เรียนรู้เหตุแผ่นดินไหวไต้หวัน ทำไมสูญเสียน้อยกว่าที่คาด

Loading

เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว สื่อต่าง ๆ มักจะให้ความสนใจในเรื่องของความเสียหาย และซากอาคารที่เอนล้มจนแทบจะพังถล่มลงมา แต่จากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง 7.2 ที่นอกชายฝั่งเมืองฮวาเหลียนของไต้หวัน อาคารที่พังถล่มที่ดูน่ากลัวที่เห็นผ่านสื่อ เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยของอาคารที่ตั้งตระหง่านอยู่ทั่วไต้หวันเท่านั้น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่กลับเข้าสู่ภาวะปกติเกือบทั้งหมดแล้ว อีกทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ก็มีเพียง 10 ราย ซึ่งนับเป็นความสูญเสียต่อชีวิตที่น้อยมาก

บทเรียนจากภัยพิบัติ : เหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น

Loading

ตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นกำหนดให้วันที่ 1 ก.ย. ของทุกปีเป็น “วันป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ” ซึ่งในวันข้างต้น ชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น เด็กนักเรียน พนักงาน และข้าราชการ รวมถึงรัฐบาล จะร่วมกันฝึกจำลองสถานการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่

ประกาศแจ้งเตือนกรณีโมร็อกโกได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ล่าสุด! ยังไม่พบคนไทยได้รับผลกระทบ

Loading

  ล่าสุด! กระทรวงต่างประเทศ เผย ไม่พบคนไทยได้รับผลกระทบแผ่นดินไหวโมร็อกโก ระบุ ขณะนี้มีผู้เสียชีวิต 2,012 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 2,463 ราย   10 กันยายน 2566 นางกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ย้ำความคืบหน้ากรณีแผ่นดินไหวที่เมืองมาร์ราเกช (Marrakesh) ราชอาณาจักรโมร็อกโกว่า ในวันที่ 10 ก.ย. เมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา ตามเวลาประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงราบัต รายงานเพิ่มเติมย้ำว่า ยังไม่มีคนไทยได้รับผลกระทบจากกรณีแผ่นดินไหวดังกล่าว รวมถึงยังไม่ปรากฏว่ามีเหตุ aftershock เพิ่มเติมแต่อย่างใด โดยถึงขณะนี้ มีผู้เสียชีวิต 2,012 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 2,463 ราย   โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เผย ไม่พบคนไทยได้รับผลกระทบแผ่นดินไหวในโมร็อกโก   โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ย้ำว่า หากประชาชนคนไทย ที่อาศัยในพื้นที่ อยู่ในบริเวณใกล้เคียง และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในโมร็อกโก   สามารถติดต่อ …

นักวิจัยญี่ปุ่นพัฒนา “แมลงสาบไซบอร์ก” หวังช่วยผู้ประสบภัยพิบัติ

Loading

    หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นในอนาคตอันใกล้ และมีผู้รอดชีวิตติดอยู่ใต้เศษซากของอาคาร สิ่งตอบสนองอย่างแรกที่จะระบุตำแหน่งของพวกเขาคือ ฝูงแมลงสาบไซบอร์ก   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากเมืองไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ว่า “แมลงสาบไซบอร์ก” เป็นการประยุกต์ใช้ที่มีศักยภาพของการพัฒนาล่าสุดโดยกลุ่มนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ซึ่งสาธิตความสามารถในการติดตั้ง “กระเป๋าสะพายหลัง” ของโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนตัวแมลง และควบคุมการเคลื่อนไหวของพวกมันด้วยรีโมตคอนโทรล   นักวิจัยสาธิตการส่งสัญญาณเข้าสู่อุปกรณ์ ที่อยู่บนหลังของแมลงสาบมาดากัสการ์   นายเคนจิโร่ ฟุคุดะ และทีมของเขา จากห้องปฏิบัติการอุปกรณ์ชนิดฟิล์มบาง ของบริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น “ริเคน” ทำการพัฒนาฟิล์มโซลาร์เซลล์แบบยืดหยุ่น ซึ่งมีความหนา 4 ไมครอน, กว้างประมาณ 1 ส่วน 25 ของเส้นผมมนุษย์ และสามารถใส่ได้พอดีกับท้องของแมลง โดยฟิล์มดังกล่าวจะทำให้แมลงสาบเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ในขณะที่โซลาร์เซลล์จะผลิตพลังงานที่เพียงพอต่อการประมวลผล และส่งสัญญาณบอกทิศทางไปยังอวัยวะรับความรู้สึก ที่อยู่ส่วนหลังของแมลง   นักวิจัยกำลังทำการติดตั้งอุปกรณ์บนตัวแมลงสาบมาดากัสการ์   อนึ่ง การวิจัยนี้จัดทำขึ้นจากการทดลองควบคุมแมลงของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ ซึ่งทีมวิจัยของฟุคุดะ คาดหวังว่าในอนาคต แมลงไซบอร์กจะสามารถเข้าไปในพื้นที่อันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าหุ่นยนต์อีกด้วย   If…