‘คนไทย’ เชื่อมั่น ‘เอไอ’ มากไปหรือไม่?

Loading

  วันก่อนผมไปเห็นโพสต์ของอาจารย์สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่สอนทางด้าน “เอไอ” บนโซเชียลมีเดียท่านหนึ่งเขียนว่า “ตอนนี้เป็นห่วงคนใช้เอไอ   วันก่อนผมไปเห็นโพสต์ของอาจารย์สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่สอนทางด้าน “เอไอ” บนโซเชียลมีเดียท่านหนึ่งเขียนว่า “ตอนนี้เป็นห่วงคนใช้เอไอที่ 1. เชื่อว่าทุกอย่างที่เอไอบอกเป็นเรื่องจริง ไม่ตรวจสอบ เชื่อหมดใจ และ 2. นำข้อมูลส่วนบุคคลป้อนให้เอไอ” อ่านแล้วนึกถึงกระแสเอไอที่กำลังมาแรงในบ้านเรา คนไทยใช้เอไอมากขึ้นแทบทุกเรื่อง จึงอดสงสัยไม่ได้ว่าคนไทยมั่นใจเอไอมากเกินไปหรือไม่?   ผมค้นไปพบ “ผลสำรวจ AI Monitor 2024” ของบริษัท Ipsos ซึ่งสำรวจทัศนคติของผู้คนใน 32 ประเทศทั่วโลกเกี่ยวกับเทคโนโลยีเอไอรวมทั้งประเทศไทย การสำรวจนี้ดำเนินการโดย Ipsos ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ Global Advisor ระหว่างวันที่ 19 เม.ย. – 3 พ.ค.2024 มีผู้เข้าร่วมการสำรวจทั้งสิ้น 23,685 คน จาก 32 ประเทศทั่วโลก   กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชากรประมาณ 1,000 คนในแต่ละประเทศหลักๆ เช่น…

ปักกิ่งประณามเหตุระเบิดสถานกงสุลจีนในมัณฑะเลย์

Loading

รัฐบาลกรุงปักกิ่งประณามการโจมตีสถานกงสุลจีนในเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมา พร้อมกระตุ้นให้รัฐบาลทหารเมียนมาพยายามจับกุมผู้ก่อเหตุ จากการแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนในวันจันทร์

อินโดนีเซียและไทยขยายความร่วมมือด้านกลาโหม โดยมุ่งเน้นไปที่ด้านอวกาศ ไซเบอร์ และการฝึกซ้อมร่วมกัน

Loading

กองทัพอากาศอินโดนีเซียและไทยกำลังเพิ่มความร่วมมือด้านกลาโหมในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โดยมุ่งเน้นไปที่การป้องกันทางอวกาศและไซเบอร์ การฝึกซ้อมร่วม และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ในระหว่างการเยือนประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ พล.อ.ท. โทนี ฮาร์โจโน เสนาธิการกองทัพอากาศอินโดนีเซีย ได้ประชุมกับ พล.อ.อ. พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย เพื่อหารือเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือระหว่างกองทัพอากาศของไทยและอินโดนีเซีย

แก๊งหลอกลวงออนไลน์ ภัยคุกคามระดับภูมิภาค

Loading

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังกลายเป็นภูมิภาค ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหลอกลวงขนาดใหญ่ อาชญากรรมดังกล่าวถือเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงระดับร้ายแรง ทั้งสำหรับประเทศที่แก๊งอาชญากรรมเข้าไปตั้งฐานที่มั่น และประเทศซึ่งกลุ่มคนร้ายเลือกเป็นเป้าหมาย

การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงจากการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์ และผลกระทบต่อสถาบันการเงิน

Loading

  การบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ต้องเน้นการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ให้บริการบุคคลที่สามอย่างเคร่งครัด ควรประเมินการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบไบโอเมตริกซ์ตามมาตรฐาน ISO 27001, NIST และการรับรอง SOC 2 Type 2 การใช้เครื่องมือตรวจสอบช่วยในการติดตามกิจกรรมของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่องและตั้งค่าการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวดจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูล   จากการคาดการณ์ของ Deloitte Center for Financial Services ภายในปี 2570 การฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์จะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทคโนโลยีอย่าง Deepfake ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์ที่มีความสมจริงและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยจากเว็บมืดหรือสร้างขึ้นใหม่ การพัฒนาของ Generative AI ยังเพิ่มความเสี่ยงจาก Deepfake ให้รุนแรงขึ้น รายงานของ World Economic Forum (WEF) ในปี 2566 ระบุว่าเหตุการณ์ Deepfake ที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคเพิ่มขึ้น 700% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2569 เนื้อหาออนไลน์มากถึง 90% อาจถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีสังเคราะห์   ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย การจัดการกับการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์กลายเป็นประเด็นเร่งด่วน…

สังคมโลก : ความสมดุล

Loading

    นายหวัง กุงวู นักประวัติศาสตร์ชื่อดังชาวสิงคโปร์ สังเกตเห็นว่า จีนเป็นมหาอำนาจทางบกมาโดยตลอด ซึ่งสงครามฝิ่นในปี 2382 เน้นย้ำถึงจุดอ่อนด้านการรุกรานทางทะเลของจีน ส่งผลให้รัฐบาลปักกิ่ง ให้ความสำคัญกับการสร้างกองทัพเรือที่แข็งแกร่ง จนปัจจุบัน จีนกลายเป็นประเทศที่มีกองเรือรบผิวน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก   ตรงกันข้าม สิงคโปร์เป็นประเทศทางทะเลมาอย่างยาวนาน โดยพัฒนาจากท่าเรือการค้าในภูมิภาค เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1400 เป็นฐานทัพเรือสำคัญของสหราชอาณาจักร ซึ่งทรัพยากรที่มีจำกัด และจำนวนประชากรน้อย การอยู่รอดของสิงคโปร์จึงขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของกองทัพเรือ และตอนนี้ สิงคโปร์มีกองทัพเรือที่ก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   จีนและสิงคโปร์ ต่างตระหนักถึงความสำคัญของอำนาจกองทัพเรือ ที่มีต่อความมั่นคงในภูมิภาค ซึ่งเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา กองทัพเรือสิงคโปร์ (อาร์เอสเอ็น) และกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (พีแอลเอเอ็น) จัดการฝึกความร่วมมือทางทะเลครั้งที่สาม และครั้งใหญ่ที่สุด โดยกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศ ระบุว่า การฝึกซ้อมครั้งนี้มีเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านการป้องกันประเทศระดับทวิภาคี และแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด   การฝึกซ้อมดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น จากข้อพิพาทเรื่องทะเลจีนใต้ และความกังวลของสิงคโปร์ เกี่ยวกับเสรีภาพในการเดินเรือ ส่งผลให้เกิดคำถามว่า ทำไมสิงคโปร์ยังคงเข้าร่วมการฝึกซ้อมทางทะเลกับจีน และอะไรคือแรงจูงใจที่ทำให้จีนเข้าร่วมการฝึกซ้อมเหล่านี้   สำหรับสิงคโปร์ การเข้าร่วมการฝึกซ้อม…