FBI บุกจับวิศวกรทัพเรือสหรัฐฯ นำข้อมูลเรือดำน้ำนิวเคลียร์ไปขาย รับเป็นเงินคริปโตฯ 1 แสนดอลลาร์

Loading

  สองสามีภรรยาชาวสหรัฐฯ ถูกจับกุม ข้อหาขายความลับเกี่ยวกับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ต่างชาติ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเจ้าหน้าที่ FBI ปลอมตัวมา วันที่ 10 ต.ค. 2564 สำนักข่าวเอเอฟพี (AFP) รายงานว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation หรือ FBI) ได้ทำการจับกุมคู่สามีภรรยาชาวสหรัฐฯ ที่ถูกกล่าวหาว่านำข้อมูลลับเกี่ยวกับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ไปขาย ให้กับกลุ่มที่ทั้งคู่เชื่อว่าเป็นหน่วยงานต่างชาติ โจนาธาน โทเอบี วิศวกรนิวเคลียร์ประจำกองทัพเรือสหรัฐ ถูกจับกุมพร้อมกับภรรยาของเขา แอนนา โทเอบี เมื่อวันเสาร์ (9 ต.ค.) จากการร่วมกันกระทำความผิดตาม Atomic Energy Act ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานปรมาณู โดยนำข้อมูลที่เป็นความลับไปจำหน่ายให้กับเจ้าหน้าที่ FBI ที่ปลอมตัวเป็นชาวต่างชาติไปล่อซื้อ ด้วยหน้าที่การงานของนายโทเอบี ทำให้เขามีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และได้นำข้อมูลเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไปขายต่อเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสกุลดิจิทัลมูลค่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ (3.3 ล้านบาท) เนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า นายโทเอบีเริ่มส่งจดหมายไปยังรัฐบาลต่างชาติ ระบุข้อความว่า “กรุณาส่งต่อจดหมายฉบับนี้ไปยังหน่วยข่าวกรองของกองทัพ ผมเชื่อว่าข้อมูลนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อประเทศของคุณ นี่ไม่ใช่การหลอกลวง” นายโทเอบีแนบตัวอย่างข้อมูลลับและรายละเอียดต่างๆ…

เปิดสาเหตุ “ออสเตรเลีย” ต้องการเรือดำน้ำนิวเคลียร์

Loading

  ทำไมออสเตรเลีย ต้องการเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อต้องการปกป้องประเทศในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเสมือนหลังบ้านของตัวเอง ประเทศที่เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกมี 14 ประเทศ ได้แก่ ปาปัวนิวกินี, ปาเลา, สหพันธรัฐไมโครนีเชีย, หมู่เกาะมาร์แชลล์, นาอูรู, หมู่เกาะโซโลมอน, วานูอาตู, ฟิจิ, ตูวาลู, ตองกา, นีอูเอ, ซามัว, คิริบาส และหมู่เกาะคุก ปาปัวนิวกินี หนึ่งในประเทศแปซิฟิก ที่กำลังเต็มไปด้วยธงสีแดงของจีน โดยจีนมีผลประโยชน์ตั้งแต่การลงทุนขนาดใหญ่ กลุ่มอาคารและสาธารณูปโภคที่กำลังก่อสร้าง ไปจนถึงร้านอาหารจีนที่เกิดขึ้นทั่วเกาะ     เหล่านี้คือประจักษ์พยานของอุ้งมือพญามังกรที่เอื้อมมายังภูมิภาคนี้ คนที่นี่จำนวนมากได้ประโยชน์จากการลงทุนของจีน อย่างน้อยก็ในขณะนี้   อิทธิพลของจีนไม่ได้หยุดอยู่แค่ปาปัวนิวกินี ข้อมูลจาก สถาบัน Lowy Institute ในนครซิดนีย์ระบุว่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนเข้ามาลงทุนและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มประเทศในโอเชียเนียหรือประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกมากกว่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 60,000 ล้านบาท รวมถึงยังมีความพยายามล็อบบี้กลุ่มประเทศเหล่านี้เพื่อผลทางการเมือง เช่น ในเดือนกันยายน ปี 2019 ที่จู่ ๆ คิริบาส…