รับมืออย่างไร? เมื่อ “อีเมลอันตราย” 1 ใน 4 จากทั่วโลกมุ่งเจาะ “เอเชียแปซิฟิก”

Loading

  อีเมลไม่ใช่เซฟโซน! จะรับมืออย่างไร เมื่อ 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” ในปี 2022 แถม “อีเมล” ยังคงเป็นช่องทางหลักในการโจมตีด้านความปลอดภัย เพราะโอกาสสำเร็จสูง และต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่นๆ แม้ปัจจุบันจะมี “สมาร์ทโฟน” และแอปพลิเคชันที่ทำให้ติดต่อกันได้แบบสุดแสนจะง่ายดาย แต่ “อีเมล” ก็ยังถือเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะในเชิงธุรกิจ การทำงาน เพราะถูกมองว่าเป็นทางการกว่าและเหมาะกับการส่งข้อมูลในปริมาณมาก ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่มี “สแปมอีเมล” ฉบับแรกช่วงปี 1978 ก็มีเหล่าสแกมเมอร์พยายามใช้อีเมลเป็นช่องทางในการโจมตีด้านความปลอดภัยเสมอมา เนื่องจากอีเมลสามารถกระจายได้ง่ายกว่า ประหยัดกว่า แถมมีโอกาสทำสำเร็จสูงเสียด้วย ข้อมูลอัปเดตล่าสุดพบว่า 1 ใน 4 “อีเมลอันตราย” จากทั่วโลกมุ่งสู่ “เอเชียแปซิฟิก” หรือ “APAC” โดย Noushin Shabab หนึ่งในนักวิจัยของ “Kaspersky” อัปเดตข้อมูลในงาน Kaspersky’s 8th APAC Cyber Security Weekend เกี่ยวกับอีเมลอันตรายเหล่านี้ว่า…

ไทยรั้งท้าย ‘ดัชนีดิจิทัล’ เอเชียแปซิฟิก วิกฤติ ‘บุคลากร’ อุปสรรคใหญ่

Loading

  ดัชนีความคล่องตัวทางดิจิทัลภูมิภาคเอเชีย-แปซิก ประจำปี 2565 โดย “ไอดีซี” และ “Workday” ผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านการเงินและทรัพยากรบุคคลสำหรับองค์กร ระบุว่า องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทย 91% ยังคงล้าหลังในเรื่องของความคล่องตัวทางดิจิทัล (Digital Agility)   “ไอดีซี” และ “Workday” เผยว่า ดัชนีความคล่องตัวทางดิจิทัลขององค์กรไทยจัดอยู่ในระดับที่ “ดำเนินการล่าช้า” หรือ “กำลังวางแผน” ซึ่งนับว่าสวนทางกับโอกาสในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล หรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และการปรับใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด   นอกจากนี้ พบด้วยว่าในแง่ของการสรรหาและดึงดูดบุคลากร ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญถือเป็นหนึ่งในปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรไทย และเป็นอุปสรรคต่อการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น     ไทยรั้งท้าย ตกไปอยู่ที่อันดับ 9   จากผลการศึกษา พบว่า 9 ประเทศที่ได้รับการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีระดับความก้าวหน้าด้านความคล่องตัวทางดิจิทัลที่แตกต่างกัน   สำหรับองค์กรไทย มีเพียง 9% เท่านั้นที่มีความคล่องตัวทางดิจิทัลในระดับสูง ส่งผลให้ไทยครองอันดับ 9 โดยลดลงหนึ่งอันดับเมื่อเทียบกับการจัดอันดับเมื่อปี 2563   โดยไทยถูกแซงหน้าโดยอินโดนีเซีย ซึ่งครองอันดับ 8…

จุดร้อนในเอเชียแปซิฟิก

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ************ ในช่วงปี 2555 เราได้เห็นนายพลทหารอเมริกัน นักการเมืองอเมริกัน แวะมาเยี่ยมเยียนผู้นำไทยบ่อยครั้ง ซึ่งค่อนข้างผิดปกติ จริงอยู่ การเยือนเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติในช่วงปีก่อนที่ผ่านมา พบว่า ทั้งรัฐมนตรี นายพลทหารอเมริกัน แวะมาเยือนเมืองไทยบ่อย หากจะมองว่าธรรมดาก็ธรรมดา แต่ถ้ามองลึกไปกว่านั้นย่อมไม่ธรรมดา นี่ไม่นับรวมที่ผู้นำสหรัฐเชิญผู้นำมาอาเซียน ยกเว้นพม่าและกัมพูชา ไปเยือนและประชุมที่วอชิงตัน โดยอ้างว่าเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ที่สหรัฐและอาเซียนมีข้อตกลงร่วมกัน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยมี การเชิญครั้งนี้เป็นไปลักษณะร้องขอกึ่งบังคับขอให้ไปให้ได้ การที่ไม่เชิญพม่านั้นพอเข้าใจได้เพราะเป็นรัฐบาลทหารจากการยึดอำนาจ แต่สหรัฐที่ไม่เชิญผู้นำกัมพูชาทั้งที่กัมพูชาเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ไม่อาจเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากผู้นำกัมพูชาใกล้ชิดจีนและยอมให้จีนมาพัฒนาท่าเรือขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ในกิจการทหารเมื่อจำเป็นได้ สถานทูตสหรัฐใน กทม.เผยแพร่ภาพและข่าวเรื่อง พล.ร.อ.จอห์น ซี.อากีลีโน ผู้บัญชาการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด – แปซิฟิกของสหรัฐ มาเยี่ยมและหารือประจำปี กับ ผบ.ทหารสูงสุดของไทยเมื่อต้นวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน นี่เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นและไทยเป็นเจ้าภาพ โดยพยายามเน้นให้ประชาชนเห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวเน้นเรื่องการทำงานร่วมกันด้านมนุษยธรรม บรรเทาสาธารณภัย การแพทย์ การฝึกร่วม ความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ยั่งยืน สนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เพื่อให้ไทยเป็นผู้นำในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ฯลฯ…