ตุรกียอมรับกรณีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลประชาชนตุรกีหลายล้านคนช่วงการระบาดของโควิด-19

Loading

เว็บไซต์ DuvaR.English รายงานเมื่อ 12 ก.ย.67 ว่า เมื่อ 9 ก.ย.67 นาย Abdulkadir Uraloğlu รมว.คมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานของตุรกีปฏิเสธกรณีข้อมูลส่วนบุคคลของชาวตุรกีหลายล้านคนถูกละเมิด โดยกล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

เบลารุสจับกุมผู้ต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นสายลับญี่ปุ่น

Loading

เว็บไซต์ The Straits Time รายงานเมื่อ 5 ก.ย.67 ว่า กองกําลังรักษาความมั่นคงของเบลารุสควบคุมตัวเจ้าหน้าที่ข่าวกรองญี่ปุ่น ที่ถูกกล่าวหาว่าสังเกตการณ์พื้นที่ชายแดนและสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารของอดีตประเทศที่เคยเป็นสหภาพโซเวียตและพันธมิตรของรัสเซีย

ทำความรู้จัก WordPress คืออะไร – ปลอดภัยหรือไม่ ? จากดราม่าเว็บทางรัฐ ใช้

Loading

จากดราม่าเว็บ ทางรัฐ .com มาร่วมคลายปม Wordpress ปลอดภัยหรือไม่ ? …แต่เว็บไซต์เกือบครึ่งโลกใช้กันทั้งนั้นเลย

DGA จับมือ ทีเอชนิค เปิดตัว ระบบช่วยหน่วยงานรัฐสกัดลิงก์ปลอม

Loading

  ลดปัญหา!! การคุกคามทางภัยไซเบอร์จากการแชร์ลิงก์ย่อแบบเดิม ๆ DGA จับมือ ทีเอชนิค เปิดตัวระบบย่อลิงก์ ‘dg.th’ ภายใต้ ‘โครงการสนับสนุนและพัฒนาระบบย่อลิงก์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ’ สะดวก ปลอดภัย ใช้งานง่าย ห่างไกลวายร้ายไซเบอร์   สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ร่วมกับ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) เปิดตัว ระบบย่อลิงก์ ‘dg.th’ ใน ‘พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) โครงการสนับสนุนและพัฒนาระบบย่อลิงก์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ’   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแชร์ลิงก์ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและน่าเชื่อถือ   ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาด้านการคุกคามทางไซเบอร์จากการแชร์ลิงก์ย่อในรูปแบบเดิมๆ ซึ่งกว่าจะรู้ว่าเป็นลิงก์ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ต้องคลิกไปดูก่อน กลายเป็นช่องโหว่ให้มิจฉาชีพสามารถขโมยข้อมูล หรือเข้ามาล่อลวงประชาชนได้สารพัดรูปแบบ   ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 DGA จึงได้ดำเนินโครงการนี้ขึ้นเพื่อมุ่งหวังประโยชน์สองต่อ คือต่อที่หนึ่งเพื่อให้บริการแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องการแชร์ลิงก์ซึ่งเดิมหาใช้บริการย่อลิงก์จากภาคเอกชนทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย เปลี่ยนมาใช้บริการจากระบบย่อลิงก์ ‘dg.th’  …

Digital Footprint คืออะไร ทำไมคนรุ่นใหม่ต้องคิดให้ดีก่อนโพสต์โซเชียล

Loading

    ดิจิทัลฟุตพริ้นท์ คือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดความประพฤติของบุคคลที่กระทำบนโลกอินเทอร์เน็ต และผู้ใหญ่หลายคนถึงกับเตือนว่า “สิ่งที่เคยกระทำในอดีตจะส่งผลถึงปัจจุบัน” ดังนั้น คิดก่อนโพสต์   Digital Footprint (ดิจิทัลฟุตพริ้นท์) หรือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่จะเก็บประวัติทางพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือการกรอกข้อมูลใส่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ การแชร์หรือแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์   ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถค้นหาได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่างก็ค้นเจอบนโลกดิจิทัลแล้ว   นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องกังวลก็คือ ไม่ว่าจะเป็น เด็กนักเรียน วัยทำงาน หรือเจ้าของกิจการก็ต้องรอบคอบเรื่องการโพสต์ข้อความใดๆ ก็ตามบนโซเชียลมีเดีย   มีข้อมูลจาก CareerBuilder ระบุว่า เรื่องดิจิทัลฟุตพริ้นท์เป็นหนึ่งในเหตุผลที่องค์กรจะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกพนักงานใหม่ในการเข้าทำงาน หากพนักงานคนนั้นมีพฤติกรรมการโพสต์ภาพ วิดีโอหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม เช่น การดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด เหยียดเพศ บูลลี่หรือแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองแบบรุนแรง เหยียดศาสนา เป็นต้น     เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่มีองค์กรกว่า 41.19% ให้ความเห็นพ้องตรงกับผลวิจัยว่า นำการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์มาใช้ประกอบในการพิจารณาคุณสมบัติในการรับเข้าทำงาน  …

สถิติ Digital2023 เปรียบเทียบพฤติกรรม ใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยกับทั่วโลก

Loading

    We are social เพื่งออกรายงาน “Digital 2023 Global Overview” เป็นการสรุปสถิติการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั่วโลก รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งอัตราการใช้อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ที่ผู้ใช้ใช้เพื่อเข้าถึงเนื้อหาและบริการดิจิทัล พฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ต การใช้สื่อสังคมออนไลน์   ข้อมูลปีนี้ที่น่าสนใจคือ แม้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกล่าสุดจะเพิ่มขึ้น 1.9% เป็น 5,158 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 64.4% ของประชากรทั้งโลก แต่ก็กลับพบว่าผู้คนโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าปีก่อนถึง 4.8% กล่าวคือ เฉลี่ยคนละ 6 ชั่วโมง 37 นาทีต่อวัน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น ทำให้คนพิจารณาการเล่นออนไลน์ในสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น   ในรายงานระบุว่าผู้คนทั่วโลกเข้าเว็บไซต์หรือเล่นแอปต่าง ๆ เพื่อพูดคุยหรือส่งข้อความหาเพื่อนสูงถึง 94.8% ตามมาด้วยการใช้โซเชียลมีเดีย 94.6% และการค้นหาข้อมูล 81.8% อันดับที่สี่คือ การดูและสินค้าออนไลน์ 76% การค้นหาสถานที่หรือดูแผนที่ 55% การใช้อีเมล 48.9% การฟังเพลง…