“ออคัส”เพิ่มแนวพัฒนา“ไฮเปอร์โซนิก”

Loading

ผ่านมา 3 ปีเต็ม พร้อมย่างก้าวสู่ปีที่ 4 แล้ว… สำหรับ “กลุ่มกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคีระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา” หรือที่เรียกชื่อย่อจนฮิตติดปากว่า “ออคัส (AUKUS)” ซึ่งเป็นการนำอักษรตัวย่อชื่อประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษของชาติสมาชิก มาเป็นชื่อกลุ่ม คือ   “A” หมายถึง ออสเตรเลีย (Australia) “UK” หมายถึง สหราชอาณาจักร (United Kingdom) และ “US” หมายถึง สหรัฐอเมริกา (United States of America)   กลุ่มกติกา “ออคัส” นี้ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2021 (พ.ศ. 2564) นับถึงวันนี้ก็ครบ 3 ปีกว่าแล้ว   แรกเริ่มเดิมทีภายใต้กติกา “ออคัส” ก็จะเป็นข้อตกลงที่ทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ช่วยเหลือออสเตรเลีย ในการพัฒนาและใช้งาน “เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์”…

รัสเซียจำลองยิงนิวเคลียร์ทันที หลังถอนสัตยาบันสนธิสัญญาห้ามทดสอบ

Loading

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันพุธที่ 25 ต.ค. 2566 กระทรวงกลาโหมรัสเซีย เผยแพร่คลิปวิดีโอแสดงให้เห็นสิ่งที่พวกเขาระบุว่า เป็นการทดสอบขีดความสามารถในการยิงอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากสภาสูงมีมติเป็นเอกฉันท์ ผ่านกฎหมายถอนสัตยาบันออกจากสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ (CTBT)

“ทรัมป์” ให้ข้อมูลความลับเกี่ยวกับเรือดำน้ำแก่นักธุรกิจออสเตรเลีย

Loading

หนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทมส์ รายงานอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยนาม ระบุชื่อนักธุรกิจออสเตรเลียว่าคือ นายแอนโทนี แพร็ตต์ มหาเศรษฐี ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการบริษัทบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ที่ได้รับข้อมูลเรื่องเรื่อดำน้ำในระหว่างที่เขาพบกับนายทรัมป์ที่มาร์-อะ-ลาโก บ้านพักส่วนตัวของนายทรัมป์ที่รัฐฟลอริดา

อินเดียทำสำเร็จ! ทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี จากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ผลิตเอง

Loading

แฟ้มภาพรอยเตอร์   อินเดียทำสำเร็จ! ทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี จากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ผลิตเอง   สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า อินเดียทำการทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถีที่ยิงจากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ผลิตเองลำแรกเป็นผลสำเร็จ ในการทดสอบที่มีขึ้นในวันศุกร์ (14 ต.ค.) ที่ผ่านมา ในความพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีของกองทัพอินเดีย   การทดสอบความสามารถในการยับยั้งป้องปรามอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดียดังกล่าว ทำให้ประเทศในเอเชียใต้แห่งนี้ เป็นหนึ่งใน 6 ประเทศนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน ที่มีความสามารถในการโจมตีและต่อต้านการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ทางบก ทางทะเลและทางอากาศ   “การยิงทดสอบครั้งนี้มีความสำคัญในการพิสูจน์ความสามารถและความสมบูรณ์ของเรือดำน้ำติดขีปนาวุธนำวิถี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสามารถในการป้องปรามด้านนิวเคลียร์ของอินเดีย” กระทรวงกลาโหมอินเดียระบุ และว่า ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดค่าปฏิบัติการและเทคโนโลยีทั้งหมดของระบบอาวุธที่ยิงจาก INS Arihant ในอ่าวเบงกอลได้ผ่านแล้ว   ทั้งนี้อินเดียได้ต่อสู้ในสงครามมาหลายครั้งและมีปัญหาพิพาทเรื่องพรมแดนกับปากีสถานและจีน ซึ่งเป็นชาติเพื่อนบ้านคู่ปรับมาอย่างยาวนาน เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ยังได้เปิดตัวฝูงเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่อินเดียผลิตเองเป็นชุดแรก ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในพื้นที่สูง เช่น เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอินเดียเกิดการปะทะกับจีนในปี 2020       ———————————————————————————————————– ที่มา :   …

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ดีกว่าเรือดำน้ำธรรมดาอย่างไร และใครมีเรือดำน้ำนิวเคลียร์บ้าง

Loading

  เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดมีกลุ่มพันธมิตรที่สำคัญเรียกว่า AUKUS ซึ่งเป็นสนธิสัญญาความมั่นคงอินโด-แปซิฟิกฉบับใหม่ เพื่อจัดตั้ง “พันธมิตรไตรภาคีด้านความมั่นคง” ระหว่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย   พูดกันง่ายๆ คือการรวมกลุ่มกัน 3 ประเทศ เพื่อต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อ้างสิทธิเอาทะเลจีนใต้แทบทั้งทะเลเป็นของจีนนั่นเอง เพราะอังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาจะช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ทางออสเตรเลียแสดงความตั้งใจที่จะสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ถึง 8 ลำ โดยจะสร้างที่เมืองแอดิเลดของออสเตรเลียนั่นเอง   จากการที่มีข้อตกลงที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาว่าช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นี่เอง ทำให้ออสเตรเลียแจ้งไปยังทางฝรั่งเศสเพื่อยกเลิกสัญญาที่ออสเตรเลียจ้างให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำธรรมดาจำนวน 12 ลำ เป็นเงินกว่า 56,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย   ทั้งๆ ที่ออสเตรเลียว่าจ้างฝรั่งเศสให้สร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ให้กองทัพเรือออสเตรเลียเพื่อทดแทนเรือดำน้ำฝูงปัจจุบันที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่จะถึงกำหนดปลดระวางใน พ.ศ.2569 โดยที่ฝรั่งเศสชนะการประมูลเหนือเยอรมนีและญี่ปุ่นสำหรับโครงการสร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ใน พ.ศ.2559   แต่ออสเตรเลียก็เบี้ยวเอาดื้อๆ แต่ในที่สุดก็คงถูกปรับหลายเงินอยู่ แต่ผู้เสียหายหนักก็คือฝรั่งเศสนั่นเอง เพราะถูกออสเตรเลียเทเสียกลางคันหากหยุดสร้างก็เสียดายเงินทุนที่ลงไปแล้ว หากสร้างต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์นอกจากจะเกลี้ยกล่อมขายต่อให้ประเทศไทยได้บ้างเท่านั้น   เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นั้นไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงเลยตลอดอายุการทำงาน 25 ปี ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์สามารถดำน้ำอยู่ที่ระดับความลึกได้ยาวนานเป็นเดือนโดยไม่ต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ ภายในเรือยังมีอุปกรณ์การสร้างออกซิเจนจากน้ำทะเล และมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับการเก็บเสบียงอาหาร และน้ำจืด  …