ควรกังวลแค่ไหน? หลังญี่ปุ่นเตือนอาจเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงสุดในรอบศตวรรษ
หลังญี่ปุ่นประกาศเตือนอาจเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงสุดในรอบ 100 ปีบริเวณ “ร่องธรณีนันไค” ได้ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า เป็นการเตือนที่เกินความจำเป็นหรือไม่
หลังญี่ปุ่นประกาศเตือนอาจเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงสุดในรอบ 100 ปีบริเวณ “ร่องธรณีนันไค” ได้ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า เป็นการเตือนที่เกินความจำเป็นหรือไม่
ภาพของโดรน BRINC สำหรับเจ้าหน้าที่ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Drone) ได้รับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อนำไปใช้สำหรับปฏิบัติการภาคสนามของทีมกู้ภัยเบื้องต้น โดยนวัตกรรมนี้จะทำหน้าที่สอดส่องบริเวณที่มีความอันตราย ช่วยลดความเสี่ยงในการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดรนว่านี้สามารถกระแทกกระจกหน้าต่างจนเปิดเป็นช่องให้บินเข้าไปภายในตัวอาคารได้ แม้ว่าจะปราศจาก GPS ช่วยนำทาง และยังสามารถทำการบินหาเส้นทางและสร้างแผนที่จำลองสามมิติของสภาพแวดล้อมรอบตัวได้ ทั้งยังทำหน้าที่เชื่อมการสื่อสารสองทาง ระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รอดชีวิตในกรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือกับผู้ก่อเหตุ ในกรณีวิกฤตตัวประกัน เป็นต้น ภาพของการสร้างแผนที่ 3 มิติโดยโดรน ‘Brinc’ และหากโดรนนี้ประสบอุบัติเหตุตกลงพื้นแบบกลับหัว มันก็ยังสามารถพลิกตัวเองและบินขึ้นสูง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ บริษัทสตาร์ทอัพ บริงค์ โดรนส์ (Brinc Drones) ในเมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน คือ ผู้พัฒนาโดรนสำหรับทีมกู้ภัยเบื้องต้น โดยในปัจจุบัน โดรน รุ่น ลีเมอร์ ทู (Lemur 2) ของบริษัทถูกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหลายแห่งในสหรัฐฯ นำไปใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เบลค เรสนิค ประธานกรรมการบริหาร…
สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีมติอย่างท่วมท้นอนุมัติร่างกฎหมายการบินในวงกว้างเมื่อวานนี้ (15 พ.ค.) เพื่อเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ รวมถึงเพิ่มเงินทุนเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ บนรันเวย์
ในระหว่างที่ชาวนิวยอร์ก กำลังใช้วันหยุดไปกับการจัดปาร์ตี้บาร์บีคิวที่สวนหลังบ้าน ช่วงนั้นเองก็มีโดรนติดกล้องจากทางเจ้าหน้าที่ บินมาร่วมแจมด้วย… กรมตำรวจนครนิวยอร์กประกาศใช้แผนส่งโดรนสำรวจบนท้องฟ้าในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ โดยเลือกติดตามบ้านที่มีการงานปาร์ตี้กลางแจ้ง เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย หากได้รับการโทรแจ้งเข้ามาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม แผนการดังกล่าวก็ถูกตั้งคำถามถึงความเป็นส่วนตัว รวมถึงการละเมิดกฎหมายควบคุมการสอดแนมในพื้นที่ด้วยหรือไม่ และการบินสองปาร์ตี้หลังบ้านในเมือง ดูเป็นเรื่องเร่งด่วนจริง ๆ หรือ ทางด้านกรรมการบริหารของ Surveillance Technology Oversight Project (STOP) ในสหรัฐฯ ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นคล้าย ๆ กัน โดยมองด้วยว่าตัวโดรนของเจ้าหน้าที่ อาจบินไปดูส่วนที่เป็นห้องนอนโดยมิชอบ มีข้อมูลเผยว่า ที่ผ่านมาทางตำรวจนิวยอร์คได้ใช้โดรนบินเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ แต่มีการใช้โดรนเพื่อความปลอดภัยในที่สาธารณะหรือเหตุฉุกเฉินเพียงสี่ครั้ง ในขณะที่ตัวเลขขึ้นบินมีมากถึง 124 ครั้ง และจะเพิ่มมากขึ้นในวันหยุดช่วงสุดสัปดาห์นี้ แนวคิดการเฝ้าระวังบนท้องฟ้าด้วยโดรน นับว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สองส่องดูแลได้ทั่วถึงขึ้น แต่การไปสอดส่องบริเวณที่อยู่อาศัย ที่ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของชาวเมือง จึงไม่แปลกที่จะเกิดเสียงต่อต้าน วันดีคืนดีอาจมีโดรนตำรวจถูกสอยเข้าสักวันเป็นแน่ ที่มา : Techspot —————————————————————————————————————————————————…
เจ้าหน้าที่รัฐฮาวายของสหรัฐฯ ชี้แจงสาเหตุที่ไม่เปิดเสียงไซเรนเตือนภัยในช่วงที่เกิดไฟป่ารุนแรง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว 110 ศพ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (16 ส.ค. 2566) หัวหน้าฝ่ายบริหารเหตุฉุกเฉินของเกาะเมาวี กล่าวปกป้องการตัดสินใจของหน่วยงานต่อประเด็นเรื่องการเปิดเสียงไซเรนในช่วงที่เกิดไฟป่ารุนแรงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางคำถามว่าการทำเช่นนั้นอาจช่วยชีวิตผู้คนได้หรือไม่ เฮอร์แมน อันดายา ผู้บริหารสำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินเขตเมาวี เคาน์ตี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เสียงไซเรนในฮาวายใช้เพื่อเตือนผู้คนให้ระวังสึนามิ การใช้มันขณะเกิดไฟไหม้อาจทำให้ผู้คนต้องอพยพไปยังจุดอันตราย ไฟไหม้ทุ่งหญ้าเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ลุกลามลงมาจากฐานของภูเขาไฟที่ลาดลงสู่เมืองลาไฮนา เมืองท่องเที่ยวชื่อดัง คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 110 ศพ และทำลายหรือสร้างความเสียหายให้กับอาคารราว 2,200 หลัง นายอันดายา กล่าวระหว่างการแถลงข่าว เมื่อนักข่าวตั้งคำถามถึงการตอบสนองของรัฐบาลระหว่างที่เกิดไฟป่าว่า “ประชาชนถูกฝึกให้หนีไปยังที่สูงในกรณีที่เสียงไซเรนดังขึ้น หากเราเปิดไซเรนในคืนนั้น เราเกรงว่าผู้คนจะไปรวมตัวกันบริเวณไหล่เขา และถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาคงเข้าไปในกองไฟแล้ว” เขากล่าวว่า เมาวีใช้ระบบเตือนภัย 2 ระบบแทนการเปิดไซเรน ระบบหนึ่งจะส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ และอีกระบบหนึ่งจะเป็นการออกอากาศข้อความฉุกเฉินทางโทรทัศน์และวิทยุ และเสริมว่า เนื่องจากเสียงไซเรนจะดังในพื้นที่ที่อยู่ริมทะเลเป็นหลัก พวกมันจึงไร้ประโยชน์สำหรับคนที่อาศัยอยู่บนที่สูง …
สำนักงาน กสทช. ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศแจ้งข่าว หรือเตือนภัยกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ ให้เตรียมความพร้อมในการออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารและการแจ้งเตือนให้ทันต่อสถานการณ์ โดยให้ความร่วมมือเมื่อรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐร้องขอ เนื่องจากปัจจุบันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากทำให้ต้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง รวมทั้งอาจเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพ ชีวิต ทรัพย์สินและสาธารณูปโภค สำนักงาน กสทช. เห็นถึงความสำคัญของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงรวมถึงสื่อมวลชนว่ามีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อประชาชนในการเตรียมความพร้อม เพื่อป้องกันแก้ไขและบรรเทาเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น จึงขอความร่วมมือในการแจ้งข่าวหรือเตือนภัย พร้อมเน้นย้ำถึงแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติในการออกอากาศที่ต้องใช้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อรายงานข้อมูล แจ้งข่าวเตือนภัยเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินอย่างรอบด้าน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดความตระหนกตกใจกับประชาชน และให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงทุกรายปฏิบัติตาม ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน พ.ศ.2555 อย่างเคร่งครัด “วิทยุเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกและง่าย ซึ่งจะช่วยในการกระจายข้อมูลข่าวสาร และแจ้งเหตุเตือนภัยกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินให้ประชาชน การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องด้วยความรอบคอบ ทันสถานการณ์ จะช่วยให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก” นายสมบัติ กล่าว…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว