นายกฯ เตือนประชาชนฉลอง ‘ฮัลโลวีน’ เลี่ยงพื้นที่แออัด

Loading

มื่อวันที่ 30 ต.ค. นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นห่วงคนไทยในทุกพื้นที่ ในช่วงการเฉลิมฉลองเทศกาลฮัลโลวีน จึงขอเตือนคนไทยหลีกเลี่ยงการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ในสถานที่แออัด เนื่องจากคืนวันที่ 31 ต.ค. นี้

ศาลอินโดนีเซียจำคุก จนท. 2 ราย เหตุเหยียบกันตายในสนามฟุตบอล

Loading

  ศาลอินโดนีเซียตัดสินลงโทษจำคุกเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันฟุตบอล 2 คน ในความผิดฐานประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมในสนามฟุตบอลครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์วงการฟุตบอลของอินโดนีเซีย ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลในเมืองมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว   นายอับดุล ฮาริส ผู้จัดการแข่งขันฟุตบอลจากทีม อารีมา เอฟซี ซึ่งเป็นทีมเหย้า ถูกศาลในเมืองสุราบายา ตัดสินว่ามีความผิดจากการประมาทเลินเล่อและถูกจำคุกเป็นเวลา 18 เดือน ผู้พิพากษายังตัดสินจำคุกนายซูโก ซูทริสโน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในความผิดฐานประมาทเลินเล่อ เขาถูกลงโทษจำคุกเป็นเวลา 1 ปี   ผู้พิพากษากล่าวด้วยว่า จำเลยไม่คาดคิดว่าจะเกิดความวุ่นวาย เพราะไม่เคยเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินมาก่อน จำเลยจึงไม่เข้าใจหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดีเพียงพอ ทั้ง 2 คน มีเวลา 7 วัน ที่จะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาล นอกจากนี้ยังมีตำรวจอีก 3 นาย ที่ถูกตั้งข้อหาและกำลังรอคำตัดสินของศาล ส่วนอดีตผู้อำนวยการของบริษัทที่บริหารการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอินโดนีเซีย ตกเป็นผู้ต้องสงสัยและกำลังอยู่ในระหว่างการถูกสอบสวนความผิด   หลังคำตัดสินเมื่อวันพฤหัสบดี ครอบครัวของเหยื่อแสดงความผิดหวังต่อคำตัดสินที่พวกเขากล่าวว่าเป็นการลงโทษแบบผ่อนปรน หลังจากอัยการเคยเสนอให้ลงโทษจำคุกเขาเป็นเวลา 6 ปี 8 เดือน   เหตุเหยียบกันตายในสนามฟุตบอลอินโดนีเซีย เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมเปอร์เซบายา…

ม.มหิดล โชว์เทคโนโลยีจัดการฝูงชน (Crowd Management) ความปลอดภัยขั้นกว่า

Loading

  หลังยุคโควิด ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังก้าวสู่ช่วงเทศกาลประเพณีและงานรื่นเริงเฉลิมฉลองของประชาชน และยังเป็นช่วงไฮซีซั่นของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สนามบินสุวรรณภูมิแน่นขนัดด้วยนักท่องเที่ยวขาเข้าที่มุ่งมาเที่ยวไทย ม.มหิดลจึงได้นำเทคโนโลยี Crowd Management มาใช้     นับจากนี้ต่อจากเทศกาลลอยกระทง เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ จนถึงงานประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งการจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่กำลังจะกลับมา เช่น คอนเสิร์ตขนาดใหญ่ เทศกาลดนตรี การจัดแข่งขันกีฬา เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดหมายทางการตลาดและฐานแฟนคลับของศิลปินและนักกีฬานานาประเทศ ยังไม่รวมงานประเพณีท้องถิ่น จึงมีคำถามว่า เราจะจัดการฝูงชนให้ปลอดภัยอย่างไร? คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล มีข้อเสนอแนะ เพื่อมิให้ซ้ำรอยโศกนาฏกรรมอิแทวอน ในเกาหลีใต้ที่เป็นข่าวสะเทือนใจคนทั่วโลก     ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการหัวหน้าภาควิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า งานรื่นเริงฉลอง Halloween คืนวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ในย่านบันเทิง ‘อิแทวอน’ ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้ผ่อนคลายมาตรการไม่บังคับสวมหน้ากากอนามัยครั้งแรกหลังจากระยะ 2 ปีของวิกฤติโควิด-19 ทำให้ผู้คนกว่า 1 แสนคน ทะลักเข้าสู่ย่านอิแทวอน และกลายเป็นฝูงชนเบียดอัด…

วิเคราะห์สาเหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอน และแนวทางรับมือ

Loading

  –   ผู้เชี่ยวชาญชี้เหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอนสามารถป้องกันได้ แต่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดและจำกัดจำนวนคนในพื้นที่ที่จำกัด   –   แรงบีบอัดจากฝูงชนจำนวนมาก เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ง่าย เพราะแรงบีบอัดดังกล่าวมีพลังมหาศาลมากพอที่จะทำให้แท่งเหล็กหักหรืองอได้ด้วย   –   ล่าสุดผบ.ตร.เกาหลีใต้ยอมรับ ตำรวจบกพร่องในการดูแลและป้องกันเหตุจนทำให้เกิดโศกนาฏกรรมฮาโลวีนอิแทวอน พร้อมสั่งให้เร่งสืบสวนสาเหตุอย่างเร่งด่วน     เหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอนในเกาหลีใต้ สร้างความสะเทือนใจไปทั่วโลก จนทำให้หลายประเทศต่างเร่งถอดบทเรียน เพื่อใช้เป็นแนวทางป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ในโลก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าเหตุการณ์ในลักษณะนี้สามารถป้องกันได้ แต่ต้องมีการดูแลฝูงชนอย่างใกล้ชิดและต้องจำกัดจำนวนคนในการเข้าไปร่วมงานในพื้นที่ที่จำกัด นอกจากนี้การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นด้วยเช่นกัน     ศาสตราจารย์ คีธ สติล แห่งมหาวิทยาลัยซัฟฟอร์กของประเทศอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยฝูงชน และเป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงฝูงชนมานานกว่า 30 ปี ระบุว่าการเคลื่อนที่เพียงแค่เล็กน้อยของฝูงชนที่อัดกันแน่นไปตามตรอกแคบๆ เพียงแค่ 4 เมตร เป็นสาเหตุที่ทำให้ฝูงชนจำนวนมากล้มตามๆ กันเหมือนโดมิโนได้ โดยภายใต้สถานการณ์เช่นนั้นเมื่อมีคนล้มลง ผู้คนต่างก็พยายามที่จะลุกขึ้น ทำให้แขนขาพันกันไปมาและยิ่งเกิดความยากลำบากที่จะลุกขึ้นได้ และเมื่อผ่านไปราว 30 วินาที เลือดจะหยุดไหลไปเลี้ยงสมอง ทำให้หมดสติและตามมาด้วยอาการขาดออกซิเจนภายใน 4 ถึง 6 นาที ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำให้เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก     ในวันที่เกิดเหตุที่อิแทวอน…

โศกนาฏกรรม “อิแทวอน” ป้องกันได้ไหม บทเรียนอีเวนต์ไม่มีเจ้าภาพ-คนรับผิดชอบ

Loading

  เกาหลีใต้เผชิญความสูญเสียครั้งใหญ่ในเหตุการณ์เลวร้ายที่ “อิแทวอน” อย่างไม่มีใครคิด คำถามใหญ่ โศกนากรรมครั้งนี้ ป้องกันได้หรือไม่ แล้วใครต้องรับผิดชอบ   บรรยากาศเฉลิมฉลองช่วงใกล้สิ้นปีในเกาหลีใต้ มีอันต้องพลิกผันเป็นความช็อก และเศร้าสลดทั้งประเทศ งานรื่นเริงต่าง ๆ ที่มีแผนจัดขึ้นในช่วงฮาโลวีน มีอันต้องยกเลิก เพื่อร่วมไว้อาลัยเหตุการณ์คลื่นมหาชนเบียดเสียดจนขาดอากาศหายใจ ในอิแทวอน ย่านสถานบันเทิงโด่งดังของกรุงโซล ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตล่าสุด 153 ราย จำนวนมากเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ในผู้เสียชีวิต มีชาวต่างชาติรวมอยู่ด้วย 19 คน ขณะเดียวกัน คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นในใจของหลายคนก็คือว่า ความสูญเสียในชีวิตเช่นนี้ ป้องกันได้หรือไม่ มาตรการความปลอดภัยและการบริหารจัดการฝูงชน อยู่ที่ไหน และใครควรรับผิดชอบ   ซอยที่เกิดโศกนาฏกรรมอิแทวอน   โศกนาฏกรรมช็อกโลก เกิดขึ้นขณะผู้คนแออัดกันแน่นในทางเดินแคบ ๆ เชื่อมระหว่างทางออกที่ 1 สถานีรถไฟอิแทวอน กับเวิล์ด ฟู้ด สตรีต ด้านหลังโรงแรมฮามิลตัน ผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายคน ให้ภาพว่า ผู้คนผลักกันไปผลักกันมา ขณะพยายามเดินขึ้นหรือเดินลงในซอยแคบ ที่มีความยาว 45 เมตร…

สมาคมฟุตบอลอินโดฯ เผยประตูสนามถูกล็อกไว้ก่อนเกิดเหตุจลาจล 131 ศพ

Loading

Kondisi di salah satu sudut Stadion Kanjuruhan pasca kerusuhan 1 Oktober 2022. (Foto: VOA/Petrus Riski)   โฆษกสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียเปิดเผยว่า ประตูบางแห่งของสนามกีฬาที่เกิดเหตุจลาจลเมื่อวันเสาร์ ถูกล็อกไว้หลังจากจบการแข่งขันซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์เหยียบกันจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 131 คน   เออร์วิน โทบิง หัวหน้าคณะกรรมการตรวจสอบวินัยของสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ประตูบางด้านของสนามกีฬากันจูรูฮาน ในอำเภอมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก ควรถูกเปิดออกก่อนการแข่งขันจบลง 10 นาที แต่ประตูดังกล่าวกลับถูกปิดเอาไว้จนถึงช่วงเกิดเหตุการณ์วุ่นวายเพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงประตูเหล่านั้นได้   ตำรวจระบุว่า ภาพจากกล้องวงจรปิดแสดงให้เห็นประตูบางด้านถูกแง้มออกเล็กน้อย แต่ไม่เพียงพอให้แฟนฟุตบอลหลายร้อยคนที่กรูกันออกไปหลังจากที่มีการยิงแก๊สน้ำตาในสนามฟุตบอล   เหตุเหยียบกันตายเมื่อวันเสาร์ เกิดขึ้นหลังจากที่ทีมเจ้าบ้าน อเรมา เอฟซี (Arema FC) พ่ายแพ้ต่อทีมคู่อริ เปอร์เซบายา เอฟซี (Persebaya FC) 3-2 ทำให้แฟนฟุตบอลของทีมเจ้าบ้านต่างไม่พอใจและขว้างปาขวดและสิ่งของต่าง ๆ ใส่นักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่ในสนาม หลายคนวิ่งลงไปในสนามฟุตบอลจนเกิดจลาจลครั้งใหญ่  …