

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ดีกว่าเรือดำน้ำธรรมดาอย่างไร และใครมีเรือดำน้ำนิวเคลียร์บ้าง

Loading

  เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดมีกลุ่มพันธมิตรที่สำคัญเรียกว่า AUKUS ซึ่งเป็นสนธิสัญญาความมั่นคงอินโด-แปซิฟิกฉบับใหม่ เพื่อจัดตั้ง “พันธมิตรไตรภาคีด้านความมั่นคง” ระหว่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย   พูดกันง่ายๆ คือการรวมกลุ่มกัน 3 ประเทศ เพื่อต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อ้างสิทธิเอาทะเลจีนใต้แทบทั้งทะเลเป็นของจีนนั่นเอง เพราะอังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาจะช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ทางออสเตรเลียแสดงความตั้งใจที่จะสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ถึง 8 ลำ โดยจะสร้างที่เมืองแอดิเลดของออสเตรเลียนั่นเอง   จากการที่มีข้อตกลงที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาว่าช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นี่เอง ทำให้ออสเตรเลียแจ้งไปยังทางฝรั่งเศสเพื่อยกเลิกสัญญาที่ออสเตรเลียจ้างให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำธรรมดาจำนวน 12 ลำ เป็นเงินกว่า 56,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย   ทั้งๆ ที่ออสเตรเลียว่าจ้างฝรั่งเศสให้สร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ให้กองทัพเรือออสเตรเลียเพื่อทดแทนเรือดำน้ำฝูงปัจจุบันที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่จะถึงกำหนดปลดระวางใน พ.ศ.2569 โดยที่ฝรั่งเศสชนะการประมูลเหนือเยอรมนีและญี่ปุ่นสำหรับโครงการสร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ใน พ.ศ.2559   แต่ออสเตรเลียก็เบี้ยวเอาดื้อๆ แต่ในที่สุดก็คงถูกปรับหลายเงินอยู่ แต่ผู้เสียหายหนักก็คือฝรั่งเศสนั่นเอง เพราะถูกออสเตรเลียเทเสียกลางคันหากหยุดสร้างก็เสียดายเงินทุนที่ลงไปแล้ว หากสร้างต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์นอกจากจะเกลี้ยกล่อมขายต่อให้ประเทศไทยได้บ้างเท่านั้น   เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นั้นไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงเลยตลอดอายุการทำงาน 25 ปี ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์สามารถดำน้ำอยู่ที่ระดับความลึกได้ยาวนานเป็นเดือนโดยไม่ต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ ภายในเรือยังมีอุปกรณ์การสร้างออกซิเจนจากน้ำทะเล และมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับการเก็บเสบียงอาหาร และน้ำจืด  …

เปิดสาเหตุ “ออสเตรเลีย” ต้องการเรือดำน้ำนิวเคลียร์

Loading

  ทำไมออสเตรเลีย ต้องการเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อต้องการปกป้องประเทศในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเสมือนหลังบ้านของตัวเอง ประเทศที่เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกมี 14 ประเทศ ได้แก่ ปาปัวนิวกินี, ปาเลา, สหพันธรัฐไมโครนีเชีย, หมู่เกาะมาร์แชลล์, นาอูรู, หมู่เกาะโซโลมอน, วานูอาตู, ฟิจิ, ตูวาลู, ตองกา, นีอูเอ, ซามัว, คิริบาส และหมู่เกาะคุก ปาปัวนิวกินี หนึ่งในประเทศแปซิฟิก ที่กำลังเต็มไปด้วยธงสีแดงของจีน โดยจีนมีผลประโยชน์ตั้งแต่การลงทุนขนาดใหญ่ กลุ่มอาคารและสาธารณูปโภคที่กำลังก่อสร้าง ไปจนถึงร้านอาหารจีนที่เกิดขึ้นทั่วเกาะ     เหล่านี้คือประจักษ์พยานของอุ้งมือพญามังกรที่เอื้อมมายังภูมิภาคนี้ คนที่นี่จำนวนมากได้ประโยชน์จากการลงทุนของจีน อย่างน้อยก็ในขณะนี้   อิทธิพลของจีนไม่ได้หยุดอยู่แค่ปาปัวนิวกินี ข้อมูลจาก สถาบัน Lowy Institute ในนครซิดนีย์ระบุว่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนเข้ามาลงทุนและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มประเทศในโอเชียเนียหรือประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกมากกว่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 60,000 ล้านบาท รวมถึงยังมีความพยายามล็อบบี้กลุ่มประเทศเหล่านี้เพื่อผลทางการเมือง เช่น ในเดือนกันยายน ปี 2019 ที่จู่ ๆ คิริบาส…