สรุปสั้น ทำไม ‘เลือกตั้งสหรัฐ’ จัดขึ้นตรง ‘วันอังคาร’ แรกของเดือนพฤศจิกายน

Loading

  ทุกๆ สี่ปี สหรัฐจะจัดลงคะแนนเสียง “เลือกตั้งประธานาธิบดี” ในวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน แล้วทำไมต้องเลือก “วันอังคาร” จัดเลือกตั้งสืบทอดนานกว่า 2 ศตวรรษ   ในปีนี้ก็เช่นกัน ชาวอเมริกันเตรียมตัวไปลงคะแนนเสียงที่หน่วยเลือกตั้งในวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันอังคาร จนเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีวันเลือกตั้งสืบทอดกันมา ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 1800   สำหรับประเทศในละตินอเมริกา มักจัดเลือกตั้งขึ้นในวันอาทิตย์ ส่วนอินเดียจัดในวันเสาร์อาจกินเวลาหลายสัปดาห์ เพราะประเทศกว้างใหญ่   ขณะที่อีกสองวัน ชาวอเมริกันหลายล้านคนจะได้ออกไปลงคะแนนเสียงให้กับรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต หรือคู่แข่งคืออดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน   สหรัฐมีประวัติศาสตร์ยาวนานในการจัดชิงชัยเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน แล้วเหตุใดต้องเป็นวันอังคารและประเพณีดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างไร   ตามคำบอกเล่าจากนักประวัติศาสตร์ “เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรชาวเมริกัน”   แต่ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น ต้องรู้ก่อนว่า สหรัฐใช้ระบบใดอยู่ก่อนหน้าที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ จะจัดขึ้นในวันเดียวกันทั่วประเทศ   ก่อนหน้าจนถึงกลางปี 1800 พบว่า วันเลือกตั้งจะแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ซึ่งได้กำหนดวันเลือกตั้งมีขึ้นในสัปดาห์ก่อนที่จะมีการประชุมในเดือนธันวาคม   ตัวอย่างเช่นในปี 1844 การเลือกตั้งประธานาธิบดีจัดขึ้นนานเป็นเวลาหนึ่งเดือนนั่นคือ ระหว่างต้นเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม…

‘ดีพเฟค’ เทคโนโลยีตัดต่อหน้า-เสียง โจทย์ใหญ่ศึกเลือกตั้งทั่วโลกปี 2024

Loading

พ่อค้าเร่ปั่นจักรยานผ่านป้ายแสดงภาพและรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ในกรุงจาการ์ตา เมื่อ 22 มกราคม 2024 (ที่มา:AP)   ภาพและเสียงสังเคราะห์จากเทคโนโลยีดีพเฟคกำลังสร้างความสับสนให้กับฐานเสียงในประเทศที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง จนนักวิเคราะห์จับตามองว่าปี 2024 ที่ประชาชนในกว่า 60 ประเทศจะต้องเข้าคูหา จะมีการใช้ AI สร้างข่าวลือข่าวลวงเพื่อหวังผลทางการเมืองอย่างแพร่หลาย   ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในอินโดนีเซียที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงต่างต้องเจอกับวิดีโอและเสียงของนักการเมืองหลายคน ซึ่งแท้ที่จริงถูกสังเคราะห์ขึ้นมาโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เรียกกันว่า ดีพเฟค (Deepfakes) ยกตัวอย่างเช่นวิดีโอของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตที่เผยแพร่ในแอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok)   ซานตี อินดรา อัสตูตี จาก Mafindo ซึ่งเป็นเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงในอินโดนีเซีย ระบุว่า การใช้ AI สังเคราะห์เนื้อหาขึ้นมา เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปี 2024 เทียบกับครั้งก่อน ๆ   อัสตูตีกล่าวว่า “ในการเลือกตั้งปี 2024 การโจมตีคู่แข่งในปีนั้นมักใช้ข่าวลวงกันเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2019 ข่าวลวงถูกใช้โจมตีผู้จัดการเลือกตั้ง ในขณะที่ปี 2024 เราเห็นการยกระดับที่พิลึกพิลั่นขึ้นไปอีกเพื่อโจมตีกระบวนการทางประชาธิปไตยทั้งองคาพยพ”…

การเมืองเซเนกัลตึงเครียดหนัก รัฐบาลระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตสกัดม็อบ

Loading

กระทรวงการสื่อสารของเซเนกัลออกแถลงการณ์ ระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ทั่วประเทศ “เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนและสร้างความเกลียดชัง บนแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้การประท้วงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้เต็มไปด้วยความรุนแรง

ตร.อิเหนาวางกำลังเข้ม 25,000 นาย-ประชาชนกว่า 200ล้านคน โหวตปธน. 14 กุมภาฯ

Loading

ทางการอินโดนีเซียเตรียมการขั้นตอนสุดท้าย เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้ารักษาความปลอดภัยราว 25,000 นาย ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 ก.พ. นับเป็นการเลือกตั้งวันเดียวครั้งใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งกว่า 200 ล้านคน

ศาลสูงสุดบราซิลลงมติ “แบนข่าวปลอม” ก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดี

Loading

  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ศาลสูงสุดของรัฐบาลกลางบราซิลได้ลงมติสนับสนุนคำตัดสินของศาลสูงสุดแผนกคดีเลือกตั้ง (TSE) ในการเร่งติดตามการลบข่าวปลอมออกจากสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี   ศาลสูงสุดของรัฐบาลกลางบราซิล ประกาศยกคำร้องที่ยื่นโดยสำนักงานอัยการระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อวันอาทิตย์ (23 ต.ค.) เพื่อระงับมติของศาลสูงสุดแผนกคดีเลือกตั้งบางส่วน โดยอ้างว่ามีความเสี่ยงต่อการถูกเซ็นเซอร์   คณะผู้พิพากษา 6 คนลงมติเห็นชอบคำตัดสินดังกล่าว ซึ่งเป็นเสียงส่วนมากอันเพียงพอที่จะสนับสนุนมาตรการนี้ ขณะที่สมาชิกศาลสูงสุดคนอื่น ๆ ยังคงมีเวลาในการลงคะแนนจนถึงเที่ยงคืน   มติของศาลสูงสุดแผนกคดีเลือกตั้งมอบอำนาจสั่งการให้เว็บไซต์ต่าง ๆ ลบเนื้อหาที่ถูกจัดเป็นข่าวปลอมภายในเวลา 2 ชั่วโมง โดยข่าวปลอมต่าง ๆ จะต้องถูกลบออกภายในเวลา 1 ชั่วโมงเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ (29 ต.ค.) ก่อนวันเลือกตั้งประธานาธิบดี (30 ต.ค.)   นอกจากนี้ ศาลสูงสุดแผนกคดีเลือกตั้งยังสามารถระงับช่องทางที่เผยแพร่ข่าวปลอมซ้ำ ๆ ได้     ———————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   สำนักข่าวอินโฟเควสท์ …