เปิดแผน “ระบบเฝ้าระวัง” รับมือเหตุฉุกเฉิน-โรคอุบัติใหม่ในโรงงาน

Loading

  ฉายภาพแผนพัฒนาต้นแบบ “ระบบเฝ้าระวัง” เพื่อลดผลกระทบในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ-เทคโนโลยีอวกาศ พร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินด้านอุทกภัย ภัยพิบัติสารเคมี และโรคอุบัติใหม่ เสริมเกราะป้องกันโรงงานและชุมชน รุกแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ต่อเนื่อง จากการที่โรงงานขนาดใหญ่มีแรงงานจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งโรงงานขนาดใหญ่เมื่อเกิดภัยพิบัติทั้งจากสารเคมี หรือ อุทกภัยตามธรรมชาติ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมในวงกว้าง การพัฒนา “ระบบการเฝ้าระวัง” จึงปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถเตือนภัยล่วงหน้า มีการตรวจสอบข้อมูลที่สามารถย้อนกลับเพื่อการป้องกันได้อย่างทันท่วงที ที่จะทำให้สามารถกำหนดมาตรการในการควบคุมการแพร่กระจายและลดผลกระทบได้ นางธัญวรัตม์ อนันต์ หัวหน้าฝ่ายภูมิสารสนเทศพื้นฐานแผนที่และความมั่นคง สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ฉายภาพระบบต้นแบบที่พัฒนาขึ้น โดยนำหลักการของการวางระบบบริหารจัดการข้อมูลเชิงลึกเพื่อใช้ในการบริหารสถานการณ์ของระบบ iMAP มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการลดผลกระทบในพื้นที่จังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนแรงงานสูง หรือพูดง่ายๆก็คือการรวมในเรื่องของฐานข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมจากกรมโรงงานฯ มาผนวกกับข้อมูลเชิงพื้นที่ที่จิสด้ามี และใช้ในเรื่องของแพลตฟอร์มที่เป็นดิจิทัลมาช่วยให้การทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมที่จะใช้เพื่อการเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ระบบต้นแบบเพื่อการเฝ้าระวังเพื่อลดผลกระทบของการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 2.ระบบต้นแบบการประเมินความเสี่ยงด้านภัยพิบัติกรณีจากการรั่วไหลของเคมี 3.ระบบต้นแบบการประเมินความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ กรณีอุทกภัย เนื่องจากทุกสถานการณ์ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งสิ้น     โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยซัพพอร์ตโรงงานอุตสาหกรรม ผ่านการเฝ้าระวังให้โรงงานมีการออกแนวทาง หรือ กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและลดผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งยังช่วยในการบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรมทางทั้งด้านสิ่งแวดล้อม…