รู้หรือยัง? ไทยมีใช้แล้ว คู่มือ AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร

Loading

  ปัจจุบันการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ  AI เป็นเทรนด์ที่กำลังมา มีการนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายวงการ แต่อย่างที่รู้เทคโนโลยีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย!   และเป็นที่ถกเถียงกันในหลายประเทศว่าควรจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมหรือไม่?  ซึ่งมีเพียงสหภาพยุโรป ที่ได้ออกกฎหมาย AI เป็นฉบับแรกของโลก   ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ AI หรือไม่?  ยังเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องหารือถึงผลดีผลเสียในการออกกฎหมายมากำกับดูแล แต่ในระหว่างนี้ที่มีการนำ AI มาใช้งานอย่างแพร่หลาย ทาง  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จับมือสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า โดย ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Center หรือ AIGC)  เดินหน้าพัฒนากรอบธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นการต่อยอด  AI Governance Guideline ของไทย สู่การออกประกาศ  Guideline ใหม่ !   คือ “แนวทางประยุกต์ใช้ Generative AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร” (Generative AI Governance Guideline for Organizations) สำหรับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการวางกรอบการกำกับดูแล การประยุกต์ใช้ Generative AI ระดับองค์กร     “ประเสริฐ จันทรรวงทอง”  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) บอกว่า  ปัจจุบัน Generative AI ได้กลายเป็นอีกเครื่องมือสำคัญ สำหรับองค์กรในยุคดิจิทัล ที่หลายๆ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มทักษะการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถึงแม้การใช้งาน Generative AI จะเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายอุตสาหกรรม…

‘เอ็ตด้า’ขู่ ‘แพลตฟอร์มดิจิทัล’ ต่างชาติต้องจดทะเบียน

Loading

    ‘เอ็ตด้า’ เสียงแข็งยันแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ต้องจดแจ้งในไทย ฝ่าฝืน ผิดกฎหมายมีบทลงโทษหนัก ดึงโมเดลกฎหมายญี่ปุ่น-ยุโรป มาปรับใช้ต่างใช้กฎหมายนี้แล้ว   นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า กล่าวว่า (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นผู้ให้บริการผิดกฎหมาย ไม่มีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ   โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการต่างประเทศเมื่อต้องการมาลงทุนในประเทศไทยก็ต้องดำเนินธุรกิจตามกฎหมายไทย และหากไม่จดแจ้งคนไทยก็ไม่ควรใช้บริการของแพลตฟอร์มต่างชาติ หรือ แพลตฟอร์มใดๆก็ตามที่ทำผิดกฎหมาย   “หากไม่ทำจะมีตั้งคณะกรรมการร่วม โดยมีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธาน และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน นอกจากนี้ยังมีกรรมการที่มาจากทั้งตัวแทนภาครัฐและเอกชนกว่า 20 คน ในการร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและส่งหนังสือไปยังสถานทูตในประเทศที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติตั้งสำนักงานใหญ่อยู่เพื่อเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฏหมายไทยด้วย”   เขา กล่าวว่า เอ็ตด้ามีหน้าที่ตั้งแต่ การจดแจ้ง,การขึ้นทะเบียน และการอนุญาต แต่กฎหมายฉบับนี้เอ็ตด้าให้ดำเนินการตามอำนาจเพียงการจดแจ้งเท่านั้นซึ่งนับว่าไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติที่ต้องมีการแจ้งรายได้ประจำปีต่อสำนักงานตามกม.นั้น จำเป็นต้องปฏิบัติเพราะจัดอยู่ในมาตรา 32 เรื่องความเสี่ยง โดยความมั่นคงทางการเงินและพาณิชย์เป็น หนึ่งในความเสี่ยงที่ต้องแจ้งด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการคนไทย…

Digital ID ไทยพร้อมแค่ไหน? เมื่อชีวิตในโลกยุคใหม่ต้องง่ายขึ้น

Loading

  รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของ Digital Identity หรือ Digital ID นับว่าได้รับความสนใจจากสังคมพอสมควร ถึงทิศทางที่ไทยจะก้าวไปสู่การยืนยันตัวตนด้วยระบบดิจิทัลต่างๆ การประกาศยกเลิกรับสำเนาบัตรประชาชน เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นที่ Digital ID จะก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของ Digital ID นับว่าได้รับความสนใจจากสังคมพอสมควร ถึงทิศทางที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การยืนยันตัวตัวด้วยระบบดิจิทัลต่างๆ การประกาศยกเลิกจอสำเนาบัตรประชาชน ก็เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นที่ Digital ID จะก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อน Digital ID ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ‘ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส กล่าวว่า ปัจจุบัน โลกกำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างผันตัวเองเข้าสู่ระบบและบริการดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด หลาย ๆ หน่วยงานแชร์ทรัพยากร ข้อมูล รวมถึงเอกสารผ่านทางคลาวด์กันอย่างแพร่หลาย สอดคล้องกับผลสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติของประชาชนโดย ETDA ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการช่องทาง…